การดูแลสุขภาพ

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็วก็โรคมะเขือเผาทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร 5 ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในทรรศนะแพทย์จีน 1. เพศสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาว ตามหลักทฤษฎียิน-หยาง ชายเป็นหยาง หญิงเป็นยิน  การมีเพศสัมพันธ์คือการปรับสมดุลยิน-หยาง การเสริมยิน บำรุงหยาง ทำให้อายุยืน นาน “หญิงบำรุงชาย ชายบำรุงหญิง” 2. “เพศสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ แต่มากเกินก็ไม่ได้ “อาหาร และความต้องการทางเพศ เป็นสิ่งพื้นฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” แพทย์จีนชื่อ เก๋อหง สมัยจิ้น ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน กล่าวไว้ว่า “คนเรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากการแลก- เปลี่ยนยิน-หยาง จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เก็บกด จะทำให้เกิดโรค ชีวิตจะสั้น”  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการควบคุม เหมือนใบมีดที่จะเฉือนถึงกระดูก จะทำลายชีวิต เป็นข้อความบันทึกไว้ในตำราพิชัยสงคราม “ยิน-ฝู่จิง” เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปี …

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับ 7 อาหาร ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) หรือโสมภูเขา  ( 山人参 ) สรรพคุณ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดต้านมะเร็ง ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสมอง  สูตรการทำอาหารง่ายๆ โดยใช้ เก๋อเกิน 30 กรัม, ข้าวสาร 50 กรัม เอามาทำข้าวต้ม …

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง Read More »

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางสรีระและลักษณะธรรมชาติ ส่งผลให้แนวโน้มการเกิดโรคก็ต่างกัน  จุดอ่อนก็ต่างกัน  ทำให้การดูแลสุขภาพแตกต่างกันด้วย 1. ป้องกัน “มดลูกเย็น” 防子宫寒 มดลูก เป็นบริเวณที่พลังยิน (ความเย็น) มากที่สุดของร่างกาย บริเวณนี้เกลียดกลัวความเย็น  โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน  ยิ่งต้องระมัดระวังป้องกันการกระทบความเย็นเป็นพิเศษ  ต้องรักษาความอบอุ่น   การดื่มน้ำเย็น  น้ำชา  น้ำมะพร้าว  จะทำให้พลังความเย็นลงสู่ด้านล่าง ทำให้ภาวะความเป็นยินมากขึ้น ทำให้มดลูกเย็น มีตกขาว  ปวดประจำเดือน  เกิดภาวะมีบุตรยาก  เกิดก้อนเนื้องอกได้ง่าย 2. ป้องกัน “กระเพาะอาหารและม้ามเย็น” 防脾胃寒 กระเพาะอาหารและม้าม เป็นเสมือนทุนที่ 2 เป็นเหมือนแหล่งเติมพลัง เช่นเดียวกับการชาร์ตไฟ เติมเต็มพลังหยวนชี่ (元气) ซึ่งเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของร่างกาย   เป็นแหล่งสร้างเลือดและพลังของร่างกาย    การถนอมกระเพาะและม้ามที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงอาหาร,  เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น  รวมทั้งน้ำเย็น  น้ำแข็ง 3. ป้องกัน “การติดขัดของเส้นลมปราณต้าย” 防带脉不通 เส้นลมปราณต้าย (带脉) เป็นเส้นลมปราณพิเศษ ที่มีทิศทางตามแนวนอนที่เชื่อมเส้นลมปราณอื่นๆ  ซึ่งส่วนมากเป็นเส้นลมปราณแนวตั้ง  ถ้าเส้นลมปราณเส้นนี้ติดขัด  ก็จะทำให้เกิดการกดทับ การไหลเวียนเส้นลมปราณอื่นๆทั้งหมด …

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน Read More »

ลิ้น หน้าต่างของร่างกาย

การเกิดและดำเนินของโรคนั้นเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน การดูลิ้นเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจการดำเนินและการเปลี่ยนแปลงของโรคได้ หลักการสำคัญในการดูลิ้นนั้น กล่าวโดยรวมๆแล้วก็คือ การดูตัวลิ้นและฝ้าบนลิ้น โดยทั่วไปแล้วการดูลักษณะของลิ้นจะทำให้เราเข้าใจสภาพร่างกายของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค ซึ่งจะทำให้เราใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมการดูลิ้นถือเป็นเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งในหลักการวินิจฉัยโรคของทฤษฎีแพทย์จีนคือการมอง (หลักในการวินิจฉัยโรคของทฤษฎีแพทย์จีนคือ ใช้การมอง ดม ฟัง ถาม จับชีพจร และคลำ) การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ซึ่งมีบันทึกไว้ในคัมภีร์แพทย์จีนคือหวงตี้เน่ยจิง ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น ฯลฯ ว่าในช่วงเวลากว่า 2 พันปีมานี้ การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคได้เจริญเติบโตและพัฒนาไปตามการพัฒนาของการแพทย์จีน จนมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 14 หนังสือเกี่ยวกับการดูลิ้นวินิจฉัยโรคชื่อ “อ๋าวซื่อซางหางจินจิ้งลู่” ได้เกิดขึ้นครั้งแรก จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายใต้การชี้นำของทฤษฎีแพทย์จีน การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคก็ยังคงเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคอีกวิธีหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ที่สามารถนำไปใช้อย่างได้ผลในทางคลินิกของแพทย์จีน การดูลิ้นเพื่อวินิจฉัยโรคจะถูกต้องและแม่นยำได้นั้นจะต้องร่วมกับการปฏิบัติทางด้านคลินิก จากการปฏิบัติที่เป็นจริงสามารถยืนยันได้ว่า การดูลิ้นนั้นมีความหมายยิ่งคือ ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของร่างกาย อาการหนักเบาของโรค แนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงหรือทุเลาของโรค การใช้ยาในการรักษาโรคตลอดจนการพยากรณ์อาการของโรค ทั้งนี้เพราะในกระบวนการเกิดพัฒนา เปลี่ยนแปลงของโรคนั้น จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและชัดเจนเกิดขึ้นบนลิ้น ด้วยเหตุนี้ลิ้นจึงเป็นอวัยวะที่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและโรคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถดูและสังเกตได้ง่าย จึงสรุปได้ว่า ลิ้นเปรียบเสมือนหน้าต่างที่จะทำให้เราสังเกตและมองทะลุอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยา เป็นเสมือนภาพสะท้อนที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของชีวิตภายในร่างกาย แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของลิ้นในทางคลินิกนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ถ้าเราสามารถยึดหลักการในการดูลิ้นได้ เราก็จะยึดวิธีการในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ

ลิ้น กับการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน

การดูลิ้นเป็นวิธีการในการวินิจฉัยโรควิธีหนึ่งของแพทย์จีน การดูลิ้นนั้นจะต้องดูที่ตัวลิ้น (สีของลิ้น รูปร่างลักษณะของตัวลิ้น) และฝ้าบนลิ้น (สีของฝ้าบนลิ้น) ทฤษฎีการแพทย์จีนนั้นเชื่อว่า อวัยวะต่างๆของร่างกายเป็นองค์รวมที่ตรงกันข้าม และเป็นเอกภาพกัน ขณะเดียวกันร่างกายมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมก็เป็นองค์รวมที่ตรงกันข้ามและเป็นเอกภาพกันด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแต่ละส่วนนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของร่างกาย ดังคัมภีร์การแพทย์จีนกล่าวไว้ว่า “มีความผิดปกติภายในย่อมปรากฏให้เห็นภายนอก” ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถเข้าใจธาตุแท้ของความขัดแย้งภายในร่างกายโดยการมองจากสิ่งที่ปรากฏออกมาภายนอกร่างกาย แล้วมองลึกเข้าไปหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ในการศึกษาร่างกายของมนุษย์นั้น แพทย์จีนจะไม่ใช้วิธีการแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่า “วิเคราะห์” แต่จะใช้วิธีการมองร่างกายเป็นแบบองค์รวม บนพื้นฐานของการมองร่างกายที่เป็นองค์รวมและไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆนี้ แพทย์จีนจะทำการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลสะท้อนของร่างกายมนุษย์เมื่อถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แล้วสรุปออกมาเป็นกฎเกณฑ์ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ไม่เพียงแต่จะสะท้อนออกมาให้เห็นภายนอกร่างกายตรงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นในแต่ละส่วนบนภาพจำลองย่อยๆของร่างกายอีกด้วยแพทย์จีนมองความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมนุษย์กับสภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยสังเกตจากสิ่งที่ปรากฏมาภายนอกของร่างกาย และลิ้นก็เป็นอวัยวะๆหนึ่งที่สามารถสะท้อนความผิดปกติที่เกิดขึ้น ดังนั้นการดูลิ้นจะทำให้เราเข้าใจสภาวะที่ร่างกายสะท้อนความผิดปกติออกมาอย่างชัดเจน ความหมายของการดูลิ้นในทางคลินิก การดูลิ้นบอกโรคนั้น จะสามารถสะท้อนให้เราเห็นถึงสภาพของร่างกายและโรคได้ดังนี้1. การบ่งบอกถึงความแข็งแรงหรืออ่อนแอของร่างกาย ถ้าตัวลิ้นแดงเรื่อๆ ชุ่ม แสดงว่าร่างกายแข็งแรง แต่ถ้าลิ้นขาวซีดแสดงว่าร่างกายอ่อนแอ 2. การบ่อบอกถึงความหนักเบาของโรค ในกรณีที่เป็นโรคซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก (เช่น เป็นหวัด) ความหนาของฝ้าบนลิ้นจะบ่งบอกถึงความหนักเบาของโรค ถ้าฝ้าบนลิ้นบางแสดงว่าโรคเพิ่งเกิด แต่ถ้าฝ้าบนลิ้นหนาแสดงว่าโรคเป็นมานานและค่อนข้างหนักหากลิ้นแดงสดและแห้ง แสดงว่าอาการของโรครุนแรงมาก 3. การบ่งบอกถึงคุณสมบัติของโรค เช่น ถ้าฝ้าบนลิ้นสีเหลือง (ต้องระวังสังเกตและถามผู้ป่วยว่ากินอะไรที่มีสีเหลืองมาก่อน) แสดงว่าเป็นโรคร้อน ต้องให้ยาที่มีคุณสมบัติเย็น (รสขม) แต่ถ้าฝ้าบนลิ้นขาว มักเป็นโรคเย็น …

ลิ้น กับการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน Read More »

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน

คนเราในวัยหนุ่มสาว พลังชีวิตหรือพลังหยางของร่างกายกำลังเต็มเปี่ยมเหมือนกับดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าจนถึงเที่ยง พอวัยกลางคนพลังหยางของร่างกายค่อยๆ ถดถอย จนถึงวัยชราก็เหมือนกับหลัง 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ดูทุกอย่างกำลังกับเข้าสู่ความสงบ ความหยุดนิ่ง นั่นคือ กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ การแสวงหาสมดุลแห่งชีวิต และการมีสุขภาพที่แข็งแรงอายุยืนยาวเพื่อให้ความฝันเข้าใกล้อายุไขที่ยาวนานมากที่สุดโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้ทนทุกข์ทรมาน  เป็นความประสงค์สูงสุดหนึ่งของมนุษย์ คนจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อถึงวัยนี้ยังมีความพยายามเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ย่อท้อต่อชีวิตเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและน่าให้กำลังใจ แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและสัจธรรมแห่งชีวิตควบคู่ไปด้วย จะทำให้เรามีความสุขในการต่อสู้กับปัญหาได้ดีขึ้น การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ด้วยหลัก “7 ลดน้อย (การลดน้อย 7 ประการ)” จะทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวได้ 1. กินน้อย (少吃) ไม่ควรกินอิ่มมากเกินไป จะทำให้ระบบย่อย (ในผู้สูงอายุ) ซึ่งไม่ดีอยู่แล้วทำงานหนักยิ่งขึ้น ทำให้อาหารตกค้าง ไม่ย่อย ไม่สบายตัว ท้องอืด นอนไม่หลับ รวมทั้งทำให้มีโอกาสเกิดโรคอ้วน, เบาหวาน, โรคของถุงน้ำดี ฯลฯ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว 2. โกรธน้อย (少怒) การโกรธและการเก็บกดอารมณ์โกรธที่รุนแรง จะทำพลังย้อนขึ้นบนหรือติดขัด หลอดเลือดหดตัว เป็นอันตรายต่อการขาดเลือดของสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ …

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย

เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยตรรกะแล้ว คนที่ไม่มี การออกกำลังกาย เลยก็ควรจะอายุสั้น แต่บ่อยครั้งกลับพบว่านักกีฬาที่เคยสร้างชื่อเสียงสมัยหนุ่มสาวหลายคนมีอายุสั้นอย่างเหลือเชื่อ เช่น ฟลอเรนซ์ จอยเนอร์ นักวิ่งสาวลมกรดเสียชีวิตในปี 2541 ขณะมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น บางคนสงสัยตั้งคำถามว่าระหว่างคนที่ทำงานใช้แรงงานกายทั้งวัน (เช่น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชาวนา) กับคนที่นั่งสมาธิมากๆ ไม่ค่อยใช้แรงงานกาย (เช่น นักบวช พระ) ใครจะมีอายุยืนยาวกว่า เต่า เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหว ก็เชื่องช้าอืดอาด กลับมีอายุยืนยาว นกกระเรียน เป็นนกที่อยู่โดดเดี่ยว ขณะบินก็เคลื่อนไหวนุ่มนวลเชื่องช้า ก็มีอายุยืนยาว แมลงพวก mayfly ที่เคลื่อนไหวเร็วกลับมีอายุสั้น ปัญหาเรื่องการออกกำลังกาย ความหมายปัจจุบัน กับโบราณแบบจีนก็มีทัศนะแตกต่างกันหลายด้าน การออกกำลังกาย ในทัศนะแพทย์แผนจีนประสานการเคลื่อนไหวกับการหยุดนิ่ง – ความสมดุล ของยินหยางแพทย์แผนจีนมองว่าการเคลื่อนไหวเกิดหยาง  การเคลื่อนไหวก็มีข้อดีของการเคลื่อนไหวการหยุดนิ่งเกิดยิน  การหยุดนิ่งก็มีข้อดีของการหยุดนิ่งแพทย์จีนที่ให้ความสำคัญกับ  ” การเคลื่อนไหว ” คือ ท่านปรมาจารย์ ฮั้วถอ (  หมอฮูโต๋) ท่านกล่าวว่า  ” การเคลื่อนไหวทำให้พลังเคลื่อน หลอดเลือดไม่ติด …

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย Read More »

ยาอายุวัฒนะที่ต้องปรุงเอง : การทำงานกับการพักผ่อน

อาชีพการงานของผู้คนในทุกวันนี้มีหลากหลาย หลายอิริยาบถ บางคนต้องยืนเกือบตลอดเวลา เช่น พนักงานห้างสรรพสินค้า บางคนต้องนั่งกับเก้าอี้ เช่น พนักงาน คอมพิวเตอร์ นักบริหาร บางคนใช้สมอง บางคนใช้แรงงานกาย บางคนใช้สายตา บางคนเดินมาก ทำให้อิริยาบถต่างๆ หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง เกิดการเสียสมดุล ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (มีอายุกว่า 2,400 ปี) ได้กล่าวถึงอิริยาบถและท่าทางพื้นฐานในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ไว้ว่า “การเพ่งดูนานๆ ทำลายเลือด การนอนนานทำลาย พลัง การนั่งนานทำลายกล้ามเนื้อ การยืนนานทำลายกระดูก การเดินนานทำลายเอ็น” การอยู่ในอิริยาบถใดๆ ที่นาน เกินไป คำว่า “นาน” คือ “มากเกินไป” รวมถึงการใช้แรงงานกาย หรือแรงงานสมองที่มากเกินไป การใช้แรงงานกายมากเกิน ไปหรือออกกำลังกายเกินควรแทนที่จะเป็นการเสริมสร้างร่างกาย กระตุ้นการทำงานระบบต่างๆ ช่วยให้การกินอาหารดีขึ้น ตรงข้ามกับทำให้ระบบม้าม-กระเพาะอาหาร อ่อนแอ อาการเริ่มแรก คือ การปวดเมื่อยทั้งร่างกาย แขนขาอ่อนแรง เมื่อยล้า อุจจาระเหลว อาหารไม่ย่อย มีอาหารและของเหลวตกค้าง ไม่ดูดซึม ร่างกายซูบผอม …

ยาอายุวัฒนะที่ต้องปรุงเอง : การทำงานกับการพักผ่อน Read More »