บทความสุขภาพฉบับสามหลวง

หวีผม เพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันจุดมุ่งหมายในการหวีผม มักมุ่งเน้นเพื่อให้เส้นผมมีระเบียบเรียบร้อย ไม่เกะกะรุงรัง ทำให้ดูสวยงามเป็นสำคัญ ภูมิปัญญาโบราณของแพทย์จีนให้ความสำคัญเกี่ยวกับหนังศีรษะ ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งให้อาหารกับเส้นผม การฝังเข็ม การนวด การฝึกพลังชี่กง ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค จะมีจุดฝังเข็มบนหนังศีรษะเกี่ยวข้องด้วยเสมอ การหวีผมด้วยหวีที่ทำด้วยไม้ ได้ถูกพัฒนาเป็นวิธีการดูแลสุขภาพอย่างง่ายวิธีหนึ่ง กล่าวกันว่า สมัยราชวงศ์ซ่ง นักวรรณคดีชื่อ ซูตงพอ หลังตื่นนอนจะต้องหวีผม ๒๐๐-๓๐๐ ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นสมอง เพิ่มความมีชีวิตชีวา ทำให้อายุยืนยาว สมัยราชวงศ์ชิง หวู่ซ่างเซียน ได้บันทึกไว้ในหนังสือหลี่หลุนเผียนเหวิน “การหวีผมเป็นการกระจายลม ขจัดไฟออกจากร่างกายความหมายและหลักการ “หวีผมเพื่อสุขภาพ” อุปกรณ์ หวีผมเพื่อสุขภาพจะต้องใช้หวีที่ทำด้วยไม้เท่านั้น (สมัยโบราณนิยมไม้ของต้นท้อ) ห้ามใช้หวีพลาสติก หรือหวีที่ทำด้วยโลหะ  เวลาที่หวี – หลังตื่นนอนตอนเช้า– หลังตอนพักเที่ยง– ก่อนนอนกลางคืน  วีธีการ– หวีจากบริเวณหน้าผากผ่านกึ่งกลางศีรษะมาที่ท้ายทอย– เริ่มต้นใหม่ ให้หวี 20-30 ครั้งต่อนาที ช้าๆ แล้วค่อยเพิ่มความถี่ เร็วขึ้นกำลังที่ใช้ปานกลางพอเหมาะ ไม่ขูดรุนแรงจนผิวหนังถลอก  หวีเพื่อการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3-5 นาที  หวีเพื่อการรักษาโรค วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที …

หวีผม เพื่อสุขภาพ Read More »

สมุนไพรจีน บำรุงยิน

ความรู้สึกเป็นไข้ตอนบ่าย ร้อนบริเวณแก้ม เหงื่อออก เวลากลางคืน ร้อนฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณทรวงอก ปากคอแห้ง ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นน้อย หรือลิ้นเลี่ยน ชีพจรเบาเร็ว อาการเหล่านี้คนจีนเรียกว่า อิมฮือ อิมฮือ หมายถึง ภาวะเลือด ภาวะยินพร่อง ที่รวมถึงสารจิงไม่พอ เสียสารน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะยินไม่สามารถควบคุมหยาง เกิดอาการแสดงออกของ ยินพร่อง มีความร้อนภายในร่างกาย (เนื่องจากหยางในร่างกายแกร่ง เพราะยินในร่างกายน้อยกว่าปกติ) สาเหตุที่มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นเพราะตอนกลางวันพลัง ปกป้องผิวมักจะอยู่บริเวณส่วนนอก กล้ามเนื้อและผิวหนัง เมื่อตกกลางคืน พลังเหล่านี้จะลดลง ความร้อนภายในร่างกายที่สะสมอยู่จะระบายเหงื่อ และความร้อนสู่ภายนอก โบราณเรียกว่า “เหงื่อที่ระเหยจากกระดูกส่วนลึกของร่างกาย” เป็นลักษณะเด่นของภาวะยินพร่อง ภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย เช่น เสียเหงื่อมาก ไข้สูงเรื้อรัง ท้องเสีย ฯลฯ ภาวะเช่นนี้จะทำให้เกิดภาวะแห้ง ภายในร่างกายเนื่องจากสูญเสียน้ำและของเหลว มักพบอาการคอแห้งริมฝีปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะน้อยสีเข้ม อุจจาระแห้งแข็ง ฯลฯ ระยะแรกของยินพร่องเป็นภาวะขาดสารน้ำแล้วมีภาวะแห้ง มักมีอาการที่ปอด กระเพาะอาหาร ระยะ หลังของยินพร่องมักมีภาวะร้อน …

สมุนไพรจีน บำรุงยิน Read More »

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ

เวลากลางวัน เป็นหยาง ระบบประสาทส่วนกลาง จะถูกกระตุ้นให้มีความตื่นตัว หลังเที่ยงวัน พลังหยางของธรรมชาติจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเที่ยงคืน ภาวะความตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลางค่อยๆ อ่อนล้าหรือลดลง การทำงานของคนเราควรจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ และสภาพของ “นาฬิกาชีวิต” ของร่างกาย เวลากลางคืน เป็นยิน ระบบประสาทส่วนกลางควรอยู่ในสภาพสงบและพัก เพื่อขจัดความเมื่อยล้าจากการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตใจ ตลอดวันที่ผ่านมา การนอนหลับจึงเป็นวิธีการพักผ่อนตามธรรมชาติที่ดีที่สุด ถ้าการนอนหลับเพียงพอ หลับสนิท และเป็นการหลับตอนกลางคืนในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายมีการฟื้นตัวได้ดีที่สุด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะมีความสดชื่น มีสภาพร่างกาย สภาพของสมองที่พร้อมจะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ปัญหาจะเกิดขึ้นมากมาย เมื่อร่างกายและสมอง ไม่สามารถพักผ่อน และฟื้นฟูสภาพได้จากภาวะการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือหลับไม่พอ ร่างกายคนเรามีระบบการทำงานของร่างกายที่มีกฎเกณฑ์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งระบบสมดุล กฎเกณฑ์เหล่านี้เปรียบเสมือน “นาฬิกาชีวิต” การเคลื่อนไหวของมันเป็นไปตามวิถีการหมุนรอบตัวเองของโลก การเข้าใจกฎเกณฑ์ของ “นาฬิกาชีวิต” เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัว นำมาซึ่งสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ทางสรีระของร่างกาย เช่น ความดันของหัวใจ ประมาณ 72 ครั้ง/นาที การหายใจ ประมาณ 16 ครั้ง/นาที อุณหภูมิของร่างกาย ช่วงเช้าต่ำกว่าช่วงค่ำ …

ทัศนะแพทย์แผนจีน ต่อการนอนหลับ Read More »

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง”

ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน มีหลายสาเหตุ การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ท้องผูกจากภาวะการอักเสบในช่องท้อง หรือกระเพาะ หรือลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไทฟอยด์ ลำไส้อักเสบ รวมทั้งกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ทะลุ หรือมีเลือดออก หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียน ซึ่งต้องหาสาเหตุที่แน่นอน การใช้ยาในผู้สูงอายุหรือคนที่มีร่างกายอ่อนแอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาวะท้องผูกที่จะกล่าวต่อไป เป็นภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้มีโรคเฉียบพลันเป็นต้นเหตุโดยตรง ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้ยาที่มีฤทธิ์หลักๆ ๓ อย่างด้วยกัน คือ 1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 2. ยาเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ 3. ยาที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แต่ในทัศนะแพทย์จีนมักจะวิเคราะห์แยกโรคดังภาวะสมดุลของร่างกายเป็นหลัก และให้การรักษาอาการท้องผูก ร่วมกับสร้างสมดุลภายในของร่างกาย โดยสาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ลักษณะแกร่ง ได้แก่ แบบร้อน และแบบพลังอุดกั้น 2. ลักษณะพร่อง ได้แก่ แบบเย็น (หยางพร่อง)  แบบพลังพร่อง และแบบเลือดพร่อง ท้องผูกเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำให้การถ่ายอุจจาระไม่คล่อง โดยทั่วไป 3-5 วัน บางครั้ง 7-8 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง (บางรายนานถึงครึ่งเดือน) …

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” Read More »

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

แนวทางการรักษา โรคเครียด

หญิงวัย 20 ปี มีปัญหาเรื่องหงุดหงิดง่าย บางครั้งแน่นหน้าอกเหมือนจะขาดใจ ได้รับการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์มา 7 ปี อาการเป็นๆหายๆ ดีบ้างหายบ้าง บางครั้งมีหูแว่ว มีภาพหลอน ในที่สุดแพทย์ได้ตัดสินใจให้ยาตัวใหม่  ผู้ป่วยได้ยาตัวนี้มานาน 1 เดือนเศษ หลังจากกินยา มีอาการปัสสาวะรดที่นอน น้ำลายมาก เปียกที่นอนทุกคืน คุณแม่ของเด็กบังเอิญไปอ่านฉลากยาพบว่ามีข้อแนะนำให้เด็กตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวทุก 2 เดือน คุณแม่กังวลใจมากถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ยาเพราะไม่รู้ว่าจะใช้ไปนานอีกเท่าไหร่ ร่างกายจะดีข้นจริงหรือผลแทรกซ้อนจะเป็นอย่างไร หนทางนี้จะเป็นการรักษาที่ถูกต้องจริงหรือ หญิงวัย 38 ปี ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย เครียดง่าย คิดมาก กลัวความเย็น เวียนศีรษะบ่อยๆ ชอบง่วงนอนกลางวัน กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็จะฝันร้าย ตื่นกลางคืนแล้วหลับต่อลำบาก บางครั้งมีใจสั่น กินอาหารไม่ค่อยได้ ร่างกายดูท้วม ๆ เคยรักษาด้วยยาคลายเครียด ยานอนหลับ กลับรู้สึกว่าหลับแล้วไม่ค่อยอยากที่จะตื่น อ่อนเพลียมากขึ้น หญิงวัย 45 ปี มีความรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย โดยเฉพาะเวลาหิว ถ้าไม่กินอาหารลงไปให้เพียงพออาการจะกำเริบมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย …

แนวทางการรักษา โรคเครียด Read More »

ขับเหงื่อ : ขับพิษ

ร่างกายของเราในยามปกติสุขก็มีพิษสะสมอยู่มาก พิษที่มีอยู่ในร่างกายได้มาหลายทางด้วยกัน เช่นจากอาหารที่กินเข้าไป อากาศที่หายใจ น้ำที่ดื่ม สิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากกลไกการทำงานของร่างกายเอง ฟังดูแล้วน่าตกใจว่า เราจะอยู่ได้อย่างไร เมื่อพิษมีอยู่เต็มตัว แต่โชคดีธรรมชาติได้สร้างระบบการขับพิษแก่ร่างกาย เช่น การทำลายพิษของตับ การขับถ่ายทางอุจจาระ ขับปัสสาวะ การขับเหงื่อ การหายใจ เป็นต้น การขับพิษโดยเทคนิคการขับเหงื่อในทางศาสตร์แพทย์แผนจีนมีเนื้อหาที่น่าสนใจ การขับเหงื่อเป็นการขับพิษที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังทำให้เลือดพลังในเส้นลมปราณไหลคล่อง เพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนผิว ทำให้สารพิษจากร่างกายขับออกได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นการป้องกันโรคและเป็นการขจัดปัจจัยก่อโรค โดยเฉพาะความเย็น ลม ความชื้น ที่กระทบจากภายนอก ประโยชน์ของการขับพิษทางเหงื่อ 1. ช่วยขจัดพิษที่สะสมในร่างกาย เวลาอาบน้ำ ถูขี้ไคล จะพบว่าคราบขี้ไคล เกิดจากเหงื่อกับเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมตายหลุดลอก หรือกลิ่นตัวที่หมักหมม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปร่วมทำปฏิกิริยาด้วยคนที่เป็นโรคไตที่การขับของเสียทางไตลดลง ต้องหันมาสนใจหรือใช้การขับเหงื่อช่วยอีกทางหนึ่ง 2. การขับปัจจัยก่อโรค เสียชี่ ที่อยู่ระดับผิว แพทย์แผนจีนใช้การขับเหงื่อเป็นการทะลวงขับการถูกโจมตี และการคั่งค้างของเสียชี่จากภายนอก ที่ทำให้เกิดอาการกลัวหนาว ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เนื่องจากการกระทบลมเย็น ลมร้อน หรือลมชื้น เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน การกินยาพาราเซตามอล หรือยาแอสไพริน ทำให้ขับเหงื่อ …

ขับเหงื่อ : ขับพิษ Read More »

การรักษามะเร็ง แบบบูรณาการแพทย์จีนกับแผนปัจจุบัน

เนื่องจากแพทย์แผนจีนมีจุดเด่นด้านการรักษามะเร็ง คือ การเปี้ยนเจิ้งลุ่นจื้อ 辨证论治 คือการแยกแยะสภาพร่างกายและปัจจัยก่อโรคอย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นจริง และดำเนินการรักษาปรับสมดุลด้านหนึ่งสร้างเงื่อนไขให้ร่างกายสามารถปรับกลไกธรรมชาติในการรักษาตนเอง ในอีกด้านหนึ่งทำการขจัดเสียชี่ (ปัจจัยก่อโรค) ออกจากร่างกาย โดยให้ความสำคัญกับสภาพองค์รวมเป็นหลัก ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต่อการยับยั้งมะเร็งโดยตรงและนำไปรักษาโรคมะเร็งเฉพาะส่วน รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดเฉพาะที่ สรุปได้ว่า มีทั้งการเปี้ยนเจิ้ง 辨证 (การวิเคราะห์องค์รวม)เพื่อรักษาตามเจิ้ง 辨证治疗 การเปี้ยนปิ้ง 辨病治疗 (การวินิจฉัยโรคมะเร็งเฉพาะที่) เพื่อรักษาตามโรค 辨病治疗 และการรักษาตามอาการ (对症治疗) ประสานกลมกลืนในกระบวนการรักษา บทบาทของการรักษาแบบแผนจีน 1. การฝังเข็ม-รมยา การฝังเข็ม-รมยา อาศัยทฤษฎีจิงลั่ว ทฤษฎีปัญจธาตุ ทฤษฎีอวัยวะภายใน ฯลฯ มาชี้นำทำการรักษาเพื่อปรับสมดุล โดยการเสริมเจิ้งชี่และขับเสียชี่ในการต้านมะเร็งคือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคในการต่อสู้มะเร็ง จุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมและยับยั้งการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง 2. การฝึกพลังลมปราณ (ชี่กง) มีบทบาทการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เสริมภูมิคุ้มกัน เป็นการเน้นบทบาทในการกระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในร่างกาย โดยการปรับกลไกพลังของร่างกาย ทำให้การไหลเวียนของพลังลมปราณในเส้นลมปราณต่างๆ ไหลเวียนคล่องตัว ไม่ติดขัด เสริมสร้างการปรับตัวเพื่อรักษาตัวเอง ยังช่วยลดภาวะความตึงเครียดทางจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของภูมิคุ้มกันต่ำและการติดขัดของพลังลมปราณอีกด้วย การต่อสู้กับมะเร็งต้องอาศัยกลไกของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สภาพจิตใจและความคิดที่เป็นบวก และจิตใจที่สงบ ไม่ใช่ตกใจกลัว มองโลกในแง่ร้าย …

การรักษามะเร็ง แบบบูรณาการแพทย์จีนกับแผนปัจจุบัน Read More »

แพทย์แผนจีน กับหลักการรักษามะเร็ง

แพทย์แผนจีนรักษามะเร็งจะต้องเข้าใจภาวะองค์รวมทั้งหมด แล้วดำเนินการรักษาอย่างวิภาษ หรือที่เรียกว่า เปี้ยนเจิ้งลุ่นจื้อ (辨证论治)  คือ วางหลักและใช้วิธีในการรักษาที่สอดคล้องกับภาวะร่างกายและภาวะของปัจจัยก่อโรค ซึ่งการจะวิเคราะห์ภาวะของร่างกายและภาวะของปัจจัยโรค ใช้วิธีการตรวจโรคแบบ ซื่อเจิน (四诊) เก็บรวบรวมข้อมูลจากอาหารต่างๆ และสิ่งตรวจพบ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์มาสรุปลักษณะธาตุแท้ ปรากฏการณ์ที่เป็นจริง สู่การวางหลักการและวิธีการรักษาที่สอดคล้องอย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง 1. ทัศนะองค์รวม (整体观念) การรักษามะเร็งเฉพาะส่วนร่วมกับการรักษาร่างกายโดยองค์รวม การควบคุมมะเร็งได้ดี จะมีผลดีต่อสภาพร่างกายโดยรวมทั้งหมด ในทางกลับกัน สภาพร่างกายที่ดีจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่จะมีผลต่อการควบคุมมะเร็งด้วย ทั้ง 2 ด้าน คือ เฉพาะส่วนกับองค์รวมต่างส่งผลกระทบต่อกัน ควบคุมกันและส่งเสริมกัน 2. การปรับสมดุลยิน-หยาง (调整阴阳) หลักการของทฤษฎียิน-หยาง ชี้นำการดำรงอยู่ของด้าน 2 ด้าน เช่น ร่างกายกับมะเร็ง ทั้ง 2 ด้านมีรากฐานเดียวกัน การพัฒนาเพิ่มขึ้นของด้านหนึ่ง ส่งผลต่อการลดลงของอีกด้านหนึ่ง ในทางกลับกันการลดลงของอีกด้านหนึ่ง ก็ส่งผลต่อการพัฒนาเพิ่มขึ้นของอีกด้านหนึ่ง การปล่อยให้เงื่อนไขยิน-หยางเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพจากเซลล์ดีกลายเป็นเซลล์ไม่ดี ถ้าสร้างเงื่อนไขที่ดีได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถทำให้เซลล์ที่ไม่ดีกลับเป็นเซลล์ดีได้ การปรับสมดุลยิน-หยาง คือ การสร้างเงื่อนไขที่ดีหรือภาวะที่เหมาะสมกับร่างกายในการเอาชนะโรคมะเร็ง ตัวอย่างการปรับสมดุล เช่น …

แพทย์แผนจีน กับหลักการรักษามะเร็ง Read More »

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีน มองร่างกายเป็นแบบองค์รวม หมายความว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่เกิดเฉพาะส่วน กับร่างกายโดยองค์รวม หรือโรคที่เกิดจากภาวะร่างกายโดยรวมจะมีผลทำให้โรคเฉพาะส่วนรุนแรงขึ้น หรือลดลงได้เช่นเดียวกัน กล่าวถึงโรคมะเร็งอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น มะเร็งปอด ถึงแม้จะเป็นมะเร็งเฉพาะที่ เป็นปัญหาโรคเฉพาะส่วน แต่ก็ส่งผลถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ มีไข้ เจ็บปวด สภาพจิตใจหดหู่ ฯลฯ ในทางกลับกัน คนที่มีภาวะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตกต่ำ ก็เป็นเงื่อนไขให้มะเร็งก่อตัว หรือ กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันการเกิดมะเร็ง หรือการรักษามะเร็งจึงต้องพิจารณาสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขของการเกิดมะเร็ง กับพิจารณาตัวโรคมะเร็งควบคู่กันไปด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งของศาสตร์แพทย์จีน เหตุแห่งโรค แพทย์แผนจีน แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากภายใน และปัจจัยจากภายนอก ปัจจัยภายใน •  ยิน-หยางเสียสมดุล (阴阳失衡) •  อวัยวะภายในจั้งฝู่เสียสมดุล (脏腑失调) • เลือดและพลังเสียสมดุล (气血不和) • พลังเจิ้งชี่ของร่างกายอ่อนแอ (正气虚弱) • ภาวะของอารมณ์ทั้ง ๗ ไม่สมดุล (七情不和) ปัจจัยภายนอก •  พลังชี่ติดขัด …

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

เทคนิค “อาบน้ำ” เพื่อสุขภาพ

การอาบน้ำชำระร่างกาย มีความละเอียด มีมุมมอง และเทคนิคต่างๆ มากมาย ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากน้ำเพื่อผลในการกระตุ้นร่างกาย ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย เช่น การใช้ธาราบำบัด แพทย์แผนจีนได้กล่าวถึงศาสตร์ของการอาบน้ำอุ่นและอาบน้ำเย็นเพื่อสุขภาพไว้ ดังนี้ น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน (หยาง) ให้ความอบอุ่นกับร่างกาย เพิ่ม ฟื้นฟู และพยุงพลังหยาง ทำให้เลือดและพลังลมปราณเคลื่อนไหวได้ดี ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับความเย็น ความชื้น ลม โรคเกี่ยวกับเอ็นหรือกระดูก ปวดตามข้อ ตะคริว นอนไม่หลับ ท้องเสียเรื้อรัง อาการหนาวเย็นบริเวณช่องท้อง หน้าอก น้ำเย็น (ยิน) ระงับความร้อนอุดกั้น ลดการเจ็บปวดเนื่องจากการอักเสบ ช่วยให้ก้อนเลือดหดตัว ลดการบวม ทำให้เลือดไหลเวียนดี รักษาอาการร้อนคลุ้มคลั่ง โรคความดันเลือดสูง แผลอักเสบจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดการปวดเอ็นกล้ามเนื้อ และกระดูกที่มีการอักเสบร้อน นอกจากนั้น หากใช้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นสลับกัน จะเป็นการฝึกฝนการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งด้านกระตุ้น (ซิมพาเทติก) และยับยั้ง (พาราซิมพาเทติก) เพื่อให้มีการปรับสมดุลของยินและหยางนั่นเอง  คุณสมบัติของน้ำมีทั้งมีแรงดันและมีแรงลอยตัวเมื่อเราลง ไปแช่ในน้ำ จะมีความรู้สึกถูกบีบรัดรอบตัวบริเวณทรวงอก ช่องท้อง แขน ขา …

เทคนิค “อาบน้ำ” เพื่อสุขภาพ Read More »

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม

เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น – กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า – กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม – กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ – เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม – เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย – หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว – คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน” การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น อาหารแสลงหรืออาการต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง 1. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป …

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม Read More »

พยากรณ์ร่างกายได้จาก “นิ้ว”

ดังที่เคยได้กล่าวแล้วว่าร่างกายของมนุษย์เป็นองค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่ออวัยวะหนึ่งอวัยวะใดเกิดโรค ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งระบบ ด้วยเหตุนี้การดูลักษณะของนิ้วมือจึงสามารถบอกความแข็งแรงของอวัยวะได้ 1. หัวแม่มือ  นิ้วมือทั้ง 5 นั้น นิ้วหัวแม่มือทางการแพทย์จีนถือว่าเป็นนิ้วที่สำคัญที่สุด ลักษณะของนิ้วหัวแม่มือสามารถคาดคะเนความแข็งแรงของร่างกายตั้งแต่กำเนิดและสมรรถนะของสมองได้ กล่าวโดยทั่วไปแล้ว คนที่ร่างกายแข็งแรงนิ้วหัวแม่มือค่อนข้างกลม ยาว และแข็งแรง ความยาวของข้อนิ้วสม่ำเสมอ ถ้านิ้วหัวแม่มือหยาบและใหญ่มักเป็นผู้ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว แต่ถ้านิ้วหัวแม่มือแบนเรียบและอ่อน มักเป็นผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอไม่ค่อยมีความอดทน ถ้านิ้วหัวแม่มือคดงอมักมีอาการทางประสาท ถ้านิ้วหัวแม่มือสั้นและเล็กจิตใจมักไม่มั่นคนเป็นคนขี้ขลาด ความมุ่งมั่นน้อย การแก้ไขคือควรได้รับการหล่อหลอมจากสังคม เพื่อให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ถ้าลายเส้นบนนิ้วข้อพับข้อที่สองของนิ้วหัวแม่มือยุ่งเหยิง และด้านข้างของข้อนิ้วที่สองมีเส้นยุ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่เครียดง่าย มีโอกาสเป็นโรคปวดหัวและนอนไม่หลับได้ง่าย ถ้าข้อนิ้วหัวแม่มือสั้นและแข็ง งอลำบาก จะเป็นโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และอัมพาตได้ง่าย 2. นิ้วชี้  นิ้วชี้ที่มีลักษณะดีคือค่อนข้างกลม สวย และแข็งแรง ข้อนิ้วมีความยาวใกล้เคียงกัน ข้อล่างจะสั้นกว่าข้อบนเล็กน้อย นิ้วตรง ถ้าชิดกันนิ้วจะแนบสนิทกับนิ้วกลางแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่ดีของตับและถุงน้ำดีถ้าข้อนิ้วข้อแรกของนิ้วชี้ยาวเกินไป มักเป็นผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง แต่ถ้าข้อนิ้วข้อที่สองหยาบ แสดงว่าการดูดซึมของธาตุแคลเซียมไม่ดี กระดูกและฟันไม่แข็งแรง ถ้านิ้วข้อที่สามสั้นเกินไป มักเป็นผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางด้านประสาทได้ง่าย ถ้านิ้วชี้ซีดและผอมแสดงว่าสมรรถนะของตับและถุงน้ำดีไม่ดี เป็นผู้ที่อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง แต่ถ้าปลายนิ้วเอียง ลายเส้นบนข้อพับของข้อนิ้วกลางยุ่งมักเป็นผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตับ ถุงน้ำดี และโรคดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อระบบย่อยลำเลียง …

พยากรณ์ร่างกายได้จาก “นิ้ว” Read More »

แพทย์แผนจีนกับการรักษา โรคปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะปวดไมเกรนเป็นโรคที่พบได้บ่อย  สำหรับบางคนอาจเป็นโรคประจำตัว โดยเฉพาะเวลาเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ บางครั้งก็ไม่พบสิ่งกระตุ้นหรือสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการรักษาก็คือ การรับประทานยาระงับอาการปวดหรือถ้าเป็นมากเป็นถี่ ก็หายาเกี่ยวกับการกล่อมประสาทมารับประทานเพื่อป้องกันการกำเริบ เป็นโรคที่พบบ่อยและสร้างความรำคาญ รบกวนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจไม่น้อย สาเหตุโรคไมเกรน ในมุมมองแพทย์แผนจีน เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งกระตุ้นภายนอก  ได้แก่ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่สำคัญคือ ลม ความเย็น  ความชื้น ความร้อน ซึ่งมักจะกระทบส่วนบนบริเวณศีรษะปิดกั้นทางเดินของเลือดและพลัง   ปัจจัยภายใน พื้นฐานของร่างกายที่มีอวัยวะภายในอ่อนแอที่สำคัญคือ ตับ ม้าม ไต  การเสียสมดุลของตับมักทำให้เกิดเลือดคั่งพลังติดขัด เกิดไฟร้อนของตับ  การเสียสมดุลของม้ามมักทำให้เสมหะของเสียตกค้าง การเสียสมดุลของไตมักทำให้สมองขาดการเลี้ยงบำรุง ปัจจัยภายใน  อารมณ์ ทำให้กลไกพลังแปรปรวน  ส่งผลต่อการทำงานของตับติดขัด หรือขึ้นบ น การติดขัดของพลังนานๆจะทำให้เกิดไฟ ซึ่งจะรบกวนส่วนบนบริเวณศีรษะ อาหาร การกิน  เป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างเลือดและพลังของร่างกาย  การทำหน้าการย่อยดูดซึมอาหารของม้าม กระเพาะอาหารและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะทำให้สมองจะได้รับเลือดและพลังอย่างเพียงพอ  ตรงกันข้ามถ้าระบบการทำงานและอาหารไม่สอดคล้อง จะทำให้เกิดเสมหะความชื้นตกค้าง  ซึ่งจะไปปิดกั้นด้านบนศีรษะเช่นกั้น อุบัติเหตุจากการบาดเจ็บกระทบกระแทกบริเวณศีรษะทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เกิดการติดขัดของพลังและเลือดคั่ง ทำให้เกิดอาการปวด การนอนหลับพักผ่อนและการทำงานที่ไม่สมดุล  ทำลายสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและอวัยวะภายใน ปัจจัยต่างๆข้างต้น เมื่อสะสมตัวนานเข้าทำให้เกิดอีกด้านหนึ่ง …

แพทย์แผนจีนกับการรักษา โรคปวดศีรษะไมเกรน Read More »

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คำว่า “โรคโคเลสเตอรอลในเลือดสูง” ไม่มีในตำราแพทย์จีนโบราณ ดังนั้นถ้ามาตรวจกับแพทย์แผนจีนแล้วบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาโรคนี้แพทย์จีนจะเน้นไปที่การรักษาสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายในและปรับเรื่องการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลวในร่างกาย ไม่ให้มีการติดขัด บางครั้งจะกล่าวถึงเสมหะ ความชื้น การทำงานของตับและม้ามไม่สมดุล ต้องขับเสมหะชื้น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ไม่ให้อาหารตกค้าง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร สาเหตุไขมันในเลือดสูงในมุมมองแพทย์แผนจีน 1. การรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต : อุปนิสัยการกิน ทำงานหักโหม ขาดการพักผ่อน ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในแปรปรวน เกิดเสมหะความชื้นและเลือดอุดกั้น 2. การทำงานของอวัยวะภายในเสียสมดุล โดยอวัยวะหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ตับ ม้าม ไต พลังตับติดขัดอุดกั้นทำให้การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง กลไกพลังในช่องกลางตัว (ซานเจียว) ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำและของเหลวทั่วร่างกายก็ติดขัดไปด้วย ระบบย่อยและลำเลียงอาหาร (ม้าม) มีประสิทธิภาพลดลง กลายเป็นความชื้นตกค้าง ไตกำกับน้ำ ถ้าพลังไตอ่อนแอ การขับระบายน้ำไม่ดี พลังความร้อนในร่างกายน้อย เกิดความชื้นตกค้างในร่างกาย อีกด้านหนึ่งกรณีไตยินพร่อง (ทำให้เกิดความร้อนและแห้งในเซลล์ต่างๆของร่างกาย) ก็จะทำให้ของเหลวเหนียวข้นเป็นเสมหะและเลือดอุดกั้นเช่นกัน ดังนั้น ไขมันในเลือดสูงในความหมายแพทย์แผนจีน คือ เสมหะความชื้น เลือดอุดกั้น ม้ามพร่องเกิดความชื้นเสมหะ มีเลือดอุดกั้นจากพลังตับติดขัด ยินพร่องเกิดเสมหะเลือดอุดกั้น …

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »