บริการ

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีน มองร่างกายเป็นแบบองค์รวม หมายความว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่เกิดเฉพาะส่วน กับร่างกายโดยองค์รวม หรือโรคที่เกิดจากภาวะร่างกายโดยรวมจะมีผลทำให้โรคเฉพาะส่วนรุนแรงขึ้น หรือลดลงได้เช่นเดียวกัน กล่าวถึงโรคมะเร็งอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น มะเร็งปอด ถึงแม้จะเป็นมะเร็งเฉพาะที่ เป็นปัญหาโรคเฉพาะส่วน แต่ก็ส่งผลถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ มีไข้ เจ็บปวด สภาพจิตใจหดหู่ ฯลฯ ในทางกลับกัน คนที่มีภาวะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตกต่ำ ก็เป็นเงื่อนไขให้มะเร็งก่อตัว หรือ กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันการเกิดมะเร็ง หรือการรักษามะเร็งจึงต้องพิจารณาสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขของการเกิดมะเร็ง กับพิจารณาตัวโรคมะเร็งควบคู่กันไปด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งของศาสตร์แพทย์จีน เหตุแห่งโรค แพทย์แผนจีน แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากภายใน และปัจจัยจากภายนอก ปัจจัยภายใน •  ยิน-หยางเสียสมดุล (阴阳失衡) •  อวัยวะภายในจั้งฝู่เสียสมดุล (脏腑失调) • เลือดและพลังเสียสมดุล (气血不和) • พลังเจิ้งชี่ของร่างกายอ่อนแอ (正气虚弱) • ภาวะของอารมณ์ทั้ง ๗ ไม่สมดุล (七情不和) ปัจจัยภายนอก •  พลังชี่ติดขัด …

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม

เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น – กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า – กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม – กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ – เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม – เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย – หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว – คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน” การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น อาหารแสลงหรืออาการต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง 1. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป …

อาหารแสลง อาหารต้องห้าม Read More »

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คำว่า “โรคโคเลสเตอรอลในเลือดสูง” ไม่มีในตำราแพทย์จีนโบราณ ดังนั้นถ้ามาตรวจกับแพทย์แผนจีนแล้วบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาโรคนี้แพทย์จีนจะเน้นไปที่การรักษาสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายในและปรับเรื่องการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลวในร่างกาย ไม่ให้มีการติดขัด บางครั้งจะกล่าวถึงเสมหะ ความชื้น การทำงานของตับและม้ามไม่สมดุล ต้องขับเสมหะชื้น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ไม่ให้อาหารตกค้าง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร สาเหตุไขมันในเลือดสูงในมุมมองแพทย์แผนจีน 1. การรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต : อุปนิสัยการกิน ทำงานหักโหม ขาดการพักผ่อน ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในแปรปรวน เกิดเสมหะความชื้นและเลือดอุดกั้น 2. การทำงานของอวัยวะภายในเสียสมดุล โดยอวัยวะหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ตับ ม้าม ไต พลังตับติดขัดอุดกั้นทำให้การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง กลไกพลังในช่องกลางตัว (ซานเจียว) ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำและของเหลวทั่วร่างกายก็ติดขัดไปด้วย ระบบย่อยและลำเลียงอาหาร (ม้าม) มีประสิทธิภาพลดลง กลายเป็นความชื้นตกค้าง ไตกำกับน้ำ ถ้าพลังไตอ่อนแอ การขับระบายน้ำไม่ดี พลังความร้อนในร่างกายน้อย เกิดความชื้นตกค้างในร่างกาย อีกด้านหนึ่งกรณีไตยินพร่อง (ทำให้เกิดความร้อนและแห้งในเซลล์ต่างๆของร่างกาย) ก็จะทำให้ของเหลวเหนียวข้นเป็นเสมหะและเลือดอุดกั้นเช่นกัน ดังนั้น ไขมันในเลือดสูงในความหมายแพทย์แผนจีน คือ เสมหะความชื้น เลือดอุดกั้น ม้ามพร่องเกิดความชื้นเสมหะ มีเลือดอุดกั้นจากพลังตับติดขัด ยินพร่องเกิดเสมหะเลือดอุดกั้น …

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ?

แพทย์แผนจีน ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการฝันของคนอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ หัวใจเป็นที่พักของสติ ความรู้สึกนึกคิด ในตอนกลางคืนสติและความรู้สึกนึกคิดจะกลับเข้าสู่ หัวใจเพื่อการเลี้ยงบำรุงจากเลือดของหัวใจ จะทำให้เกิดการนอนหลับ แต่ถ้าภาวะของจิตใจว้าวุ่น แปรปรวนมาก สติและความรู้สึกนึกคิดจะไม่กลับมาพักและรับการบำรุงเลี้ยง ทำให้ระบบประสาทตื่นตัวอยู่ มีการฝันเกิดขึ้น ผลที่ตามมาจากการที่ ไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงของเลือดจากหัวใจ ทำให้ขาดความสดชื่น พลังสติปัญญาอ่อนล้า รู้สึกอ่อนเปลี้ย ลักษณะเนื้อหาของการฝันก็พอจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ด้วย กล่าวคือ – คนที่พลังของหัวใจอ่อนแอ มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องเศร้าโศก ฝันเป็นความทุกข์โศก – คนที่ไฟหัวใจแกร่ง มักจะ ฝันเกี่ยวกับเรื่องตื่นเต้น ผจญภัยสนุกสนาน – คนที่ตับ ถุงน้ำดีพร่อง มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องน่ากลัว – คนที่ไฟตับแกร่ง อารมณ์ โมโหง่าย มักจะฝันเกี่ยวกับสิ่งเลวร้าย ฝันร้ายบ่อยๆ – คนที่ไตพร่อง มักฝันเกี่ยวกับทางเพศ ซึ่งอาจจะมีอาการฝันเปียกร่วมด้วย – คนที่ม้ามพร่อง มักฝันถึงการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือทัศนะคติทางด้านลบ – ภาวะของร่างกายสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการฝัน เช่น ถ้ากินอาหารเสียอิ่มแป้ แล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่ากินมากดื่มมาก – ถ้าท้องหิวมากแล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่าอดอยาก หิวโหย – ถ้าห่มผ้าบางเกินไป ในขณะนอนหลับ และมีอากาศหนาวเย็น อาจทำให้ฝันว่าตกน้ำ …

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ? Read More »

รักษาอาการปวด แบบแพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวดการปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง) ตัวอย่างการรักษาอาการปวด– ปวดชายโครงผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนชายโครง แม้ว่าจะมีกระดูกซี่โครงหักหรือไม่ก็ตาม เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณชายโครงย่อมได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดแน่นๆ หายใจไม่สะดวก (ทั้งนี้รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด) ตามแนวชายโครง แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาระงับปวด ยากล่อมประสาท หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ที่มีการกดเจ็บแพทย์แผนจีน : มองว่าเส้นลมปราณ ถุงน้ำดี และตับ ซึ่งเป็นเส้นลมปราณบริเวณด้านข้างลำตัวถูกกระทบกระเทือนทำให้เลือดและพลังติดขัด การรักษาจึงต้องทะลวงการอุดกั้นของเส้นลมปราณให้คล่องตัว อาการปวดจึงจะทุเลา ในทางคลินิกจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะทางอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วย (เพราะการไหลเวียนติดขัดของถุงน้ำดี จะสัมพันธ์กับพลังของตับ)– ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยการผ่าตัดไส้ติ่งหรือถุงน้ำดีทิ้งแพทย์แผนจีน : มองว่าการอักเสบเป็นผลจาก อุดกั้นของของเสียในลำไส้ใหญ่ จนเกิดความร้อน ความชื้นตกค้าง การระบายความร้อนความชื้นของอวัยวะกลวง ลำไส้ใหญ่ และถุงน้ำดี จะทำให้ลดอาการอักเสบ การปวดได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดตามความเชื่อของการแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด– คออักเสบแพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อกับยาแก้ปวดลดไข้แพทย์แผนจีน : นอกจากจะใช้ยาสมุนไพรขับพิษขับร้อนแล้ว คออักเสบมีความเกี่ยวกับเส้นลมปราณปอด การขับความร้อนบนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ (สัมพันธ์กับปอด)ออกโดยการถ่ายอุจจาระหรือระบายความร้อนบนจุดฝังเข็มปลายทางของเส้นลมปราณปอด (จุดซ่าวซาง) ทำให้อาการเจ็บคอและการอักเสบจะทุเลาได้เร็วขึ้น– ปวดประจำเดือนผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ หรือที่อาจถือว่าเป็นธรรมดาของผู้หญิงส่วนใหญ่ แผนปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือนและมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกหดเกร็งตัว เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย แพทย์แผนปัจจุบัน …

รักษาอาการปวด แบบแพทย์แผนจีน Read More »

ข้อสรุป “ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” รักษาโควิด-19 ได้จริงหรือ?

ในมุมมองแพทย์แผนจีน การเกิดโรค อาการ และความรุนแรงของโรค เป็นผลจากการต่อสู้กันของสิ่งก่อโรคที่เข้า่สู่ร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (เจิ้งชี่) การเอาชนะโรคจึงต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเป็นหลัก และป้องการเข้าสู่ร่างกายหรือรีบทำลายเมื่อเชื้อยังมีปริมาณน้อย ช่วงที่สิ่งก่อโรคหรือศัตรูยังไม่ได้บุกเข้าร่างกาย ต้องเน้นการปิดช่องทางเข้าของเชื้อโรค(ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ)และเสริมสร้างปอดและพลังปกป้องผิว (เว่ยชี่卫气) ใช้การบำรุงเป็นด้านหลักเพื่อเตรียมพร้อม ไม่ใช่ไปเน้นการทำลายหรือการต่อสู้กับสิ่งก่อโรค(เพราะเชื้อโรคยังไม่ได้เข้าสู่ร่างกาย) การใช้ยารักษาในการป้องกันจึงไม่มีประโยชน์และจะมีโทษมากกว่า เหมือนยังไม่เป็นมะเร็งแล้วไปกินยารักษามะเร็ง จึงเป็นเหตุผลที่ว่ายารักษาโควิด-19 ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น ยาฟาวิพิราเวียร์หรือฟ้าทะลายโจรหรือยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง ที่มีฤทธิ์ทำลายลดการแบ่งตัวของไวรัส (ขับพิษขับร้อน) จึงต้องใช้รักษาเมื่อมีการติดเชื้อและมีอาการพิษร้อน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแล้ว เกิดปฏิกิริยาการต่อสู้กันระหว่างร่างกายกับสิ่งก่อโรคบางคนไม่มีอาการ บางคนมีอาการไม่มาก บางคนมีอาการมาก หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน แม้ว่าจะต้องให้ความสำคัญมีตัวยาสมุนไพรขับพิษ รวมถึงขับปัจจัยก่อโรคอื่นๆ เช่น ความเย็น ความร้อน ความชื้น เสมหะ แต่ยังต้องให้ความสำคัญในการเสริมภูมิปรับสมดุลควบคู่ไปด้วย การต่อสู้กับโรคโควิด-19 จึงไม่มียาตำรับเดียวที่ครอบคลุมคนไข้ทุกคน จากภาพรวมทั้งหมดยาทั้ง ยาฟาวิพิราเวียร์  ฟ้าทะลายโจร เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง เป็นยาที่เน้นการขับพิษร้อน ขจัดสิ่งก่อโรคเป็นหลัก จึงเหมาะสำหรับใช้เพื่อการรักษาเมื่อมีการติดเชื้อและมีอาการอักเสบ ไอ มีไข้ เจ็บคอ  อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อทันที ทั้งที่ยังไม่มีอาการเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้ ทั้งนี้ยังต้องระมัดระวังอีกด้านหนึ่งคือปัญหาการดื้อยา ผลข้างเคียงของยาและการรักษาที่เกินความจำเป็น การรักษาทางคลินิกแบบแพทย์แผนจีนจึงต้องมีการปรับลดตัวยาในตำรับให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของผู้ป่วย 1. ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง เป็นตำรับยาฤทธิ์เย็น มียาขับพิษขับร้อน …

ข้อสรุป “ยาเหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” รักษาโควิด-19 ได้จริงหรือ? Read More »

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาป้องกันและรักษาโควิด จริงหรือ?

ความจริงก็คือ เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง  (连花清瘟胶囊) ไม่ใช้ในการป้องกันโควิด-19 แต่ใช้ในการรักษาเท่านั้น  อย่าหลงเชื่อการโฆษณาคำกล่าวอ้างว่าสามารถรับประทานทั้งป้องกันและรักษาและสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัยแม้มีโรคประจำตัว วันที่ 2 เมษายน 2563 FDA ของประเทศจีนได้อนุมัติเพิ่มข้อบ่งใช้รักษา COVID-19 ให้กับ Lianhua Qingwen Capsule (เหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูล) อย่างเป็นทางการ โดยเพิ่มข้อบ่งใช้รักษา COVID-19 ในระดับเบา (Mild case) ที่แสดงอาการไข้ อ่อนเพลียหรือไอ และระดับปานกลาง (Moderate Case) ที่แสดงอาการไข้ อ่อนเพลียหรือไอ ร่วมกับปอดอักเสบ(กลุ่มสีเหลือง) ควบคู่กับการรักษาตามมาตรฐานของแผนปัจจุบัน โดยขนาดรับประทาน 4 แคปซูล 3 เวลา นาน 7-10 วัน สำหรับตัวยาส่วนประกอบของ เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง มีด้วยกัน 13 ชนิด ดังนี้ 1. จินหยินฮวา (金银花) ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย รสหอม ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณขับพิษ …

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาป้องกันและรักษาโควิด จริงหรือ? Read More »

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด?

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าของประเทศไทยต้นเดือนสิงหาคม 2564 มียอดคนติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นทะลุ 20,000 คนต่อวัน และตายเกิน 200 คนต่อวัน ซึ่งดูแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้วยการประเมินจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่มีไม่ถึง 10% และการตรวจเชิงรุกหาเชื้อ Covid-19 ด้วย Antigen Kit Test (ATK) และ RT-PCR มากขึ้น โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายค่อนข้างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยแต่เป็นพาหะ สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่น โดยเฉพาะคนใกล้ตัว ครอบครัว ชุมชนที่อยู่กันแออัด ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้สูงอายุโดยเฉพาะคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัวจัดเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง เมื่อติดเชื้อแล้ว มีโอกาสลุกลามไปถึงปอด ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย   ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อมีข่าวผู้ที่เคยได้วัคซีนครบ 2 เข็มแล้วยังติดโควิด โรงพยาบาลมีเตียงไม่พอรองรับ อัตราการครองเตียงในกทม.เต็ม 100% ไอซียูติดลบ มีข่าวผู้ป่วยนอนตายในบ้าน นอนตายข้างถนน คนติดเชื้อในกลุ่มสีเขียวอาการไม่มากต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน(Community Isolation) หรือ Hospitel  หรือโรงพยาบาลสนามตามสถานะและเงื่อนไขของแต่ละคน ยาและสมุนไพรที่ผู้คนเรียกหาในท้องตลาด เมื่อระบบสาธารณสุข บุคคลากรทางการแพทย์เริ่มรับมือไม่ไหวกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น …

“เหลียนฮัวชิงเวินเจียวหนัง” ยาจีนสำเร็จรูปป้องกันและรักษาโควิด? Read More »

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็กพลังหยางค่อยๆ สะสมตัว เด็กเจริญเติบโตมีพละกำลังคล่องแคล่วว่องไว ไม่เหนื่อยง่าย จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย ยังรวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วยแต่ก่อนจะไปศึกษาค้นคว้าหาสิ่งภายนอกมาบำรุงรักษาพลังหยาง ควรกลับมาพิจารณาวิธีการที่เป็นธรรมชาติและประหยัดที่สุด ที่เราสามารถกำหนดและปฏิบัติได้เอง คือ การนอนหลับช่วงเวลาจื่อสือ (子时觉) ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. การเกิดของพลังหยาง เริ่มต้นที่เวลา 23.00 – 01.00 น.ช่วงพลังลมปราณไหลผ่านเส้นลมปราณถุงน้ำดีกลางคืนพลังยินมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเที่ยงคืน ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากพลังยินสูงสุด และการก่อเกิดพลังหยาง พลังหยางจะเก็บสะสมได้มากในภาวะที่สงบที่สุด การตื่นนอนหรือยังไม่หลับ เป็นการใช้พลังหยางทำให้การเกิดสะสมตัวของพลังหยางถูกรบกวน ไม่สามารถสะสมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหมายถึงสต็อกพลังหยางที่จะถูกนำไปใช้ในวันใหม่จะน้อยลง ส่งผลเสียต่อการทำงานในช่วงกลางวันของวันใหม่ ทำให้เหนื่อยง่าย ง่วงนอน …

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2)

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจของแผนปัจจุบัน ถ้าไม่มีอาการหรือการตีบตันของหลอดเลือดน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การตรวจทั่วไปบอกได้ยาก  แต่ถ้ามีอาการ จากการซักถาม และ การตรวจร่างกาย ด้วยตาดู หูฟัง สัมผัสจับชีพจร วัดความดัน สามารถบอกตัวโรคได้ถึง 80%-90%  แต่ก็มีวิธีการหลายอย่างที่จะสามารถช่วยการวินิจฉัยได้ชัดเจนขึ้น •    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)  เพื่อดูการนำไฟฟ้าของหัวใจ และ จังหวะการเต้นของหัวใจ การเดินสายพาน (Exercise Stress Test ) เพื่อดูสมรรถภาพของหัวใจ   •    การเอกซ์เรย์ทรวงอก(Chest X-ray) เพื่อดูขนาดของหัวใจ และเส้นเลือด จากเงารังสี •    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram  เรียกสั้นๆว่า “Echo” เพื่อดูการทำงานของหัวใจแบบเป็นภาพเคลื่อนไหว ดูการวิ่งของกระแสเลือด ดูขนาดห้องหัวใจ และ การทำงานของลิ้นหัวใจ •    การฉีดสี (Coronary Angiogram ) เพื่อดูลักษณะของหลอดเลือดหัวใจที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เพื่อบอกหลอดเลือดตีบกี่เส้น ตีบที่ตำแหน่งไหน •    ตรวจเลือดเพื่อดูสารสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Enzyme ) …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2) Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1)

ข่าวท่าน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ทีมสู้โควิดประเทศไทยเสียชีวิตกระทันหัน ขณะร่วมวิ่งมินิฮาร์ฟมาราธอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ในวันเดียวกันที่จังหวัดระยอง มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ในงานวิ่ง อาสาพาวิ่ง 2020 เส้นทางวิ่งรอบอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง มีนักวิ่งเข้าร่วมแข่งนับพัน ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายเป็นเพศชายอายุ 54 ปี และ 30 ปี ทั้ง 3 คนเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นข่าวสะเทือนขวัญทั้งๆที่ทุกคนเป็นคนรักสุขภาพ ออกกำลังกาย สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease  ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองมาจากมะเร็งและอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหัวใจที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ปีพ.ศ. 2557 มีรายงาน โรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน  แนวโน้มของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1) Read More »

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ

เรามักจะเจอคนบางคนมีอาการ นั่งที่ไหนก็ง่วงหลับที่นั่น ทั้งๆที่ไม่ได้อดหลับอดนอนมา หลับแล้ว ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ ยังอยากจะหลับต่อ คนที่มีลักษณะเช่นนี้มักไม่ค่อยจะสดชื่น มีแต่ความรู้สึกอยากจะนอนทั้งวัน แต่มักจะตื่นง่าย หลังจากตื่นก็ขอนอนหลับต่อ ทางการแพทย์แผนปัจจุบันถือว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาท (การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ) ลักษณะแบบนี้ อาจพบได้ในคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ตัวร้อนเรื้อรัง ทำให้อ่อนเพลีย ต้องการพักผ่อน หรือระยะที่โรคกำลังรุนแรง ในที่นี้จะกล่าวถึงคนปกติที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ชอบง่วงเหงา หาวนอนเป็นประจำ แพทย์แผนจีนมองว่า การนอนหลับเป็นภาวะยิน การตื่นนอนเป็นภาวะหยาง คนที่ง่วงนอนแสดงว่ายินแกร่ง (ยินเกิน) เพราะภาวะของหยางพร่อง (หยางขาด) ภาวะของหยางพร่อง มาจากการทำงานของม้ามน้อยลง ทำให้มีการอุดกั้นของเสมหะ และความชื้น หรือภาวะอุดกั้นของเสมหะและความชื้นทำให้พลังม้ามพร่อง มักจะพบในคนที่อ้วนได้บ่อยกว่าคนผอม เพราะในคนอ้วนถือว่ามีการสะสมไขมัน (เสมหะหรือความชื้น) ในร่างกายมาก ยิ่งถ้ากินอาหารอิ่มใหม่ๆ ระบบย่อยอาหาร หรือกระเพาะอาหารมักต้องทำงานหนัก พลังของม้ามจะอ่อนเปลี้ย ความอยากนอนจึงมัก เกิดได้ง่าย (ทางแพทย์แผนปัจจุบัน มองว่าขณะย่อยอาหาร เลือดจะไปเลี้ยงสมองน้อยลง ทำให้หนังท้องตึง หนังตาหย่อน) และสำหรับคนผอมก็มีสิทธิ์จะง่วงนอนผิดปกติได้หมือนกัน ถ้าอยู่ในภาวะที่เจ็บไข้เรื้อรังหรือร่างกาย อ่อนเพลีย ที่ทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมไม่ดี เป็นภาวะที่พลัง ทั่วร่างกายพร่องเลือดก็จะไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ง่วงนอนได้ง่าย …

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ Read More »

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病)

หากจะกล่าวถึงเหตุแห่งโรคกรดไหลย้อนในมุมมองของแพทย์แผนจีน สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. การรับประทานอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีมื้ออาหาร อยากกินเมื่อไรก็กินตอนนั้น เช้าไม่กิน ดึกกินมาก (饮食不当) ทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ทำงานไม่ปกติ 2. ปล่อยให้หิวเกินไปหรือกินอิ่มเกินไป (饥饱失常) เพิ่มภาระและสร้างความสับสนกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย 3. อารมณ์เครียด – กังวล จะทำร้ายกระเพาะอาหารและม้าม (忧愁思虑伤及脾胃) การครุ่นคิดมากเกินไป ทำให้พลังรวมศูนย์ไม่กระจาย การระบายพลังของตับเกิดการติดขัด ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม 4. การชอบรับประทานอาหารไม่สุก ฤทธิ์เย็น จะทำให้หยางของม้ามพร่อง เนื่องจากม้ามชอบความแห้งไม่ชอบความชื้น (喜燥恶湿) ชอบความอุ่น ไม่ชอบความเย็น (恶凉喜温) 5. การที่ช่องว่างส่วนกลางร่างกาย (จงเจียว中焦) ได้รับความเย็นจากอาหารหรืออากาศ จนเกิดภาวะเย็นพร่อง (虚寒) ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม เกิดการตกค้างเกิดเป็นความชื้นและเสมหะ และย้อนกลับขึ้นด้านบนไปทางหลอดอาหาร 6. คนที่ไตหยางอ่อนแอ 肾阳虚亏 (ไตหยางเป็นการทำหน้าที่ของไตในการให้พลังอุ่นร้อนเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย) จะทำให้การทำงานทุกอวัยวะลดน้อย รวมถึงการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม การวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค ในการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค …

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) Read More »

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

“ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด”

การดูแลม้ามและกระเพาะอาหารจัดเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้