Day: July 23, 2021

ขอบตาดำคล้ำ (อาจ)ไม่ใช่เรื่องเล็ก..แต่เป็นเรื่องโรค

คนทั่วไปมักจะมองเห็นว่าขอบตาดำคล้ำเป็นเรื่องความสวยความงาม ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะของโรค หรือภาวะสมดุลของร่างกาย แต่ในทัศนะการแพทย์แผนจีน มองภาวะขอบตาดำอย่างเป็นปัญหาองค์รวม ไม่แยกส่วน กล่าวคือ ไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องของเม็ดสีหรือภาวการณ์ไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยบริเวณเบ้าตาไม่คล่องตัว มีการอุดกั้นเท่านั้น แต่มันอาจจะเป็นสิ่งที่สะท้อนภาวะของร่างกายทั้งระบบที่มีปัญหาบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ขอบตาดำคล้ำเกิดจากอะไรนอกจากสาเหตุที่เกิดจากการกระทบกระแทก ทำให้เกิดการฉีกขาดหรือทำลายหลอดเลือดฝอย มีการไหลของเลือดออกนอกหลอดเลือด ทำให้มีการคั่งค้างของเลือดบริเวณรอบขอบตา ซึ่งมักเกิดทันทีทันใดภายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้วการเกิดอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปของสีดำคล้ำบริเวณขอบตาก็เช่นเดียวกัน เป็นการสะท้อนถึงการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยของตา มีการคั่งค้าง อุดกั้น ไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อเวลาผ่านไปการไหลเวียนยิ่งน้อยลง อาการดำคล้ำก็จะสังเกตได้มากขึ้น การตรวจพบจะสังเกตได้ง่ายหรือยากขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น1. คนสูงอายุจะสังเกตได้ง่ายกว่าคนอายุน้อยหรือวันรุ่น เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังมีการสะสมตัวน้อย หนังตาจะหย่อน ขณะเดียวกัน การทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือดจะลดลง ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติจากการอุดกั้นหรือภาวะไหลเวียนของเลือดบริเวณเบ้าตาได้ง่ายขึ้น 2. คนที่มีเม็ดสีบริเวณเบ้าตา ใบหน้า มากกว่าปกติ ทำให้สังเกตเห็นความคล้ำของสีมากผิดปกติ 3. คนที่ร่างกาย ใบหน้า ซูบผอม มีไขมันใต้ผิวหนังน้อย จะสังเกตได้ง่ายกว่าคนอ้วน4. คนที่ผิวกายสีขาว ทำให้เห็นความดำคล้ำได้ชัดกว่า คนที่สีผิวเหลือง น้ำตาล หรือดำ ขอบตาดำคล้ำกับความสมดุลของร่างกายภาวะขอบตาดำ อาจเป็นภาวะของสรีรภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองของร่างกายขณะที่ยังไม่เป็นโรค หรือเป็นพยาธิสภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีราภาพนานๆเข้าและไม่ได้รับการเยียวยา แพทย์แผนจีนพูดถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะภายในกับดวงตาไว้ว่า“ตับมีทวารเปิดที่ตา” และ …

ขอบตาดำคล้ำ (อาจ)ไม่ใช่เรื่องเล็ก..แต่เป็นเรื่องโรค Read More »

อาหารและสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด ตามศาสตร์แพทย์จีน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) เสนอแนะให้ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่เป็นหลักในระยะ 6 เดือนแรก ด้วยเหตุผลที่สำคัญทั้งต่อสุขภาพ การพัฒนาการร่างกาย ระบบประสาท ทางจิตใจของเด็ก และความผูกพันทางสายเลือดของอารมณ์ความรู้สึกระหว่างแม่กับลูก หลังคลอด นมที่สร้างช่วงแรกจะเป็นน้ำนมเหลือง (Colostrums) ซึ่งจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นน้ำนมขาวในที่สุด สารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในนมแม่ ได้แก่ ไขมัน (ไขมันจำเป็น เช่น ไลโนเลอิกและไลโนเลนิก) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้างสารไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็ก ทำให้การส่งกระแสประสาทในสมองเด็กทำได้ดีและรวดเร็วขึ้น มีพัฒนาการในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆ ตัว  นอกจากนั้นอิมมูโนโกลบูลินในนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ในเด็ก รวมทั้งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและไม่สบายของเด็ก ขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่ จะทำให้ระดับฮอร์โมน ออกซีโทซิน (Oxytocin) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้แม่มีจิตใจอ่อนโยน ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความอ่อนโยน อันจะส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ดีและเพิ่มสัญชาตญาณความเป็นแม่ทำให้มีความผูกพันทางสายเลือด ขณะที่ลูกดูดนมแม่ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน ทั้งการมองเห็น โดยการสบตากับแม่ขณะดูดนม การรับกลิ่น เนื่องจากการอยู่ใกล้ชิดกับการฝึกประสาทหูเนื่องจากลูกจะได้ยินเสียงแม่ที่พูดคุยกับตนเอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีข้อดีอีกอย่างก็คือลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมของแม่ เหตุผลหนึ่งเพราะด้วยระดับฮอร์โมน ออกซีโทซิน (Oxytocin) เพิ่มมากขึ้นจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำให้ไม่มีการกระตุ้นการเติบโตของไข่ เต้านมจะได้พักการถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจากออร์โมนเอสโตรเจน แต่ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ จะมีปริมาณและคุณภาพของน้ำนมที่ดีพอได้อย่างไร การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำนมให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอจึงเป็นหัวใจที่ต้องได้รับการพิจารณาเร่งด่วน ภาวะน้ำนมน้อย (缺乳)ในมุมมองแพทย์แผนจีน น้ำนมมีที่มาจากเลือด …

อาหารและสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »