ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา
สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค “แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก “ส้ม” ผู้อาวุโสของผลไม้ คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม …