Day: July 29, 2021

อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรทานมากเกินไป

บรรดาอาหารสารพัดชนิดที่มีให้หาซื้อกันได้อย่างเสรีนั้น มีคุณประโยชน์แตกต่างกัน อีกทั้งปริมาณที่กินเข้าไปด้วย นั่นคือ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน แต่ควรกินอยู่ด้วยความพอดี ยึดทางสายกลางเป็นหลัก เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีน ว่าด้วยเรื่องอาหารการกิน 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกิน มีดังนี้ 1. ไข่เยี่ยวม้า ไข่เยี่ยวม้ามีส่วนประกอบของตะกั่วการกินไข่เยี่ยวม้าปริมาณมากๆ และบ่อยๆ อาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว นอกจากนั้นยังทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดน้อยลง เกิดภาวะขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกผุได้ 2. ปาท่องโก๋  กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้มเป็นส่วน ประกอบ และในสารส้มมีส่วนประกอบของตะกั่วการกินปาท่องโก๋ทุกวันจะทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อสมองและเซลล์ประสาท ทำให้เสื่อมเร็ว เป็นโรคความจำเสื่อมนอกจากนี้ย้งทำให้คอแห้ง เจ็บคอโดยเฉพาะคนที่ร้อนในง่าย 3. เนื้อย่าง  ประเภทต่างๆเนื้อที่ถูกรม ย่างไฟ จะเกิดสารเบนโซไพริน  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง 4. ผักดอง การกินผักดอง หรือของหมักเกลือนานๆ จะเกิดการสะสมของเกลือโซเดียม ทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดโรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจได้ง่ายนอกจากของหมักดองยังมีสารก่อมะเร็ง แอมโมเนียมไนไตรต์ 5. ตับหมู  ตับหมู 1 กิโลกรัม มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 400 มิลลิกรัม การกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงมากๆ นานๆ …

อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรทานมากเกินไป Read More »

เหงื่อบอกโรค

เรื่องโดย : ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล “คุณหมอครับ ทำไมผมเหงื่อออกมากจังเลย บางครั้งอยู่ในห้องปรับอากาศเหงื่อก็ยังออกเลย ผมเป็นโรคอะไรครับ”“คุณหมอคะ ทำไมลูกดิฉันนอนหลับกลางคืน เหงื่อออกเต็มตัวเลย”“คุณหมอคะ ทำไมดิฉันเหงื่อออกง่ายจัง ทำอะไรนิดหน่อยเหงื่อก็จะออก ดิฉันรู้สึกเหนื่อยง่ายจังเลย” แพทย์แผนจีนถือเอาเหงื่อเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในการถามเกี่ยวกับภาวะสมดุลของร่างกาย ความผิดปกติของเหงื่อเป็นภาพสะท้อนองค์รวมของร่างกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยและสืบค้นเพื่อวางแผนการรักษา (ซึ่งได้แก่ การมอง การฟัง การดม การถาม การสัมผัสจับชีพจร) จำเป็นต้องเข้าใจภาวะเหงื่อของผู้ป่วย เหงื่อในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อมีอากาศรอบตัวมีอุณหภูมิสูงมากขึ้นระดับ 32 องศาเซลเซียสขึ้นไป การระบายความร้อนของร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายให้คงที่โดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแพร่รังสีจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้การระบายความร้อนออกทางเหงื่อ ให้เหงื่อนำความร้อนออกจากร่างกายสู่ภายนอก ต่อมเหงื่อมีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคน ส่วนมากอยู่ในชั้นหนังแท้ ลึกจากผิวหนังไม่มากนัก อาจมีบางตำแหน่งที่อยู่ลึกหน่อยและตอมขนาดใหญ่ ทำให้เหงื่อออกมากกว่าตำแหน่งอื่นและเป็นที่หมักหมมของเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย เช่น ต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ ต่อมเหงื่อควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้น เวลาอารมณ์แปรปรวน ซึ่งจะกระทบประสาทอัตโนมัติ จะทำให้มีเหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือสภาพอากาศที่และมีไอน้ำมาก เหงื่อจะระบายออกยาก ทำให้รู้สึกอึดอัด ลมช่วยทำให้เหงื่อระบายออกได้ดี ต่อมเหงื่อทั้งร่างกายในผู้ใหญ่มีประมาณ 2.5 ล้านต่อม ถ้าอากาศร้อนมากๆ สามารถทำให้เสียเหงื่อได้มากถึง 4 ลิตรต่อชั่วโมง …

เหงื่อบอกโรค Read More »