เคล็ดลับสุขภาพ

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับนาฬิกาชีวิต เชื่อว่าภายในร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมโดยตารางเวลาที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน ทำให้การเคลื่อนไหวระบบการทำงาน สรีระของร่างกายก็มีจังหวะกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น ความดันเลือด อุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ช่วงสูงสุดต่ำสุดของการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เรียกว่า “กฏเกณฑ์แห่งชีวิต” การดูแลสุขภาพกับนาฬิกาชีวิตเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ถ้าปราศจากลักษณะมีกฎเกณฑ์ ก็ปราศจากการมีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าดำเนินชีวิตโดยไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามนาฬิกาชีวิต ก็เป็นการทำลายสุขภาพ (ชีวิต) การเคารพวิถีแห่งการดำเนินไปของธรรมชาติ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพ ซึ่งตรงกับแนวคิดของเล่าจื๊อ”เป็นธรรมชาติแห่งวิถีเต๋า” นั่นเอง มีการศึกษาวิจัยพบว่านาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 อย่างหรือฎเกณฑ์ตารางการทำงานของระบบต่างๆ สามารถกำหนดได้เป็นช่วงเวลา สั้นบ้าง ยาวบ้าง เป็นหลายแบบ เช่น– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เป็นรอบวัน เรียกว่า นาฬิกาประจำวัน– กฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบเดือน เรียกว่า นาฬิกาประจำเดือนนอกจากนี้ยังพบว่ามี นาฬิกาประจำปีและนาฬิกาของอายุขัยซึ่งเป็นนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุด ที่กำหนดวัฏจักรแห่งการเกิด-เติบโต-สูงสุด-แก่-ตาย ซึ่งในทางธรรมชาติแล้ว ถ้ามนุษย์ ปฏิบัติตัวตามกฎเกณฑ์แห่งนาฬิกาชีวิต จะสามารถมีอายุขัยถึง 120 ปี เคล็ดลับการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวตามกฎเกณฑ์ ของนาฬิกาชีวิต คืออะไร ข้อกำหนดระดับสากลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพล่าสุดกล่าวไว้ 2เงื่อนไข 1. การวางแผนการดำเนินชีวิตต้องมีความรู้ มีจุดมุ่งหมายในการกำหนดการเคลื่อนไหวในกิจกรรมของชีวิต โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ 2. …

นาฬิกาชีวิต กับวิถีแห่งธรรมชาติ Read More »

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ

ร่างกายคนเราต้องการสารอาหารที่ได้สมดุล เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะภาวะปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะคนเมือง) ได้รับอาหารประเภทไขมัน แป้ง เกลือ เนื้อสัตว์ทำให้ขาดเส้นใย ผัก ผลไม้ วิตามิน แร่ธาตุ ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน โรคความเสื่อม นอกจากนี้อุปนิสัยและความเคยชินหลายอย่างก็มีผลต่อการขาดสารอาหาร คนที่ดื่มเหล้า เหล้า 1 กรัมทำให้ร่างกายเสียพลังงาน 7 แคลอรี โดยไม่ได้ให้คุณค่าของสารอาหารเลย  เหล้าทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินบี ซี สังกะสี แมกนีเซียม โพแทสเซียม เหล้าทำลายตับ ทำให้พิษสะสมในร่างกายมากขึ้น ทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือโรคมะเร็งง่ายขึ้น คนสูบบุหรี่บุหรี่มีผลระคายเคืองต่อปอด เพิ่มความเสี่ยงของ โรคมะเร็งโดยตรงและทางอ้อม การสูบบุหรี่ทำให้ความต้องการสารอาหารพวกวิตามินบี12 กรดโฟลิก วิตามินซี และอี ซึ่งเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระมากขึ้น เพราะต้องไปต่อสู้กับความเสื่อมของ เนื้อเยื่อ และการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระที่ทำลายเนื้อเยื่อ ต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าบีตาแคโรทีนในคนสูบบุหรี่จะต่ำกว่าคนทั่วไปอีกด้วย คนดื่มกาแฟ  ชาการดื่มกาแฟและชา โดยเฉพาะก่อนหรือหลังอาหาร ๑ ชั่วโมงจะมีผลลดการดูดซึมธาตุเหล็กถึงร้อยละ 80 การดื่มกาแฟปริมาณมากจะทำให้แคลเซียมถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น  ทำให้กระดูกพรุน การเตรียมอาหารการล้าง การปรุง การเก็บเกี่ยว …

ทำไมต้องมี? อาหารเสริมสุขภาพ Read More »

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค

สารพฤกษเคมี (phytochemical) ที่พบในผักและผลไม้ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคของร่างกาย โดยเฉพาะผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน แต่ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาวิจัยเสียก่อน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยอาหาร-สมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค1. มะระสารสกัดน้ำมะระมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เชื่อว่าสารเพปไทด์ในมะระจะมีฤทธิ์เช่นเดียวกับอินซูลิน   การออกฤทธิ์คล้ายกับยา metformin (metfron) 2. อบเชยมีองค์ประกอบของไฮดรอกซี-ซาลโคน มีผลยับยั้ง เอนไซม์ ทำให้การยอมรับต่ออินซูลินของเซลล์ดีขึ้น 3. กระเทียมมีสารสำคัญคือ ajoere ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเลือด 4. เจียวกู่หลาน (ชาสตูล หรือปัญจขันธ์)มีสารสำคัญคือ ไตรเทอร์พีน มีโครงสร้างคล้ายกับจินเซนโนไซด์ (พบในโสม) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของหลอดเลือดและลดไขมันในเลือด 5. เห็ดหลินจือเห็ดหลินจือ (เห็ดหมื่นปี) ทางแพทย์จีนระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้อายุยืน ช่วยนอนหลับ สารสำคัญคือ โพลีแซ็กคาไรด์ A B C D E G H และอื่นๆ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบและป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี เป็นต้น 6. ถั่วเหลืองการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า การกินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน และไปเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเป็นมะเร็งปอด ต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร …

การศึกษาวิจัย อาหารและสมุนไพร เพื่อนำมารักษาโรค Read More »

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือด

“ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน CO-RED (โค-เรด)เกิดจากการบูรณาการประสบการณ์ทางคลินิก การค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์และเภสัชกรรมแผนปัจจุบันแผนจีน ผสานกับเทคโนโลยีตะวันตก ภายใต้การควบคุมการผลิตและระบบการจัดการบริหารคุณภาพระดับมาตรฐานสากล CO-RED (โค-เรด) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้รักและใส่ใจการดูแลสุขภาพ” สรรพคุณ 3 in 1 เพื่อควบคุมไขมันในเลือดรวมทั้งการดูแลหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว(LDL) เสริมพลังการทำงานของหัวใจ ด้วย Coenzyme Q 10 กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ป้องกันการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ด้วยสารสกัดอาหารสมุนไพรที่มีการใช้กันมายาวนานและมีความปลอดภัยสูง  ทำไมต้อง CO-RED อะไรคือความแตกต่าง? สรรพคุณ 3 in 1 เพื่อควบคุมไขมันในเลือดรวมทั้งการดูแลหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว(LDL) เสริมพลังการทำงานของหัวใจ ด้วย Coenzyme Q 10 กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ป้องกันการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ด้วยสารสกัดอาหารสมุนไพรที่มีการใช้กันมายาวนานและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับและไต หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อ สามารถใช้ในการควบคุมไขมันในเลือด แทนยากลุ่มStatin ในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ รวมถึงโรคสมองเสื่อม มีผลการวิจัยทางการแพทย์และประสบการณ์ในทางคลินิกยืนยันได้ผลจริง ใช้สารสกัดคุณภาพ ทันสมัย ปลอดภัย มาตรฐานยุโรปและตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ควบคุมการผลิตโดยโรงงานมาตรฐานของไทยที่ผลิตสินค้าให้ต่างประเทศ ผ่านการรับรองให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก อย. ของประเทศไทย มีส่วนผสมอาหารสมุนไพรจีนสกัดที่ป้องกันการเกาะตัวของเลือด กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและช่วยระบบย่อยอาหาร เลือก Red yeast rice คุณภาพในกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานส่งออกยุโรป มีส่วนผสม Coenzyme Q 10 ในผลิตภัณฑ์ ควบคุมตรวจสอบระดับปริมาณ Citrinin และเชื้อราปนเปื้อนตามมาตรฐานสากล ข้อควรระวังในการบริโภค CO-RED 1. ผู้ป่วยโรคตับ2. ผู้ป่วยโรคไต3. สตรีตั้งครรภ์ สตรีระหว่างให้นมบุตร4. ห้ามรับประทานร่วมกับยาลดไขมันกลุ่ม Statin ยาต้านเชื้อรา ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคเอดส์5. คนที่แพ้เชื้อรา ใครบ้างที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ CO-RED   ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง รับประทานยาเคมีแล้วมีผลข้างเคียง   ผู้ป่วยที่ต้องการลดไขมันด้วยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ   คนที่ต้องการดูแลหลอดเลือดให้สะอาด แข็งแรง ยืดหยุ่น   คนที่ต้องการป้องกันภาวะสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีอะไรใน CO-RED Red Yeast …

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการดูแลหัวใจและหลอดเลือด Read More »

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน

โรคโควิด-19 ในทางแพทย์แผนจีนตามทฤษฎี《温疫论》เรียกว่า อี้ปิ้ง “疫病” สิ่งก่อโรคคือ พิษร้อน และพิษชื้น เป็นหลัก (热毒和湿毒为主) พยาธิสภาพเกี่ยวข้องกับ ความชื้น ความร้อน พิษ เลือดคั่ง ความแห้ง เสมหะ ภาวะพร่อง เมื่อสิ่งก่อโรคพิษร้อนชื้น(ไวรัสโควิด-19) โจมตีจากภายนอกระดับเว่ย 卫 (ผิวภายนอก) เข้าสู่ระดับชี่ 气 (มีไข้ ปวดเมื่อยตัว) และสู่ระดับลึกอิ๋งเซวี่ย 营血 (เข้าสู่ปอดและอวัยวะภายใน) ที่ทำให้มีอาการปอดบวม(ปอดร้อนชื้น) เกิดลิ่มเลือดอุดตัน(เลือดคั่ง) เกิดอาการช็อค หมดสติ (พิษร้อนเข้าเยื่อหุ้มหัวใจ-หัวใจ) ผู้ป่วยระยะรุนแรงและภาวะวิกฤติ อาการของ Long COVID มาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและความรุนแรงของโรค เมื่อได้รับเชื้อโควิด-19 บางคนอาจไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย บางคนอาจมีอาการหนักปานกลาง บางคนอาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต แพทย์แผนจีนมองว่ามาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและเจิ้งชี่ (正气 พลังพื้นฐานของร่างกาย)ในการต่อสู้กับเสียชี่ (邪气 สิ่งก่อโรค)  ทำให้ผู้ป่วยมีหลายอาการและหลายอาการแสดงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีการใช้แนวทาง หลักการ วิธีการ และตำรับยาที่ใช้รักษาแตกต่างกัน 1.  ลักษณะเบาหรือทั่วไป (轻型及普通型) …

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต

หัวใจกับไต เป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าต้องการรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตและรากฐานของไตให้แข็งแรง จำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างหัวใจกับไต โดยทำให้หัวใจและไตทำงานเชื่อมประสานกัน เทคนิคง่ายๆ ในการเชื่อมประสาน หัวใจ กับ ไต 1. การนอนหลับในช่วงเวลา 23.00 – 1.00 น.(子时睡觉) การนอนหลับในช่วงเวลานี้  ซึ่งเป็นช่วงที่พลังยินมากที่สุด  จะเป็นการเสริมธาตุน้ำ และควบคุมธาตุไฟ (หัวใจ) ไม่ให้มากเกินไป  ถ้าไม่นอนหลับในช่วงเวลานี้  พลังงานหยางจะไม่ถูกควบคุม   เมื่อเลยเวลาเที่ยงคืนไปมากเท่าไร  การควบคุมพลังหยางก็ยิ่งจะยากขึ้น ขณะเดียวกันการเสริมพลังยิน (พลังไต – ธาตุน้ำ) ก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำกับไฟแยกตัวได้ง่าย ไฟจะสะสมอยู่ด้านบน, น้ำจะสะสมอยู่ด้านล่างดังนั้นการครุ่นคิด, การทำงานกลางดึก, อยู่เวรดึก, ดูหนังดึกๆ ไม่นอนหลับตอนกลางคืน  จึงเป็นการทำลายความสมดุลของไตและหัวใจ 2. การงีบหลับสั้นๆตอนกลางวัน ช่วง 11.00 – 13.00 น.(午时要小睡) ช่วงเวลานี้เป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงจากพลังหยางสูงสุดเป็นจุดเริ่มต้นพลังยิน (หลังเที่ยงวันความเย็นความมืดเริ่มเข้าแทนที่ความร้อนความสว่าง)ช่วงเวลาดังกล่าว พลังหยางของร่างกายจะกระจายตัวออกนอกขึ้นบนมากที่สุด วิธีป้องกันการสูญเสียพลังคือการยับยั้งพลังไม่ให้ถูกใช้ต่อเนื่องมากเกินไป  ยังเป็นการสงบพลังขึ้นด้านบนและทะนุถนอมการสูญเสียยิน (ความเย็นของร่างกาย) ไปในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นช่วงเวลาของการเสริมยินลดการสูญเสียพลังหยางที่สำคัญอีกช่วงเวลาหนึ่ง การปิดตา  …

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต Read More »

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน

สำหรับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกันของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารทำหน้าที่รับและย่อยอาหารและส่งไปลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนได้สารจำเป็น และแยกแยะอาหารที่ถูกย่อยแล้วในสิ่งที่ดี (ใช้ได้) กับสิ่งที่ข้น (ใช้ไม่ได้) ส่วนดีจะถูกส่งไปที่ม้าม ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย ส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าขับอุจจาระและควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำ กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความแห้งชอบความชื้น(恶燥喜润) ไม่ชอบร้อนชอบความเย็น(恶热喜凉) ไม่ชอบการสะสมแต่ชอบการระบายลงล่าง(恶积喜降) ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ของม้าม หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหารมี 3 อย่างคือ รองรับอาหารและน้ำ (主受纳) เสมือนขุนนางที่ทำหน้าที่ดูแลเก็บกักอาหารเสบียงกัง (仓廪之官,主纳水谷) เป็นที่เก็บอาหารที่ผ่านการเคี้ยวในปาก และเดินทางผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจึงเป็นเสมือนทะเลของน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไป 胃为“水谷之海”ถ้าลมปราณกระเพาะอาหารจะทำให้เก็บกักอาหารเพื่อทำการย่อยเบื้องต้นได้ดี มีความอยากอาหาร ทานอาหารได้มาก การย่อยอาหาร กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับต้นๆ (腐熟水谷) เพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ควบคุมการไหลลงของพลังสู่ด้านล่างในการขับเคลื่อนอาหารและการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อการย่อยที่ลำไส้เล็กและการขับถ่ายที่ลำไส้ใหญ่ เป็นการสร้างสมดุลของพลังแกนกลางของร่างกาย โดยทำงานคู่กับพลังของม้ามที่มีทิศทางขึ้นบนเพื่อส่งลำเลียงสารจำเป็นไปอวัยวะปอด ม้าม ม้ามถือเป็นต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต โบราณกล่าวว่า “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” 故称脾胃为“后天之本” ทำหน้าที่ควบคุมเลือด พลังลมปราณ ม้ามเป็นธาตุดินมีความเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ตำราแพทย์จีนโบราณได้บันทึกรูปร่างของม้าม มีลักษณะโค้งแบนเหมือนเคียว คล้ายกายวิภาคของตับอ่อนในแผนปัจจุบัน ม้ามในความหมายแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ในการควบคุมเลือด สร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร การดูดซึม ลำเลียงอาหาร อวัยวะม้ามจึงมีหมายถึงครอบคลุมถึงม้ามและตับอ่อน รวมถึงลำไส้เล็กด้วย …

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน Read More »

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน”

“ความฝันของคน เมื่อมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง คือการมีสุขภาพที่ดีและถ้าสามารถซื้ออายุคืนกลับมาได้สัก ๑๐-๒๐ ปี จะเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด” “ดาราหรือชนชั้นสูงที่มีเงิน มักจะใฝ่หาวิธีการชะลอความแก่ ทำให้ใบหน้าอ่อนวัยอยู่เสมอ เช่น ชาลี แชปลิน (Charies Chaplin), มาดามไอเซนเฮาว์ (Dwignt mamie Eisenhower), วินสตัน เชอร์ชิลล์   (Winston Churcill), เจ้าหญิงไดอานา, โรเบิร์ต เคเนดี้ ล้วนได้ผ่านการรักษาด้วยการฉีดสารสกัดจากรกแกะ จาก ดร.พอล ไนฮาน (Dr. Paul Neihans) สวิตเซอร์แลนด์ “ มีความเชื่อเรื่องของรก โดยเฉพาะรกคน ว่าเป็นยาอายุวัฒนะมีมานานกว่า ๒,๐๐๐ ปี (ดูหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๓๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙) เนื้อหาต่อไปนี้เป็นผลการวิจัยสมัยใหม่ที่มีนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์หลายท่านได้รับรางวัลโนเบล เกี่ยวกับการสกัดสารที่สำคัญและเซลล์ตั้งต้น (Stem cell) จากรกอันเป็นพื้นฐานของการรักษาโรคด้วยการใช้เซลล์รักษาเซลล์ (Cell therapy) รกมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน …

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน” Read More »

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (1)

“เธอดูหน้าตาขาวซีดจัง ควรบำรุงด้วยโสมตังกุยจั้บ”Ž“ผู้หญิงหลังคลอดเสียเลือดมาก ต้องกินยาบำรุงเลือด”Ž“ดิฉันมือเท้าเย็นง่าย เล็บขาวซีด ใจสั่น นอนไม่หลับ หลับแล้วฝันไม่หยุด ไปหาหมอจีน หมอบอกว่าเป็นเพราะเลือด ไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ”Ž“ดิฉันแขนขาชา เป็นตะคริวบ่อย ตาแห้งมองไม่ชัดตอนกลางคืน หมอจีนบอกว่าเป็นเพราะเลือดไปเลี้ยงตับไม่ดีพอ”Žเรื่องของเลือด ในความหมายของแพทย์แผนจีนคืออะไรเลือดคือของเหลวข้นสีแดงที่อยู่ในหลอดเลือด เป็นส่วนประกอบของร่างกายและเป็นตัวหล่อเลี้ยงพื้นฐานให้กับการดำรงอยู่ของชีวิตเลือดจะต้องไหลเวียนคล่อง และไหลอยู่ในหลอดเลือด และตัวเลือดเองต้องเป็นเลือดที่มีคุณภาพ เลือด เกิดได้อย่างไร เลือดที่มีคุณภาพดีเกี่ยวข้องกับอะไรเลือดเกิดจากอาหารที่ได้รับการย่อยดูดซึม และแปรเปลี่ยนเป็นหยิงซี่  และจินเย่ หยิงซี่  เป็นส่วนสุดยอดที่ดีที่สุดของสารอาหารที่เกิดจากการย่อยดูดซึมและกลายเป็นส่วนของเลือดเพื่อนำไปบำรุงเลี้ยงร่างกายจินเย่  คือส่วนของสารน้ำ ของเหลวในร่างกาย ที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่หลอดเลือดได้เลือดที่ดีมีคุณภาพมาจากปัจจัยหลายประการ คือ1. อาหารที่กินเข้าไป2. การทำงานหรือพลังของม้ามและกระเพาะ-อาหาร ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร รวมทั้งแปรเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นเลือด3. การทำงานของปอด ที่จะทำให้เลือดเป็นเลือดที่สดและสะอาด4. การทำงานของไต ไตมีหน้าที่เก็บจิง  (ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติและการหลั่งสาร คัดหลั่งฮอร์โมน เอนไซม์) ไตสร้างไขกระดูก  (ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง) ดังนั้น คนที่ซีดเนื่องจากเลือดมีปัญหา จึงต้องพิจารณาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ ว่าอะไรเป็นสาเหตุหลัก ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดในทางศาสตร์แพทย์ แผนจีนได้แก่อะไรบ้าง1. ภาวะเลือดพร่อง2. ภาวะเลือดอุดกั้น3. ภาวะเลือดร้อน4. ภาวะเลือดเย็น5. ภาวะเลือดแห้ง6. ภาวะเลือดและพลังพร่อง7. ภาวะพลังพร่องทำให้เลือดอุดกั้น ภาวะเลือดพร่องมีความหมายอย่างไร มีอาการและอาการแสดงออกอย่างไรภาวะเลือดพร่อง เป็นภาวะการขาดเลือด …

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (1) Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »

“กินเจ” เพื่ออะไร?

คำว่า “เจ” 斋 ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า “อุโบสถ” คำว่า “กินเจ”吃斋  ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ “อุโบสถศีล” หรือ “รักษาศีล 8” จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก “การไม่กินเนื้อสัตว์” ไปรวมกันคำว่า “กินเจ” ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า “กินเจ” ฉะนั้นความหมายก็คือ “คนกินเจ” มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน เช่นนี้แล้วจึงจะเรียกว่า ถือศีลกินเจ จึงเป็นการ”กินเจที่แท้จริง” ร้านขาย “อาหารเจ” เราจะพบเห็นตัวอักษร 斋 คำนี้อ่าน “ไจ” (เจ) แปลว่า “ไม่มีของคาว” เขียนด้วยสีแดงบนพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนบนธงสีเหลือง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล …

“กินเจ” เพื่ออะไร? Read More »

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว

ฤดูหนาว เป็นอีกหนึ่งฤดูที่มักส่งผลกระทบถึงปัญหาสุขภาพหลายประการ ทั้งไอ จาม เป็นไข้ เป็นหวัด รวมถึงภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถือเป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่ง 1. ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น (多点水) การดื่มน้ำอุ่นมากพอจะช่วยทำให้อุ่นภายในร่างกาย และทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง ป้องกันความแห้งจากอากาศ ปริมาณน้ำต่อวันควรอยู่ที่ 2 – 3 ลิตร 2. ให้เหงื่อออกเล็กน้อย (出点汗) การเคลื่อนไหวควรให้อยู่ในระดับที่เรียกเหงื่อก็พอ หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป จะเสียเหงื่อเสียพลังที่สะสมอยู่ ทำให้ขัดหลักการถนอมพลังหยางและทำให้รูขุมขนเปิด เสียชี่ (ปัจจัยก่อโรค) เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย 3. สนใจป้องกันโรค (防点病) ควรป้องกันและรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ ระวังหลีกเลี่ยงลมแรง และการแปรปรวนของอุณหภูมิที่รวดเร็ว ในช่วงนี้ปัจจัยก่อโรคได้แก่ ลม ความเย็น และความแห้ง ต้องป้องกันเสียชี่เหล่านี้ให้ดี (ทางแผนปัจจุบันจะพูดถึงเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด หัด หัดเยอรมัน ฯลฯ ) ควรเตรียมยาฉุกเฉินประจำตัว โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจไว้ให้พร้อม 4. ปรับอารมณ์และจิตใจ (调点神) ฤดูกาลนี้คนมักจะเฉื่อยชา เพราะพลังธรรมชาติหดตัวเก็บสะสมตัว กระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกายก็น้อยลง สภาพทางจิตใจก็จะหดหู่ เก็บกด …

10 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพในฤดูหนาว Read More »

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน เป็นทั้งยาสมุนไพรที่ใช้บ่อยและเป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรส ที่ต้องมีไว้ประจำครัวเรือนขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้เสนอว่า “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” ท่านเชื่อว่าบรรดาผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด สามารถทำให้มีชีวิตชีวา ขจัดของเสียในร่างกาย ขงจื๊อเป็นคน มณฑลซานตุง ปัจจุบันที่เมืองไหลอู๋ของซานตุง มีโรงงานผลิตเหล้าขิง ที่มีชื่อ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อของขงจื๊อได้รับการสืบทอดต่อกันมา ซูตงปอ กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้เขียนบทกวี “ตงปอจ๋อจี้” พูดถึงพระที่วัดเฉียนถางจิ้ง แห่งเมืองหางเจ่า ซึ่งมีอายุกว่า ๘๐ ปี มีใบหน้า อันอิ่มเอิบ สุขภาพแข็งแรง ได้คำตอบจากพระท่านนั้นว่า” ท่านฉันขิงมากว่า ๔๐ ปี ท่านจึงไม่แก่” ซูตงปอจึงมีความเชื่อว่าขิงคือยาอายุวัฒนะดีๆ นี่เอง ความเชื่อของคนจีนต่อขิงมีมากมาย เช่น“ เดือนสิบมีขิงคือโสมน้อยๆ นั้นเอง”” ชา ๑ แก้ว ขิง ๑ แว่น ขับลมบำรุงกระเพาะดีนักแล”” ตื่นนอน ขิง ๓ แว่น ไม่แพ้ซุปใส่โสม”” ทุกวันกินขิง ๓ แว่น ไม่ต้องรบกวนหมอสั่งยา”ความเชื่อเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปในหมู่ประชาชน เป็นภูมิปัญญาที่ยึดถือเป็นหลักการดูแลสุขภาพ …

“ขิง” ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

หวีผม เพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันจุดมุ่งหมายในการหวีผม มักมุ่งเน้นเพื่อให้เส้นผมมีระเบียบเรียบร้อย ไม่เกะกะรุงรัง ทำให้ดูสวยงามเป็นสำคัญ ภูมิปัญญาโบราณของแพทย์จีนให้ความสำคัญเกี่ยวกับหนังศีรษะ ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งให้อาหารกับเส้นผม การฝังเข็ม การนวด การฝึกพลังชี่กง ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค จะมีจุดฝังเข็มบนหนังศีรษะเกี่ยวข้องด้วยเสมอ การหวีผมด้วยหวีที่ทำด้วยไม้ ได้ถูกพัฒนาเป็นวิธีการดูแลสุขภาพอย่างง่ายวิธีหนึ่ง กล่าวกันว่า สมัยราชวงศ์ซ่ง นักวรรณคดีชื่อ ซูตงพอ หลังตื่นนอนจะต้องหวีผม ๒๐๐-๓๐๐ ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นสมอง เพิ่มความมีชีวิตชีวา ทำให้อายุยืนยาว สมัยราชวงศ์ชิง หวู่ซ่างเซียน ได้บันทึกไว้ในหนังสือหลี่หลุนเผียนเหวิน “การหวีผมเป็นการกระจายลม ขจัดไฟออกจากร่างกายความหมายและหลักการ “หวีผมเพื่อสุขภาพ” อุปกรณ์ หวีผมเพื่อสุขภาพจะต้องใช้หวีที่ทำด้วยไม้เท่านั้น (สมัยโบราณนิยมไม้ของต้นท้อ) ห้ามใช้หวีพลาสติก หรือหวีที่ทำด้วยโลหะ  เวลาที่หวี – หลังตื่นนอนตอนเช้า– หลังตอนพักเที่ยง– ก่อนนอนกลางคืน  วีธีการ– หวีจากบริเวณหน้าผากผ่านกึ่งกลางศีรษะมาที่ท้ายทอย– เริ่มต้นใหม่ ให้หวี 20-30 ครั้งต่อนาที ช้าๆ แล้วค่อยเพิ่มความถี่ เร็วขึ้นกำลังที่ใช้ปานกลางพอเหมาะ ไม่ขูดรุนแรงจนผิวหนังถลอก  หวีเพื่อการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3-5 นาที  หวีเพื่อการรักษาโรค วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที …

หวีผม เพื่อสุขภาพ Read More »

สมุนไพรจีน บำรุงยิน

ความรู้สึกเป็นไข้ตอนบ่าย ร้อนบริเวณแก้ม เหงื่อออก เวลากลางคืน ร้อนฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณทรวงอก ปากคอแห้ง ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นน้อย หรือลิ้นเลี่ยน ชีพจรเบาเร็ว อาการเหล่านี้คนจีนเรียกว่า อิมฮือ อิมฮือ หมายถึง ภาวะเลือด ภาวะยินพร่อง ที่รวมถึงสารจิงไม่พอ เสียสารน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะยินไม่สามารถควบคุมหยาง เกิดอาการแสดงออกของ ยินพร่อง มีความร้อนภายในร่างกาย (เนื่องจากหยางในร่างกายแกร่ง เพราะยินในร่างกายน้อยกว่าปกติ) สาเหตุที่มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นเพราะตอนกลางวันพลัง ปกป้องผิวมักจะอยู่บริเวณส่วนนอก กล้ามเนื้อและผิวหนัง เมื่อตกกลางคืน พลังเหล่านี้จะลดลง ความร้อนภายในร่างกายที่สะสมอยู่จะระบายเหงื่อ และความร้อนสู่ภายนอก โบราณเรียกว่า “เหงื่อที่ระเหยจากกระดูกส่วนลึกของร่างกาย” เป็นลักษณะเด่นของภาวะยินพร่อง ภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย เช่น เสียเหงื่อมาก ไข้สูงเรื้อรัง ท้องเสีย ฯลฯ ภาวะเช่นนี้จะทำให้เกิดภาวะแห้ง ภายในร่างกายเนื่องจากสูญเสียน้ำและของเหลว มักพบอาการคอแห้งริมฝีปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะน้อยสีเข้ม อุจจาระแห้งแข็ง ฯลฯ ระยะแรกของยินพร่องเป็นภาวะขาดสารน้ำแล้วมีภาวะแห้ง มักมีอาการที่ปอด กระเพาะอาหาร ระยะ หลังของยินพร่องมักมีภาวะร้อน …

สมุนไพรจีน บำรุงยิน Read More »