โภชนาการและอาหาร

อาหารสุขภาพสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต

ไตในความหมายแพทย์จีน มีความหมายที่กว้างไม่ได้หมายถึงอวัยวะไต โรคเกี่ยวกับไตจึงไม่ได้หมายถึงไตอักเสบหรือไตวายเรื้อรัง  แต่ครอบคลุมถึงต่อมหมวกไต ระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะยินหยาง (ร้อนเย็นของระบบต่างๆของร่างกาย) ระบบประสาทอัตโนมัติ ฯลฯ อาหารสุขภาพที่จะแนะนำในบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ในทัศนะแผนปัจจุบัน คือ ภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ การทำงานของไตลดลงเหลือตั้งแต่ 25%-50%  ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากโรคประจำตัว  เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  กรวยไตอักเสบเรื้อรังและไขมันในเลือดสูง เป็นระยะเวลานานๆ  แม้ว่าผู้ป่วยบางรายจะอยู่ระหว่างการรักษาโดยการ ” ล้างไต ”  โดยเครื่องไตเทียม หรือ ใช้การล้างไตโดยผ่านทางช่องท้อง   การดูแลสุขภาพโดยการปรับเรื่องของอาหารปริมาณโปรตีน  แร่ธาตุ เช่น  โซเดียม  โพแทสเซียม  แมกนีเซียม , ฟอสฟอรัส  เพื่อลดผลที่ข้างเคียงจากการฟอกเลือดรวมถึงลดอาการต่างๆ จากภาวะเสียสมดุลของสารอาหารในร่างกาย เสริมบำรุงโปรตีนให้พอ   แต่ต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไป  เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต ป้องกันภาวะฟอสเฟตสูง  กรณีที่ไขมันในเลือดสูงให้หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา งดเว้นการรับประทานอาหารประเภทไขมัน หรือ อาหารรสหวานจัด  ควบคุมอาหารรสเค็ม ผงชูรส ซอส  น้ำปลา เกลือ กินอาหารรสธรรมชาติ  ไม่ปรุงแต่ง …

อาหารสุขภาพสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต Read More »

แพทย์แผนจีนแนะ อาหารสมุนไพรสำหรับโรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า มักมีการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ เช่น มีความภูมิใจในตัวเองลดลง  ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน   มักครุ่นคิดหรือรู้สึกถึงความไม่มีคุณค่า  ความเสียใจ หรือรู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล หมดหวัง สมาธิแย่ลง นอนไม่หลับ  ความจำสั้น  แยกตัวออกจากสังคม  ความต้องการทางเพศลดลง  บางรายมีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของภาวะทางอารมณ์ที่มากระทบอย่างรุนแรงหรือยาวนาน จะมีผลต่อกลไกการเคลื่อนไหวของพลัง ทำให้เป็นผลร้าย กระทบต่ออวัยวะภายในที่แน่นอน  เช่น อารมณ์โกรธทำลายตับ, อารมณ์วิตกกังวลทำลายม้าม,   อารมณ์ดีใจทำลายหัวใจ อารมณ์เศร้าโศกเสียใจทำลายปอด อารมณ์กลัวทำลายไต ภาวะทางอารมณ์  โดยเฉพาะอารมณ์เก็บกดหงุดหงิด   จากการคิดกังวลมากเกินปกติ  จะเกิดการติดขัดของการไหลเวียนพลังของอวัยวะตับ   นานเข้าเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นความร้อน   และนำไปสู่ภาวะทางจิตเป็นลักษณะของความซึมเศร้าที่มีแนวโน้มไปทางเก็บกด ไม่แสดงออก  หดหู่ซึ่งเป็นด้านยิน  หรือแนวโน้มไปทางคลุ้มคลั่ง  โวยวายซึ่งจัดเป็นด้านหยาง  ภาวะทางอารมณ์มีผลต่ออวัยวะภายในหลายอวัยวะ  มีอาการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ   แพทย์แผนจีน  เรียก ภาวะซึมเศร้าว่า อื่อวี่เจิ้ง (抑郁症 ) เป็นผลจากอารมณ์ที่ไม่ได้รับการระบาย  ตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการเก็บเลือดและระบายพลังและเลือด    ในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้พลังและเลือดเพิ่มเติม    เพื่อการปรับเปลี่ยนอารมณ์ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า   พลังตับที่ไม่ถูกระบายหรือกลไกพลังติดขัด เรียกว่า พลังตับอุดกั้น  การแก้ไขคือต้องให้มีการระบายพลังตับ  ขณะเดียวเดียวกันยังต้องเสริมบำรุงพลังของม้าม (ช่วยการย่อยและดูดซึม) รวมทั้งการบำรุงหัวใจ  ทำให้จิตใจสงบ กลุ่มอาหารที่มีฤทธิ์ช่วยการย่อยเสริมม้ามช่วยนอนหลับ  คือ  …

แพทย์แผนจีนแนะ อาหารสมุนไพรสำหรับโรคซึมเศร้า Read More »

อาหารสมุนไพรจีน บำรุงเส้นผมให้ดกดำ

ด้วยความรู้แผนปัจจุบัน เส้นผมที่มีสีดำ เกิดจากการที่เซลล์ที่ชื่อว่า เมลาโนไซต์(Melanocyte) ที่คอยผลิตเม็ดสีที่โคนรากผมสร้างเม็ดสีผม หรือ เมลานิน (melanin) ได้อย่างเพียงพอ  ผมหงอกเกิดจากเม็ดสีเมลานิน  ลดลงเมื่อสูงวัยขึ้น  จึงทำให้ผมเป็นสีขาว หยาบ และแลดูไม่เป็นประกาย  ผมหงอกที่มักพบในคนสูงอายุเมื่อเกิดแล้วจะอยู่ถาวร  ถ้าผมหงอกทั้งหัว ก็แสดงว่า Melanocyte Stem Cells ที่คอยผลิต เมลาโนไซต์(Melanocyte) ได้ตายหมดแล้ว ส่วนผมหงอกที่กลับดำได้นั้นเป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย ถ้ารักษาโรคหายผมจึงกลับดำได้  เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อารมณ์เครียดมาก หรือ หวาดกลัวเฉียบพลัน  รวมถึงจากการขาดสารอาหาร เช่น การขาดวิตามิน บี12   ธาตุทองแดง การขาดไบโอตินซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดสีเมลานิน (ไบโอตินจะช่วยในคนที่ผมเป็นสีเทาๆดำไม่สม่ำเสมอทั้งเส้น) ผมหงอกก่อนวัยมักไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ  กินอาหารและยาบางชนิด มีความเครียดก็มีผลต่อการมีผมหงอก  โดยเฉพาะกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งพบได้บ่อยในครอบครัวที่มีประวัติผมหงอกก่อนวัย การป้องกันผมงอกหรือทำให้ผมดกดำ จึงเน้นที่การดูแลสุขภาพ การพักผ่อน ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร วิตามินเสริม การผ่อนคลายจิตใจ ลดความเครียด  การควบคุมโรคประจำตัว ในทัศนะแพทย์แผนจีน “ผมคือส่วนเกินของเลือด …

อาหารสมุนไพรจีน บำรุงเส้นผมให้ดกดำ Read More »

อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอ เป็นอาการเจ็บในคอ พบได้จากการอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังในผู้ป่วยคออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทอนซิลเป็นหนอง แผลอักเสบบริเวณคอ มักมีอาการบวมร่วมด้วย มุมมองแพทย์แผนจีนพบว่า ส่วนใหญ่ของอาการเจ็บคอมาจากปัจจัยก่อโรคภายนอก คือ ลมและความร้อน (อากาศที่เปลี่ยนแปลง) จากภายนอกมากระทบร่างกาย หรือในมุมมองแพทย์ปัจจุบันร่างกายถูกโจมตีจากเชื้อโรค  เช่น  แบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากเหตุภายใน คือ ไฟของกระเพาะอาหารและไฟของปอดทะลวงพุ่งสู่ด้านบน (เข้าบริเวณคอหอย) หรือจากภาวะยินพร่องเกิดไฟกำเริบ (ร่างกายขาดสารน้ำส่วนลึก ทำให้เกิดความร้อนภายใน) หลักการทั่วไปในการดูแลและป้องการรักษาอาการคอแห้ง รับประทานอาหารที่มีรสจืด เช่น แห้ว , ถั่วเขียว ,หัวไชเท้า รับประทานผักผลไม้ที่มีส่วนประกอบของน้ำในปริมาณมาก   ได้แก่  แตงโม , บวบ ,หน่อไม้ , สาลี่ , แตงกวา รับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีลักษณะขับลมขับความร้อน ให้ความชุ่มชื่นกับคอหอย   ได้แก่ แห้ว , มะเฟือง รับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติขับระบายไฟของปอดและกระเพาะอาหาร  ได้แก่  มะระ , ดอกสายน้ำผึ้ง , ถั่วเขียว ,หล่อฮั่งก้วย รับประทานอาหารที่มีสรรพคุณเสริมยิน …

อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับอาการเจ็บคอ Read More »

อาการตาฝ้าฟาง กับอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร

หัวใจในทัศนะแพทย์แผนจีนเปรียบเสมือนพระราชา มีอำนาจควบคุมปกครองทั่วประเทศ (ทุกส่วนของอวัยวะทั้งร่างกาย) ดวงตาเป็นที่รวมของพลังและสารจิงทั่วร่างกาย ความมีชีวิตชีวาภาวะทางจิตวิญญาณจึงสังเกตได้จากดวงตา  “ดวงตาจึงเป็นหน้าต่างของดวงใจ” คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ได้กล่าวถึงเรื่องของดวงตาไว้ว่าดวงตาสามารถสะท้อนถึงภาวะสารจำเป็นและพลังของร่างกายรวมถึงอวัยวะภายใน กล่าวคือรูม่านตาสะท้อนถึงความสมบูรณ์ของไต ม่านตาส่วนสีดำทำหน้าที่เปิดปิดรูม่านตาสะท้อนถึงภาวะความสมบูรณ์ของไต หลอดเลือดฝอยของดวงตาสะท้อนความสมบูรณ์ของหัวใจกล้ามเนื้อรอบตาที่ช่วยการเปิดปิดดวงตาสะท้อนความสมบูรณ์ของม้าม อวัยวะตับเปิดทวารที่ตา คนตาแห้ง ตาฟาง มีหลายสาเหตุมีทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ตาแดงจากกระกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ(การติดเชื้อไวรัส)และตาฝ้าฟางที่ค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากภาวะความเสื่อมพร่อง คนสูงอายุที่อยู่ในวัยเสื่อมมักเกี่ยวข้องกับภาวะพร่องของตับและไต ทำให้เลือดพลังและสารจิงไม่สามารถไปบำรุงที่ตาได้ การรักษาสายตาจึงมุ่งเน้นไปที่การบำรุงตับและไต ตำรับอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร ตำรับที่1 : รักษาตาฝ้าฟางจากโรคตาแดง ส่วนประกอบ ดอกเก๊กฮวย,ใบหม่อนอย่างละ 15 กรัม ถั่วเหลือง 60กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม วิธีการปรุง เอาถั่วเหลืองแช่ทิ้งไว้ 30นาที แล้วล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาต้มรวมกับใบหม่อนเเละดอกเก๊กฮวย(เติมน้ำ 3 ถ้วย) ต้มเหลือ 1 ถ้วย เอากากออกแล้วเติมน้ำตาลกรวด ละลายทั่วถึงจากนั้น แบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้งต่อวัน (ถั่วเหลืองไม่จำเป็นต้องต้มให้นุ่ม) สรรพคุณ ดอกเก็กฮวยและใบหม่อนมีสรรพคุณขับพิษขับร้อนพิษจากภายนอกบริเวณตา น้ำตาลทรายกรวด เสริมน้ำทำให้ชุ่มชื้น เพิ่มพลัง ถั่วเหลืองมีสรรพคุณบำรุงและช่วยการขับพิษ …

อาการตาฝ้าฟาง กับอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร Read More »

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน

คนเราในวัยหนุ่มสาว พลังชีวิตหรือพลังหยางของร่างกายกำลังเต็มเปี่ยมเหมือนกับดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าจนถึงเที่ยง พอวัยกลางคนพลังหยางของร่างกายค่อยๆ ถดถอย จนถึงวัยชราก็เหมือนกับหลัง 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ดูทุกอย่างกำลังกับเข้าสู่ความสงบ ความหยุดนิ่ง นั่นคือ กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ การแสวงหาสมดุลแห่งชีวิต และการมีสุขภาพที่แข็งแรงอายุยืนยาวเพื่อให้ความฝันเข้าใกล้อายุไขที่ยาวนานมากที่สุดโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้ทนทุกข์ทรมาน  เป็นความประสงค์สูงสุดหนึ่งของมนุษย์ คนจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อถึงวัยนี้ยังมีความพยายามเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ย่อท้อต่อชีวิตเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและน่าให้กำลังใจ แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและสัจธรรมแห่งชีวิตควบคู่ไปด้วย จะทำให้เรามีความสุขในการต่อสู้กับปัญหาได้ดีขึ้น การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ด้วยหลัก “7 ลดน้อย (การลดน้อย 7 ประการ)” จะทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวได้ 1. กินน้อย (少吃) ไม่ควรกินอิ่มมากเกินไป จะทำให้ระบบย่อย (ในผู้สูงอายุ) ซึ่งไม่ดีอยู่แล้วทำงานหนักยิ่งขึ้น ทำให้อาหารตกค้าง ไม่ย่อย ไม่สบายตัว ท้องอืด นอนไม่หลับ รวมทั้งทำให้มีโอกาสเกิดโรคอ้วน, เบาหวาน, โรคของถุงน้ำดี ฯลฯ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว 2. โกรธน้อย (少怒) การโกรธและการเก็บกดอารมณ์โกรธที่รุนแรง จะทำพลังย้อนขึ้นบนหรือติดขัด หลอดเลือดหดตัว เป็นอันตรายต่อการขาดเลือดของสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ …

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล

เคยกล่าวมาตลอดว่า การดูแลสุขภาพต้องให้การดูแลแบบองค์รวม ไม่เน้นดูแลอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง จนลืมดูแลส่วนอื่นๆในร่างกายไป วันนี้เราจะมาเรียนรู้การดูแลอวัยวะตับ ไต หัวใจ ม้าม และปอด โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ไปดูกันว่าอาหารและการดูแลอวัยวะแต่ละส่วนนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อาหารและการดูแลอวัยวะตับ การนอนหลับกลางคืนต้องหลับสนิท โดยเฉพาะช่วง 1.00-3.00 น. กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ เคี้ยวเก่ากี้หรือชงน้ำเก่ากี้ ดื่มเป็นประจำ ช่วยบำรุงตับและขับสารพิษ กดจุดไท่ชง(太冲穴) บ่อยๆ ครั้งละ 3-5 นาที การร้องไห้ ระบายพิษของตับ(ตับเปิดทวารที่ตา) เป็นการไห้ช่วยระบายความเครียดทางอารมณ์ อาหารและการดูแลอวัยวะหัวใจ ดีบัว-ขับพิษร้อนหัวใจ ใช้ดีบัว  10 กรัม  ใบไผ่ 1 กำมือ ใส่ชะเอมเทศ 5-6 แผ่น ต้มดื่ม ช่วงเวลา 11.00-13.00 น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณหัวใจสูงสุด  …

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล Read More »

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน

“ไขมันพอกตับ” โรคที่เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน ยา สารพิษ การขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของตับ ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับมากเกินไป ปัจจุบันแม้ว่าระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เกิดปัญหาด้านอาหารและมาตรการการป้องกัน ทำให้อัตราการเกิดไขมันในตับยังคงเพิ่มขึ้น และพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง ซึ่งปัจจุบันไขมันสะสมในตับเป็นโรคที่พบบ่อยจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน อัตราการเกิด ไขมันพอกตับ ในประเทศจีนสูงถึง 8.4 – 12.9 % ซึ่งพบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มักพบมากในผู้สูงอายุ ที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 40 – 50 ปี ไขมันพอกตับ จัดว่าเป็นโรคไม่ร้ายแรงเฉกเช่นมะเร็ง มักค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา มีอัตราถึง 25% และ 1.5 – 8% ของผู้ป่วยอาจพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ซึ่งในที่สุดการทำงานของตับจะล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยที่จะให้ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ภาวะ ไขมันพอกตับ มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้เด่นชัด ส่วนมากมีอาการอ่อนเพลีย มักตรวจพบตอนตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลว่ามีไขมันในเลือดสูงและจากผลอัลตราซาวน์มีไขมันพอกตับ สำหรับคนที่อ้วนขึ้นเรื่อยๆ หรือคนที่อดอาหารเพื่อลดความอ้วนแต่ไม่ได้ผลยิ่งมีความจำเป็นต้องตรวจภาวะ …

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน Read More »

เรื่องของ “เนื้อหมู”

หมู เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีมาช้านาน เช่นเดียวกับแพะ มีบันทึกจากตัวอักษรจีนในกระดองเต่าและกระดูก (甲骨文) เมื่อ 4,000 กว่าปีมาแล้ว คำว่าบ้าน (家) ซึ่งมีส่วนประกอบของตัวบ้าน (房) และเลี้ยงหมูอยู่ข้างล่าง (豕) แสดงว่าทุกบ้านล้วนมีการเลี้ยงหมู หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่ชอบเคลื่อนไหว ทั้งวันเอาแต่นอน มีแต่ตอนกินอาหารเท่านั้นที่จะมีการเคลื่อนไหว จะมีคอก มีบริเวณให้อยู่ ทำให้จำกัดการเคลื่อนไหว อาหารที่กินมักจะเป็นของเหลว อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นแฉะ ตามคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง กล่าวว่า “ยินสงบ หยางเคลื่อนไหว” (阴静阳躁) สัตว์ที่เคลื่อนไหวมากจะเป็นหยาง สัตว์ที่เคลื่อนไหวน้อยจะเป็นยิน ดังนั้น นก วัว แพะ ม้า สุนัข จึงจัดเป็นสัตว์ประเภทหยาง หมูจึงจัดเป็นสัตว์ประเภทยิน เนื้อหมู (猪肉) มีลักษณะฤทธิ์เย็น รสเค็มเข้าเส้นลมปราณไต การกินเนื้อหมูจึงมักไม่เกิดไฟในร่างกายง่ายแต่จะเสริมยิน ทำให้อ้วน มีการสะสมไขมัน (ความชื้นเสมหะ) ในร่างกายมาก เช่นเดียวกับลักษณะของหมู                ส่วนต่างๆ ของหมูมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายต่างกัน                1. ไตหมู ใช้รักษาภาวะไตพร่อง …

เรื่องของ “เนื้อหมู” Read More »

เห็ดหูหนู สุดยอดของเห็ด

เห็ดหูหนูเป็นเห็ดที่หาง่าย ราคาไม่แพง มีการบริโภคอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะอาหารจีนเท่านั้น ปัจจุบันเป็นอาหารทั่วไป เช่น ผัดเนื้อไก่ใส่ขิงใส่เห็ดหูหนู ยำเห็ดหูหนู แกงจืดเห็ดหูหนู เป็นต้น เรียกว่า เป็นอาหารที่คุ้นเคยสำหรับคนไทย  เห็ดหูหนูมีอยู่ 2 ชนิด  1. เห็ดหูหนูขาว   2. เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูขาว ได้ถูกยกย่องเป็น สุดยอดของเห็ด สมัยก่อนเป็นเห็ดที่พบได้น้อยตามธรรมชาติ ราคาแพง เป็นอาหารบำรุงสำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวย แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ทำให้ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยมักมีอาการไข้หลังเที่ยงวัน ไอแห้งๆ มีเสมหะปนเลือด มีการใช้เห็ดหูหนูขาวบำรุงรักษา เสริมกับยา ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า เห็ดหูหนูขาว มีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน น้ำตาล ไฟเบอร์ กรดอะมิโน วิตามิน และสารจำเป็นต่างๆ รวมทั้งน้ำมันยางอย่างอุดมสมบูรณ์ สรรพคุณที่สำคัญ คือ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของหัวใจดีขึ้น (ลดอาการหลอดเลือดหัวใจขาด ตีบ) มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อน ภายหลังการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง สรรพคุณทางยาจีน เสริมบำรุงสารน้ำของปอด บำรุงไต …

เห็ดหูหนู สุดยอดของเห็ด Read More »

อาหารสมุนไพร ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของ หลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการบำบัดดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย และในกรณีที่หลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัว  อวัยวะทุกส่วนของร่างกายขาดเลือดหล่อเลี้ยง   เกิดอาการไม่สบายทั้งตัว  ปลายมือปลายเท้าชา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนเพลีย ดังนั้นการดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง ยืดหยุ่น จึงเป็นการดูแลสมอง หัวใจ และสุขภาพโดยรวมด้วย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับอาหาร ป้องกันรักษาโรคสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) บางคนเรียกว่า โสมภูเขา  ( 山人参 ) มีสรรพคุณสำคัญ คือ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด …

อาหารสมุนไพร ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว Read More »

ทำไมคน ความดันโลหิตสูง ชอบกินเค็ม?

หลายคนมีคำถามว่า ทำไมคนที่มีความดันโลหิตสูงจึงชอบอาหารที่มีรสจัดหรือรสเค็ม? ประเด็นนี้ แพทย์แผนจีนมองว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงมักจะชอบรสเค็ม ไม่ใช่เพราะกินรสเค็มเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แต่คนที่เป็นความดันโลหิตสูงมีพื้นฐานความพร่องของพลังตับและไต คนปกติสุขภาพดีสามารถกระตุ้นพลังไตโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารรสเค็มหรือปรุงรสแต่พอควรได้ แต่คนที่อวัยวะภายในเสื่อมลง(ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคเรื้อรัง คนสูงอายุ) จะเบื่ออาหาร การรับรสชาติลดน้อยลง จึงต้องการอาหารรสจัด รสเข้มข้นมากระตุ้นร่างกาย รสเค็มเข้าเส้นลมปราณไต คนที่พลังหยวนชี่อ่อนแอจึงมีความต้องการรสเค็มไปกระตุ้นการทำงานของไตมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการสร้างนิสัยรับประทานอาหารเค็มเป็นประจำมากเกินไป ก็มีผลต่อความอ่อนแอของไตในระยะยาว  สำหรับการดูแลป้องกันและดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทำได้ดังนี้ ควบคุมอารมณ์ ควบคุมกลไกพลังของร่างกาย ทำให้อวัยวะภายในทำงานปกติ ฝึกสงบจิตอารมณ์ การหยุดจิต สงบอารมณ์ ปิดตา เป็นการควบคุมพลังหัวใจ(รวมถึงการพักสมอง) ดึงเลือดกลับสู่ด้านล่าง คลายหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ฝึกหายใจลึกเข้าถึงช่องท้อง เคลื่อนไหวกระบังลม ช่วยกระตุ้นอวัยวะภายใน โดยเฉพาะ ม้ามและไต มั่นขมิบก้น เป็นการเสริมพลังไต และดึงพลังลงล่าง ดูแลอาหารการกิน หลีกของมันจัด หวานจัด เค็มจัด พยายามไม่กินอาหารรสจัดเกินไป พักผ่อนเพียงพอ  ไม่นอนดึก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ห้ามหักโหมจนเกินไป ความดันค่าล่าง กับความดันค่าบน ความดันโลหิตค่าบนสูง เป็นความดันที่มักพบในผู้สูงอายุ สัมพันธ์กับความเสื่อมและการแข็งตัวของหลอดเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น หลอดเลือดฝอยส่วนปลายขยายตัวได้น้อย  …

ทำไมคน ความดันโลหิตสูง ชอบกินเค็ม? Read More »

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19  ผู้คนใฝ่หาสารพัดวิธีในการบำรุงปอดเพื่อป้องกันและรักษาโควิด-19 กันมาก ในบรรดายาสมุนไพรจีนที่กล่าวถึงกันมากตัวหนึ่ง  นอกจากยาขับพิษร้อนสลายชื้นเป็นยาหลักเพื่อการขับระบายเสียชื่ (邪气) แล้ว ยังมีสมุนไพรหงจิ่งเทียน (红景天) ที่มาช่วยบำรุงเจิ้งชี่ (正气) ของปอดอีกด้วย หงจิ่งเทียน (红景天) สมุนไพรของคนที่จะเดินทางไปทิเบต คนที่คิดจะไปเที่ยวทิเบต “ดินแดนแห่งกงล้อและมนตรา” หรือ หลังคาโลก (世界屋脊) ต้องมีการตระเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศและความสูง เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็น และมีความกดอากาศต่ำมีปริมาณออกซิเจนในอากาศต่ำมาก อาการป่วยบนที่สูงหรืออาการแพ้ที่สูง(high altitude sickness) เกิดจากการที่ร่างกายไม่คุ้นเคย และปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูงมีออกซิเจนในบรรยากาศต่ำ ซึ่งกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายในการช่วยเพิ่มออกซิเจนคือ การหายใจให้เร็วขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนมากขึ้น บางคนเลือกการกินยา Diamox (มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด  ขับปัสสาวะ สามารถลดความดันตา ใช้รักษาโรคต้อหิน) เพื่อรักษาอาการดังกล่าว แต่เนื่องจากยาเหล่านี้เป็นกลุ่มยา ซัลฟา(บางคนจะแพ้ยา)และมีผลข้างเคียงมากรวมทั้งอาการแพ้ยาเช่น  ผื่นขึ้น ลมพิษ แน่นหน้าอก ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าชา ริมฝีปากชา หงจิ่งเทียน(红景天) เป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่าในเขตทิเบต หงจิ่งเทียนยังถูกขนานนามว่าเป็นสิ่งมีค่าของการแพทย์ทิเบต (藏医之宝) เป็นสมุนไพรที่ชาวพื้นเมืองนำมาใช้แก้อาการ ที่เกิดจากการป่วยบนที่สูง เนื่องจากปริมาณออกซิเจนต่ำ รวมถึงใช้ในการเสริมเพิ่มพลังและป้องกันโรคต่างๆ  มีการร่ำลือกันว่ากษัตริย์คางซี(康熙帝ค.ศ. 1654-1722)และกษัตริย์เฉียนหลง …

หงจิ่งเทียน สุดยอดสมุนไพรทิเบต ปรับใช้ในสถานการณ์โควิด-19 Read More »

“สมุนไพรจีน” กับการลดไขมันในเลือด

เป็นที่ทราบกันว่า “สมุนไพรจีน” มีมากมายหลากหลายชนิด วันนี้จะขอกล่าวถึงสมุนไพรจีน 3 ชนิด ที่มีสรรพคุณเกี่ยวกับการลดไขมันในเลือด ข้าวยีสต์แดง (Red yeast rice ) เป็นข้าวที่ผ่านการหมักโดยใช้เชื้อรา Monascus purpureus เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการหมักข้าวเพื่อใช้สีในการปรุงแต่งอาหาร โดยมีการบันทึกในตำรับยาสมุนไพรจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.800) เป็นสมุนไพรฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย รสหวาน ไม่มีพิษ (味甘,性微温, 无毒) วิ่งเส้นลมปราณ  ม้าม ลำไส้ใหญ่ ตับ (归脾、大肠、肝经) ซึ่งวิธีการหมักข้าวยีตส์แดงต้องมีสารไซตรินิน (Citrinin) ที่ก่อพิษต่อตับในปริมาณต่ำ สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดอุดกั้น เสริมม้ามช่วยย่อยอาหาร แก้บิดถ่ายเป็นเลือด หลังคลอดน้ำคาวปลาไม่หยุด รักษาอาการบาดเจ็บจากการถูกทุบตี (活血化瘀;健脾消食;赤白下痢;产后恶露不尽;跌打损伤) ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยยินพร่อง หญิงตั้งครรภ์ หญิงระยะให้นมบุตร คนที่ไม่มีภาวะเลือดอุดกั้น การวิจัยสมัยใหม่ : ข้าวยีสต์แดง มีสาร Monacolin K ซึ่งเป็นสารลดคอเลสเตอรอลจากธรรมชาติ สามารถลดได้ทั้ง …

“สมุนไพรจีน” กับการลดไขมันในเลือด Read More »

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับนาฬิกาชีวิต เชื่อว่าภายในร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมโดยตารางเวลาที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน ทำให้การเคลื่อนไหวระบบการทำงาน สรีระของร่างกายก็มีจังหวะกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น ความดันเลือด อุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ช่วงสูงสุดต่ำสุดของการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เรียกว่า “กฏเกณฑ์แห่งชีวิต” การดูแลสุขภาพกับนาฬิกาชีวิตเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ถ้าปราศจากลักษณะมีกฎเกณฑ์ ก็ปราศจากการมีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าดำเนินชีวิตโดยไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามนาฬิกาชีวิต ก็เป็นการทำลายสุขภาพ (ชีวิต) การเคารพวิถีแห่งการดำเนินไปของธรรมชาติ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพ ซึ่งตรงกับแนวคิดของเล่าจื๊อ”เป็นธรรมชาติแห่งวิถีเต๋า” นั่นเอง มีการศึกษาวิจัยพบว่านาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 อย่างหรือฎเกณฑ์ตารางการทำงานของระบบต่างๆ สามารถกำหนดได้เป็นช่วงเวลา สั้นบ้าง ยาวบ้าง เป็นหลายแบบ เช่น– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เป็นรอบวัน เรียกว่า นาฬิกาประจำวัน– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบเดือน เรียกว่า นาฬิกาประจำเดือนนอกจากนี้ยังพบว่ามี นาฬิกาประจำปีและนาฬิกาของอายุขัยซึ่งเป็นนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุด ที่กำหนดวัฏจักรแห่งการเกิด-เติบโต-สูงสุด-แก่-ตาย ซึ่งในทางธรรมชาติแล้ว ถ้ามนุษย์ ปฏิบัติตัวตามกฎเกณฑ์แห่งนาฬิกาชีวิต จะสามารถมีอายุขัยถึง 120 ปี เคล็ดลับการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวตามกฎเกณฑ์ ของนาฬิกาชีวิต คืออะไร ข้อกำหนดระดับสากลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพล่าสุดกล่าวไว้ 2เงื่อนไข 1. การวางแผนการดำเนินชีวิตต้องมีความรู้ มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดการเคลื่อนไหวในกิจกรรมของชีวิต โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ 2. …

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ Read More »