การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (2)
การประยุกต์นำมาใช้ทางคลินิก 1. ตับเป็นเสมือนคลังเลือด หรือธนาคารกลาง ขณะที่เราเคลื่อนไหว เลือดจากตับจะถูกส่งไปหล่อเลี้ยง ดวงตา แขน ขา เอ็น ข้อต่อต่างๆ ที่อยู่ส่วนปลายของร่างกาย ถ้ามีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะอารมณ์โกธร โมโหฉุนเฉียว เลือดจะถูกผลักไปสู่ส่วนบน ทำให้หน้าแดง หัวใจเต้นแรง หายใจเร็ว หลอดเลือดหดตัว หลอดลมตีบ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองแตกได้ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ตับทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนแองจิโอเท็นซินโนเจน(Angiotensinogen) ทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนจากไตควบคุมเกี่ยวกับความดันโลหิต ทางการแพททย์แผนจีน ภาวะหยางของตับแกร่งทำให้ภาวะความดันโลหิตสูง 2. การนอนหลับ การปิดตา การปล่อยวาง นั่งสมาธิ จะลดการกระตุ้นจากการมองเห็น เกี่ยวข้องกับลดการนำเลือดออกจากตับไปยังแขนขา ศีรษะ สมอง แต่จะนำเลือดกลับมาสู่ที่ตับแทน ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ตับเปิดทวารที่ตา(肝开窍于目) “เวลาร่างกายเคลื่อนไหว เลือดอยู่ที่เส้นลมปราณภายนอก เวลาคนจิตใจสงบ ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหว เลือดจะกลับเข้าตับ” ขณะที่เรานอนหลับ เลือดจะถูกลำเลียงกลับมาที่ช่องท้อง ผ่านตับ เพื่อเก็บสะสมและหล่อเลี้ยงอวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในได้รับอาหารหล่อเลี้ยง ขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านตับก็จะได้รับการทำลายพิษต่างๆ 3. ตับทำหน้าที่ทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากอาหารที่รับประทานเข้าไป …