ยาจีน

ภาวะหยางพร่อง

“เวลาอยู่ในห้องปรับอากาศ ดิฉันต้องใส่เสื้อหนาๆ ทีคนอื่นไม่เห็นจะเป็นอย่างดิฉันเลย เวลาเพื่อนๆ มาจับมือจะบอกว่ามือเย็นจังเลย”“ผมรู้สึกว่าอ้วนขึ้นมาก ทั้งๆ ที่กินแต่ละมื้อก็ไม่มาก กินชาเขียวลดน้ำหนัก ก็ไม่เห็นจะลดลง แต่ดูกลับจะหนักขึ้นอีก กางเกงก็ต้องไปขยายเอวอีกแล้ว”“หนูเป็นอะไรก็ไม่รู้ รู้สึกขี้เกียจ เบื่อๆ อยากแต่จะนอน”อาการต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของภาวะความเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งมีหลายสาเหตุ มีความสลับซับซ้อน ยากง่ายต่างๆ กัน แต่ภาวะหนึ่งที่พบบ่อยและมักมีอาการดังกล่าวข้างต้น คือ “ภาวะหยางพร่อง” 1. ถ้ายิน-หยางของร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร ยิน  เป็นภาวะ สงบ เย็น หยุดนิ่ง ยับยั้งหยาง  เป็นภาวะ กระตุ้น ร้อน เคลื่อนไหว เร่งเร้าถ้าภาวะยินพร่อง ร่างกายขาดสารน้ำหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เกิดความร้อนภายในขึ้น เพราะยินไม่สามารถควบคุมหยางถ้าภาวะหยางพร่อง ร่างกายขาดพลังความร้อน การทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ก็ถดถอย เกิดความเฉื่อยเนือย เกิดความเย็นภายในร่างกาย การไหลเวียนเลือดและพลังก็เนิบช้าลงยิน เป็นลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติ   พาราซิมพาเทติก และฮอร์โมนที่ให้ความชุ่มชื้นเกิดการเก็บสะสม ยับยั้งภาวะกระตุ้นหยาง เป็นลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติกและฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเร่งเร้าการทำงาน 2. ภาวะ “หยางพร่อง” มีอาการสำคัญและการตรวจพบอย่างไรภาวะหยางพร่อง มีอาการหลักๆ …

ภาวะหยางพร่อง Read More »

รักษาอัมพฤกษ์-อัมพาต

เวลาเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยบางรายจะถูกส่งเข้าโรงพยาบาล มีการตรวจเช็คร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หาความผิดปกติ หาสาเหตุ หาตำแหน่งของการเกิดโรค ถ้าเป็น ไม่มาก บ้างก็จะหาหมอนวด หมอยาจีน หมอบ้าน ทำการจับเส้น นวด หรือกินยาหม้อ ฝังเข็ม โดยไม่ยอมไปหาหมอที่โรงพยาบาล บางรายภายหลังฟื้นจากหมดสติ มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ร่างกายครึ่งซีกอ่อนแรง หรือแข็งเกร็ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด นอกจากจะไปทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังไปหาหมอฝังเข็ม หมอนวด หมอยาจีน หมอบ้านร่วมรักษาไปด้วยกัน ตำราแพทย์จีนโบราณกล่าวถึงโรคที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกิดเร็ว มีอาการหลายรูปแบบ ชักกระตุก หมดสติ มีสาเหตุจากลม การที่ผู้ป่วยหลังตื่นนอนพบว่ามีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท หน้าเบี้ยว หรือยกแขนขาซีกหนึ่งไม่ขึ้น หรือบางรายขณะประชุมเครียดหมดสติไปทันที เป็นอาการที่เกิดอย่างเฉียบพลัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จึงเรียกว่า กระทบลม (ซึ่งอาจเกิดจากลมภายในหรือลมภายนอกก็ได้) แพทย์จีนเรียกว่า จ้งเฟิง อาการกระทบลม หรือจ้งเฟิง  หมายถึงอะไร?ทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีความหมายถึงภาวะโรคหลอดเลือดทางสมองที่มีการแตก ตีบหรือตันของหลอดเลือด หรือจากสาเหตุของเนื้องอก การอักเสบของหลอดเลือดแดงในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการหมดสติ …

รักษาอัมพฤกษ์-อัมพาต Read More »

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก

อาการปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงหลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นสาวๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อาการปวดประจำเดือนในวัยรุ่นสาวๆ หรือแม้กระทั่งวัยเลยคำว่า “สาว” มานานแล้ว แต่ยังมีอาการปวดประจำเดือนอยู่นั้น คือสัญญาณเตือนภัยที่น่ากลัว บางคนเมื่ออายุยังน้อยๆ และมีอาการปวดประจำเดือน เมื่อไปตรวจส่วนใหญ่ก็คงจะไม่พบความผิดปกติอะไร แต่หากอายุมากขึ้นและยังปวดประจำเดือนอยู่ คราวนี้ไปตรวจอาจพบว่ามีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น วิธีคิดแบบนี้หมายความว่า เนื้องอกป้องกันลำบาก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องเกิด ถ้าเป็นมากก็ตัดออก หรือในบางรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่ บางทีก็มีพังผืดยึดเกาะ บ้าง ยึดติดกับลำไส้ ก็ตัดได้ลำบาก แต่บางคนที่อายุสูงขึ้นกว่านั้น มองว่าไม่ใช้มดลูกแล้วก็อาจจะพิจารณาตัดมดลูกยกออกออกทั้งยวงเลย ประเด็นสำคัญก็คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้น หากพิจารณากันให้ดีๆ มองให้ต่อเนื่องจะเห็นว่า จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรกๆ ก็ยังไม่เป็นก้อนเนื้องอก เพียงแต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งมักจะมาตรวจพบในภายหลัง ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นมานี้ ก็คือผลที่ต่อเนื่องมาจากอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงออกให้เห็นในช่วงแรกๆ เช่น อาการปวดประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งในทางแพทย์จีนเชื่อว่า สาเหตุใหญ่ๆ ของการเกิดเนื้องอกที่มีสัญญาณเตือนจากภาวะปวดประจำเดือนนั้น มักจะเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกายที่มีพื้นฐานหลักๆ อยู่ 3 แบบคือ 1.กลุ่มที่มีเลือดและพลังพร่อง หรือเลือดและพลังไม่พอ คนกลุ่มนี้ในเวลาปกติมักจะเป็นคนที่มีประจำเดือนน้อยอยู่แล้ว หน้าตามักจะซีดเซียว ใบหน้าดูไม่ค่อยมีสีเลือด ลิ้นมักจะมีสีออกซีดๆ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเป็นคนที่มีเลือดและพลังไม่พอ มักเป็นคนที่เหนื่อยง่าย …

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก Read More »

ทำไมแพทย์จีนวินิจฉัยว่า เลือดคั่งค้างอุดกั้น

ภาวะเลือดคั่งค้างอุดกั้น เป็นภาวะที่เลือดหยุดนิ่ง ไหลเวียนช้าลง ไม่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เป็นก้อน มีเลือดออก ลิ้นเขียวม่วง อาการสำคัญที่ตรวจพบ และอาการร่วมอื่นๆ อาการเด่นที่สำคัญ คือ เจ็บเหมือนเข็มแทง มีก้อนแข็ง มีเลือดออกเป็นสีม่วงคล้ำ ริมฝีปาก ลิ้น เล็บเขียวม่วง อาการรวมอื่นๆ ได้แก่ ปวดเหมือนมีดแทง ตำแหน่งแน่นอน กดเจ็บ ปวดมากตอนกลางคืน มีก้อนแข็ง กดแล้วไม่เคลื่อนที่ เลือดออกหยุดๆ หายๆ (กะปริด-กะปรอย)  สีม่วงคล้ำ หรือร่วมกับเป็นก้อนเลือด อุจจาระสีดำมีลักษณะคล้ายน้ำมันสน ใบหน้าดำ ผิวหนังเป็นสะเก็ด เล็บ ริมฝีปากเขียวม่วง ในสตรีประจำเดือนอาจขาดหายไปหรือประจำเดือนผิดปกติ ลักษณะของลิ้น ลิ้นสีม่วงคล้ำ มีรอยจ้ำเลือด หรือหลอดเลือดดำใต้ลิ้นขดงอ และขยายตัว ชีพจรเล็กฝืดหรือไม่เป็นจังหวะ สาเหตุของเลือดตกค้างอุดกั้น กลไกพลังติดขัด พลังติดขัดทำให้เลือดไม่ไหลเวียน เลือดเย็นทำให้เลือดเกาะตัว การไหลเวียนช้าลง เลือดร้อนทำให้เลือดข้นเหนียว เกิดความหนืดเลือดไหลไม่คล่อง พลังพร่องไม่มีกำลัง เลือดไม่มีแรงผลักดัน อุบัติเหตุกระทบกระแทก หกล้ม ให้ช้ำในเลือดตกค้าง …

ทำไมแพทย์จีนวินิจฉัยว่า เลือดคั่งค้างอุดกั้น Read More »

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง

คุณแม่พาลูกสาวมาพบแพทย์จีนด้วยปัญหาลูกสาวเป็นรังแคและคันศีรษะบ่อยๆ ใช้ยาสระผมมาหลายยี่ห้อก็ไม่ค่อยดีขึ้น หลังจากตรวจร่างกายและจับชีพจร รวมทั้งถามประวัติอาการละเอียดแล้ว พบว่าเด็กมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลานอนกลางคืนบริเวณศีรษะ จึงให้การรักษาด้วยยาบำรุงไตยิน แนะนำการทำความสะอาดเส้นผม การกินอาหาร หลังจากนั้นไม่นานเหงื่อบริเวณศีรษะก็ออกน้อยลง ลูกสาวของเธอก็ไม่เป็นรังแคอีกเลย ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับเหงื่อและการเกิดโรค เช่น“ทำไมเวลาออกกำลังกายเหงื่อไม่ออกเลย”“ทำไมเหงื่อของผมออกง่ายจังเลย ทำอะไรเล็กน้อยก็เหงื่อออกท่วมตัว”“ทำไมเวลานอนกลางคืน ทั้งๆที่นอนห้องแอร์เหงื่อก็ยังออกมาก แต่กลางวันไม่ยักจะออก”“เวลาเริ่มมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจะมีไข้สูง จะต้องออกไปขุดดินทำให้เหงื่อออก อาการไข้จะหายไปเองโดยไม่ต้องกินยา”พูดถึงเรื่อง “เหงื่อ” เป็นหัวข้อหนึ่งที่แพทย์จีนต้องถามถึง วิธีการตรวจแบบแผนจีน “มอง, ดม-สูด , ถาม , สัมผัส” การถามเรื่องของเหงื่อจะบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ ข้อมูลเรื่องเหงื่อจึงมีความสำคัญที่นำไปสู่การรักษาโรคที่เป็นปัญหาหลัก และจะพบว่าโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันก็อาจหายไปพร้อมกับเรื่องของเหงื่อออกผิดปกติได้ ความผิดปกติของอาการเหงื่อออกแบ่งเป็น1. ปริมาณของเหงื่อที่ออกผิดปกติ– ออกน้อยไป , ไม่ค่อยมีเหงื่อออก-ออกมากไป2. ช่วงเวลาที่เหงื่อออก-ออกตอนกลางคืน-เหงื่อออกเองโดยเฉพาะกลางวัน3. ตำแหน่งที่เหงื่อออก-ส่วนศีรษะ-ส่วนล่าง , ส่วนบน , ด้านซ้าย , ด้านขวา-ส่วนฝ่ามือ , ฝ่าเท้า สาเหตุใหญ่ๆของอาการเหงื่อออกผิดปกติ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท 1. สาเหตุจากภายนอกมากระทำ : โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อน , เย็น …

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง Read More »

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ต่อมลูกหมากโต เนื่องจากตัวต่อมมีขนาดอ้วนโตขึ้น โดยไม่ใช่เนื้อร้าย มีบันทึก ไว้ในตำราแพทย์จีนโบราณ โดยเรียกอาการนี้ว่า “ปัสสาวะ ติดขัดไม่คล่อง ปัสสาวะเป็นหยดๆ และขาดช่วงเป็นระยะ” พยาธิสภาพของโรคไม่แจ่มชัดทั้งหมด แต่สามารถอธิบายในแง่ของการทำงานของอวัยวะภายในทั้ง 5 ได้ดังนี้ แพทย์แผนจีนถือว่า การที่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้คล่องต้อง อาศัยพลังจากซานเจียว (ช่องไฟธาตุทั้ง 3 ที่อยู่บริเวณกลางลำตัว ส่วนบน คือช่องอก เป็นส่วนเหนือกะบังลม ส่วนกลางคือ ช่องท้องส่วนที่เหนือสะดือ และส่วนล่างคือ ส่วนช่องท้องที่อยู่ใต้สะดือ) มาขับเคลื่อน                                                                            พลังซานเจียวต้องอาศัยพลังจากอวัยวะภายใน 3 ส่วน ที่สำคัญคือ ปอด, ม้าม, ไต มาสนับสนุน กล่าวคือ -ปอด มีหน้าที่กระจายน้ำ ส่วนบนลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ-ม้าม มีหน้าที่ดูดซึม และ ส่งสารอาหารของเหลวที่ดีไปปอด ขับส่วนที่เสียสู่ส่วนล่างไปลำไส้เล็ก, ไต และกระเพาะปัสสาวะ -ไต เป็นตัวกำหนดน้ำ ไตช่วยให้ม้ามลำเลียงของเหลวในร่างกายได้ดีไม่ติดขัด ช่วยในการสร้างปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะก็ต้องอาศัยพลังของไต นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการอุดกั้นของตับทำให้พลังของซานเจียวในการที่ผลักดันการขับถ่ายของน้ำจากม้าม-ปอด-ไตขัดข้องการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยที่มีอาการของต่อมลูกหมากโต จึงสามารถแยกโรคตามสาเหตุที่ต่างกันดังนี้1. พลังไตหยางพร่อง ปัสสาวะไม่คล่อง ติดขัด ไม่มีแรงเบ่ง สีหน้าขาวซีด ใบหน้าไม่มีชีวิตชีวา เอว, หัวเข่า รู้สึกเย็น และปวดเมื่อย …

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน

คนเราในวัยหนุ่มสาว พลังชีวิตหรือพลังหยางของร่างกายกำลังเต็มเปี่ยมเหมือนกับดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าจนถึงเที่ยง พอวัยกลางคนพลังหยางของร่างกายค่อยๆ ถดถอย จนถึงวัยชราก็เหมือนกับหลัง 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ดูทุกอย่างกำลังกับเข้าสู่ความสงบ ความหยุดนิ่ง นั่นคือ กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ การแสวงหาสมดุลแห่งชีวิต และการมีสุขภาพที่แข็งแรงอายุยืนยาวเพื่อให้ความฝันเข้าใกล้อายุไขที่ยาวนานมากที่สุดโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้ทนทุกข์ทรมาน  เป็นความประสงค์สูงสุดหนึ่งของมนุษย์ คนจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อถึงวัยนี้ยังมีความพยายามเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ย่อท้อต่อชีวิตเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและน่าให้กำลังใจ แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและสัจธรรมแห่งชีวิตควบคู่ไปด้วย จะทำให้เรามีความสุขในการต่อสู้กับปัญหาได้ดีขึ้น การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ด้วยหลัก “7 ลดน้อย (การลดน้อย 7 ประการ)” จะทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวได้ 1. กินน้อย (少吃) ไม่ควรกินอิ่มมากเกินไป จะทำให้ระบบย่อย (ในผู้สูงอายุ) ซึ่งไม่ดีอยู่แล้วทำงานหนักยิ่งขึ้น ทำให้อาหารตกค้าง ไม่ย่อย ไม่สบายตัว ท้องอืด นอนไม่หลับ รวมทั้งทำให้มีโอกาสเกิดโรคอ้วน, เบาหวาน, โรคของถุงน้ำดี ฯลฯ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว 2. โกรธน้อย (少怒) การโกรธและการเก็บกดอารมณ์โกรธที่รุนแรง จะทำพลังย้อนขึ้นบนหรือติดขัด หลอดเลือดหดตัว เป็นอันตรายต่อการขาดเลือดของสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ …

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

เวียนศีรษะ บ้านหมุน

แพทย์แผนจีนมองภาวะเวียนศีรษะ – บ้านหมุน ในภาพรวม เกี่ยวข้องกับสภาพร่างกายพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละรายและสิ่งก่อโรค โดยหลักการวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (เปี้ยนเจิ้ง 辨证) กล่าวคือ วิเคราะห์การไหลเวียนของเส้นลมปราณและสภาพร่างกาย รวมถึงปัจจัยก่อโรคที่มากระทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ อาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) หมายถึง อาการตาลาย บ้านหมุน ถ้าอาการไม่รุนแรงปิดตาอาการจะดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการหมุนโคลงเคลงเหมือนนั่งในรถในเรือ ไม่สามารถลุกยืนได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หน้าขาวซีด ร่วมด้วยแพทย์แผนจีนมีการกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะจากปัจจัยและกลไกต่างๆ เช่น– อาการเวียนศีรษะ คือ ลมที่อยู่ส่วนบน เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ – อาการเวียนศีรษะ คือ ภาวะพร่องส่วนบน พลังขึ้นไปสมองไม่พอ – อาการเวียนศีรษะ เพราะไตพร่องการสร้าง ไขสมองน้อยลง – อาการเวียนศีรษะ เกิดจากเสมหะปิดกั้น ด้านบน – ลิ่วหยิน (六淫) ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก มากระทบ – การแปรปรวนทางอารมณ์ทั้ง 7 ทำให้เกิด อาการเวียนศีรษะ – …

เวียนศีรษะ บ้านหมุน Read More »

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล

เคยกล่าวมาตลอดว่า การดูแลสุขภาพต้องให้การดูแลแบบองค์รวม ไม่เน้นดูแลอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง จนลืมดูแลส่วนอื่นๆในร่างกายไป วันนี้เราจะมาเรียนรู้การดูแลอวัยวะตับ ไต หัวใจ ม้าม และปอด โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ไปดูกันว่าอาหารและการดูแลอวัยวะแต่ละส่วนนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อาหารและการดูแลอวัยวะตับ การนอนหลับกลางคืนต้องหลับสนิท โดยเฉพาะช่วง 1.00-3.00 น. กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ เคี้ยวเก่ากี้หรือชงน้ำเก่ากี้ ดื่มเป็นประจำ ช่วยบำรุงตับและขับสารพิษ กดจุดไท่ชง(太冲穴) บ่อยๆ ครั้งละ 3-5 นาที การร้องไห้ ระบายพิษของตับ(ตับเปิดทวารที่ตา) เป็นการไห้ช่วยระบายความเครียดทางอารมณ์ อาหารและการดูแลอวัยวะหัวใจ ดีบัว-ขับพิษร้อนหัวใจ ใช้ดีบัว  10 กรัม  ใบไผ่ 1 กำมือ ใส่ชะเอมเทศ 5-6 แผ่น ต้มดื่ม ช่วงเวลา 11.00-13.00 น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณหัวใจสูงสุด  …

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล Read More »

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร?

ในหน้าร้อนระบบการย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว การปฏิบัติตัวสำหรับการกินอาหารที่เหมาะสมในหน้าร้อนนั้น พอสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้าวต้มมื้อเช้าตอนตื่นนอน ท้องจะว่างเนื่องจากกระเพาะอาหารพร่อง ควรเริ่มต้นมื้อเช้าด้วยอาหารอ่อนๆ เพราะในหน้าร้อน ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากความร้อนทั้งกลางคืนและกลางวัน ทำให้สูญเสียน้ำ การทำงานของระบบย่อยและดูดซึมอาหารลดลง จึงยิ่งต้องถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่จะย่อยสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย ข้าวต้มอาจผสมถั่วเขียว, เมล็ดบัว หรือรากบัว ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน เสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม 2. ควรกินผลไม้ที่แพทย์แผนจีนถือว่ามีคุณสมบัติเย็น ขับร้อน เพิ่มน้ำในร่างกายผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น เช่น แตงกวา, แตงโม, แตงไทย, มังคุด, สับปะรด, สาลี่ เป็นต้น เหมาะสำหรับ กินแก้กระหายและขับร้อนในร่างกาย แต่ไม่ควรแช่เย็นจัด หรือกินในตอนกลางคืน หรือขณะที่ท้องว่างหรือเวลาหิวจัด 3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทฤษฎีแพทย์จีนถือว่ามีคุณสมบัติร้อน อาหารทอดๆ มันๆ แห้งๆควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกทอดๆ มันๆ เช่น ถั่วทอด,  กล้วยแขก, ปาท่องโก๋, ไก่ทอด ฯลฯ หรืออาหารที่มีคุณสมบัติร้อน เช่น น้อยหน่า, ทุเรียน, ลิ้นจี่, ลำไย, ขนุน …

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร? Read More »

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน

“อากาศร้อนๆ แบบนี้ ถ้าได้ดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง คงสดชื่นน่าดู”“อากาศร้อนมาก ผมเลยนอนบนพื้นปูน เปิดพัดลมเย็นสบายดี แต่พอตื่นขึ้นมารู้สึกอ่อนเพลียหนักๆ หัวเหมือนจะไม่สบาย”“ปิดเทอมหน้าร้อน พาเด็กๆ ไปห้างสรรพสินค้าทีไร กลับมาไม่สบายทุกทีเลย” ในหน้าร้อน ยามกระหายน้ำ ทุกคนมักนึกถึงน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำ อัดลม หรือไอศกรีม หรือหากอากาศร้อนมากๆ ถ้าอยู่บ้านมักใช้วิธีเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศจ่อถึงเนื้อถึงตัวทั้งวันทั้งคืน หรือบางคนนิยมไปหลบความร้อนตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ความเคยชินหลายอย่างอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้มากโดยที่เราคาดไม่ถึง แพทย์แผนจีนมีการบันทึกเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหน้าร้อนไว้อย่างน่าสนใจ แนวความคิดพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน คือ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติรอบตัวที่มีความเกี่ยวพันและผลกระทบต่อกันอย่างแยกไม่ออก การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวที่เด่นชัด คือ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฤดูกาล  ซึ่งได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ (มีลมแรง) ฤดูร้อน (มีแดดร้อน) ปลายฤดูร้อน(มีความชื้น) ฤดูใบไม้ร่วง (มีอากาศแห้ง) และฤดูหนาว (มีอากาศเย็น) จะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกายและการเกิดโรค สาเหตุแห่งโรคที่มากระทบร่างกายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและฤดูกาลมี ๖ ปัจจัยด้วยกัน คือ ลม แดดร้อน ความชื้น ความแห้ง ความเย็น และไฟ (ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย) ซึ่งแต่ละปัจจัยมีผลกระทบต่อการปรับตัวของร่างกายแตกต่างกัน ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือเพราะภาวะของร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้ …

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน Read More »

ทำไม? ในยาสมุนไพรมี สเตียรอยด์

“เป็นเรื่องแปลก แม้ว่าจะพบสมุนไพรจำนวนมากในท้องตลาด ที่แอบใส่ สเตียรอยด์ เข้าไป แต่มักจะหาแหล่งผลิตยาก เพราะผู้ผลิตจำหน่ายมักไม่ใช่หมอ (ผลิตเพื่อการค้า) และหมอที่มีความรู้จริงก็ไม่รู้จะใส่สเตียรอยด์เข้าไปเพื่อเหตุผลใด เพราะผิดทั้งกฎหมายและจะถูกยึดใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะได้ ที่สำคัญผู้ป่วยสามารถนำหลักฐานเพื่อร้องเรียนตัวหมอได้ง่าย เพราะมีเจ้าภาพที่เป็นตัวตน” “ดิฉันรู้ดีว่าคุณหมอไม่ได้ใส่สเตียรอยด์สังเคราะห์เข้าไปในยาจีนหรอกคะ แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าสมุนไพรจีนหลายตัวที่มีผลวิจัยพบว่า มี สเตียรอยด์ ธรรมชาติ ถ้าดิฉันกินเข้าไปจะสะสมทำให้อ้วนหรือเปล่า? ยาสมุนไพรจีนที่มีสเตียรอยด์ธรรมชาติน้อย มีฤทธิ์ไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างสเตียรอยด์ของร่างกายเองได้อย่างไร หลักการที่ถูกต้อง ถ้าสเตียรอยด์ที่สร้างโดยร่างกายเอง สามารถปรับการสร้างและผลิตให้เหมาะสมกับภาวะต่างๆ ของผู้ป่วยได้อย่างสมดุลนับว่าดีที่สุด ยาสมุนไพรจีนบางอย่าง ไม่ได้มีฤทธิ์สเตียรอยด์โดยตรง แต่สามารถทำให้ร่างกายเกิดการสร้างสเตียรอยด์ได้ดีในภาวะจำเป็น เช่น ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติของจีน พบว่านักวิ่งหญิงจีน 9 คน วิ่งทำลายสถิติโลก สร้างความแปลกใจแก่ผู้สังเกตการณ์ทั่วโลกซึ่งเชื่อว่าเป็นผลของการใช้สารสเตียรอยด์อย่างแน่นอน ภายหลังตรวจสอบไม่พบสารสเตียรอยด์ และนักกีฬาทุกคนก็ไม่มีอาการภายนอกที่แสดงออกของการใช้สเตียรอยด์ โค้ชทีมได้เฉลยข้อข้องใจว่า มีการบำรุงสมุนไพร ตง-ฉง-เซี่ย-เฉ่า ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์ไปกระตุ้นพลังปอด ซึ่งพบว่าสมุนไพรตัวนี้มีบทบาทหลายด้าน เช่น แก้โรคหืด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจทำให้ร่างกายมีพลัง ทั้งที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ธรรมชาติเป็นตัวประกอบหลัก แสดงว่าการออกฤทธิ์ต่อระบบอื่นๆ หลายระบบ หลายอวัยวะแล้วไปมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไต ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนออกมาได้ในยามที่ต้องใช้งานจำเป็นฤทธิ์แบบเดียวกันที่พบในโสมคนหรือโสมไซบีเรียที่มีผลต่อการเสริมพลังการทำงานของหัวใจ การควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด การเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ข้อแตกต่างระหว่างการใช้สเตียรอยด์สังเคราะห์กับการใช้ยาสมุนไพรจีนคืออะไร …

ทำไม? ในยาสมุนไพรมี สเตียรอยด์ Read More »

ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ จริงหรือ

ผู้ป่วยบางคนรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันตั้งนาน เลยคิดอยากจะเปลี่ยนไปหาแพทย์ทางเลือกอย่างเช่นแพทย์แผนจีน พอไปปรึกษาแพทย์มักจะได้คำตอบว่า “ไม่ควรไปหา เพราะยาจีนไม่ว่าจะเป็นผง แคปซูล หรือเป็นสมุนไพร มักมีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ กินแล้วระยะแรกจะดีขึ้น แต่ใช้ไปนานๆ จะมีผลแทรกซ้อนเป็นอันตราย” ผู้ป่วยบางคนมาหาหมอจีน เมื่อหมอจ่ายยาสมุนไพรให้ผู้ป่วยบางคนจะถามหมอว่า“คุณหมอค่ะ ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ หรือเปล่า ที่บ้านเขาไม่สนับสนุน เพราะกลัวใส่ สเตียรอยด์ แล้วเป็นอันตราย” เมื่อไม่นานนี้ มีผู้ป่วยรายหนึ่งไปออกรายการโทรทัศน์ให้สัมภาษณ์ในรายการดังกระจายไปทั่วประเทศว่า ได้ไปรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน 2-3 เดือน เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งสรุปว่าเป็นเพราะยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ หรือผสม สเตียรอยด์ เข้าไป ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า คุชชิง (กลุ่มอาการ คุชชิง หรือ Cushing’s syndrome) การประชุมวิชาการประจำปีของแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่28-29 เมษายน 2548 ได้จัดให้มีการอภิปรายในหัวข้อ “สเตียรอยด์ ในสมุนไพรจีน” มีผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชกรหญิงทัศนีย์ โชคเจริญรัตน์ จากสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ …

ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ จริงหรือ Read More »

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ลักษณะการปวดแบบแพทย์แผนจีน 1. การปวดแบบเคลื่อนที่ เช่นการปวดตามข้อ และเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เหมือนลม เรียกว่า ปวดแบบลม2. การปวดแบบลึกๆ หนักๆ เหมือนผ้าชุบน้ำ เรียกว่า ปวดแบบความชื้น3. การปวดแบบอักเสบ บวม แดง ร้อน เรียกว่า ปวดแบบร้อน4. ปวดแบบรุนแรงมาก โดยเฉพาะเวลากระทบความเย็น เรียกว่า ปวดแบบเย็น5. ปวดแบบเข็มแทง เฉพาะที่ เป็นมากตอนกลางคืน เรียกว่า ปวดแบบเลือดคั่ง6. ปวดแบบเรื่อยๆ ไม่รุนแรง เป็นมากเวลาอ่อนเพลีย เรียกว่า ปวดแบบร่างกายพร่องอ่อนแอ ตำแหน่งการปวด บอกถึงการกระทบกระเทือน เส้นลมปราณอะไร เช่น 1. ปวดบริเวณหน้าผาก – ปวดเส้นลมปราณหยางหมิง2. ปวดศีรษะด้านข้าง – ปวดเส้นลมปราณซ่าวหยาง3. …

อาการปวดและการรักษาอาการปวด ด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

ปอดเหมือนหลังคาหรือสิ่งปกคลุมอวัยวะจั้งอื่นๆ (肺为华盖)  เปรียบเสมือนเครื่องกำบังสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ลม แดด ฝน หิมะของรถม้า(车盖)พระที่นั่งของกษัตริย์โบราณ  การเปลี่ยนแปลงภายนอกหรือปัจจัยก่อโรคภายนอกต้องมากระทบสิ่งกำบัง(อวัยวะปอด)ก่อนที่จะบุกรุกไปที่อวัยวะอื่นๆ  ปอดเป็นอวัยวะที่บริสุทธิ์และอ่อนแอ (清虚之体) การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลกระทบโดยตรงกับการรับความรู้สึกของผิวหนังและอากาศที่เข้าสู่ถุงลม จึงเป็นด่านแรกของการถูกรุกรานจากภายนอกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอากาศภายนอก อากาศในปอดไม่บริสุทธิ์ ทำให้กลไกของปอดในการกำกับการแพร่กระจายของชี่  และการกำกับพลังลงล่าง(肺气不清,失于宣肃) หรือหายใจเข้าดูดซับเอาสิ่งดี หายใจออกเอาขับสิ่งที่เสีย(吸清呼浊) เสียหน้าที่ เกิดพลังย้อนขึ้นด้านบนและเกิดเสียงไอ บางครั้งร่วมกับการขากเสมหะ กลไกการเกิดโรค เนื่องจากเหตุแห่งโรคและการปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่างกันทำให้มีลักษณะการไอแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแบ่งเป็น สาเหตุมาจากปัจจัยก่อโรคภายนอกเป็นด้านหลัก เช่น ลมเย็น ลมร้อน ความแห้ง การแสดงออกของโรคเป็นแบบเฉียบพลัน รวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินของโรคสั้น มักมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กลัวความเย็น และไอมีเสมหะ สาเหตุมาจากปัจจัยภายใน คือภาวะเสียสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายใน การแสดงออกของโรคเป็นแบบช้าๆ เรื้อรัง ระยะเวลาดำเนินของโรคใช้เวลานาน 7 กลุ่มอาการไอ วินิจฉัยแบบแพทย์แผนจีน 1.ลมเย็นโจมตีปอด(风寒犯肺) อาการสำคัญ  เริ่มต้นไอคันคอ ไอเสียงดัง หายใจเร็ว ขากเสมหะใส เป็นฟอง มีอาการแน่นจมูก น้ำมูกใส ฝ้าบนลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย …

7 อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »