Day: July 3, 2021

การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฝนในสถานการณ์โควิด-19 (ในทัศนะแพทย์แผนจีน)

ช่วงหน้าฝน สำหรับคนกรุงเทพฯ นอกจากทำให้คิดถึงรถติด การสัญจรลำบากต้องพกร่มติดตัว พื้นดินเฉอะแฉะ เสื้อผ้าไม่แห้ง อาหารขึ้นราง่าย ต้องสระผมกันบ่อยเพราะโดนละอองฝน ฯลฯ นับเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง  เมื่อเทียบกับหน้าร้อนที่แสนจะร้อน หงุดหงิด กระหายแต่น้ำเย็น ปีนี้ยังมีความกังวลพิเศษว่าโรคโควิด-19 จะกลับมาระบาดมากขึ้นอีกครั้งหรือเปล่า สำหรับหน้าฝนปีนึ้ยังอยู่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19  แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวันมีจำนวนลดลงเป็นตัวเลขหลักเดียวมาหลายวันแล้ว จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลมีตัวเลขที่สูงขึ้น กล่าวได้ว่ามีแนวโน้มที่จะควบคุมการระบาดได้อย่างดีเยี่ยม แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังคงไม่มีภูมิค้มกันต่อโรคโควิด-๑๙ ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและรอการการค้นพบวัคซีนที่มีความปลอดภัยมาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น  จึงกล่าวได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบธรรมชาติที่มาแต่กำเนิด (Innate immunity)ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกด่านแรกในการต่อสู้กับไวรัสและยังมีความเกี่ยวโยงกับการสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย(Acquired immunity) ปรับสมดุลร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายในทัศนะแพทย์แผนจีน หมายถึงการปรับสภาพร่างกายให้เข้าสู่สมดุล เนื่องจากพื้นฐานร่างกายองแต่ละคนต่างกัน หลักการและวิธีการก็มีความแตกต่างกันไปด้วย การปรับสมดุล คือการปรับพื้นฐานเลือด พลัง ความร้อน-เญ็น(ยินหยาง)ของร่างกาย รวมถึงการขจัดสิ่งตกค้างจากการไหลเวียนของเลือดและของเหลวติดขัด จนเกิดภาวะพลังติดขัด เลือดคั่งค้าง มีความชื้น เสมหะ ของเหลวในส่วนต่างๆของร่างกาย การปรับสมดุลของร่างกายเพื่อให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันสามารถดูผลลัพธ์ของการทำงานของเม็ดเลือดขาว เช่น เม็ดเลือดขาวประเภท Macrophage ที่ทำหน้าที่ทำลายด้วยโอบล้อมย่อยสลายสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดรวมถึงไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ ฯลฯ การทำงานของทีเซลล์ลิมโฟไซต์  บีเซลล์ลิมโฟไซต์  …

การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฝนในสถานการณ์โควิด-19 (ในทัศนะแพทย์แผนจีน) Read More »

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病)

หากจะกล่าวถึงเหตุแห่งโรคกรดไหลย้อนในมุมมองของแพทย์แผนจีน สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. การรับประทานอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีมื้ออาหาร อยากกินเมื่อไรก็กินตอนนั้น เช้าไม่กิน ดึกกินมาก (饮食不当) ทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ทำงานไม่ปกติ 2. ปล่อยให้หิวเกินไปหรือกินอิ่มเกินไป (饥饱失常) เพิ่มภาระและสร้างความสับสนกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย 3. อารมณ์เครียด – กังวล จะทำร้ายกระเพาะอาหารและม้าม (忧愁思虑伤及脾胃) การครุ่นคิดมากเกินไป ทำให้พลังรวมศูนย์ไม่กระจาย การระบายพลังของตับเกิดการติดขัด ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม 4. การชอบรับประทานอาหารไม่สุก ฤทธิ์เย็น จะทำให้หยางของม้ามพร่อง เนื่องจากม้ามชอบความแห้งไม่ชอบความชื้น (喜燥恶湿) ชอบความอุ่น ไม่ชอบความเย็น (恶凉喜温) 5. การที่ช่องว่างส่วนกลางร่างกาย (จงเจียว中焦) ได้รับความเย็นจากอาหารหรืออากาศ จนเกิดภาวะเย็นพร่อง (虚寒) ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม เกิดการตกค้างเกิดเป็นความชื้นและเสมหะ และย้อนกลับขึ้นด้านบนไปทางหลอดอาหาร 6. คนที่ไตหยางอ่อนแอ 肾阳虚亏 (ไตหยางเป็นการทำหน้าที่ของไตในการให้พลังอุ่นร้อนเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย) จะทำให้การทำงานทุกอวัยวะลดน้อย รวมถึงการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม การวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค ในการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค …

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) Read More »