Month: October 2021

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต

หัวใจกับไต เป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าต้องการรักษาความสัมพันธ์ของชีวิตและรากฐานของไตให้แข็งแรง จำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างหัวใจกับไต โดยทำให้หัวใจและไตทำงานเชื่อมประสานกัน เทคนิคง่ายๆ ในการเชื่อมประสาน หัวใจ กับ ไต 1. การนอนหลับในช่วงเวลา 23.00 – 1.00 น.(子时睡觉) การนอนหลับในช่วงเวลานี้  ซึ่งเป็นช่วงที่พลังยินมากที่สุด  จะเป็นการเสริมธาตุน้ำ และควบคุมธาตุไฟ (หัวใจ) ไม่ให้มากเกินไป  ถ้าไม่นอนหลับในช่วงเวลานี้  พลังงานหยางจะไม่ถูกควบคุม   เมื่อเลยเวลาเที่ยงคืนไปมากเท่าไร  การควบคุมพลังหยางก็ยิ่งจะยากขึ้น ขณะเดียวกันการเสริมพลังยิน (พลังไต – ธาตุน้ำ) ก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำกับไฟแยกตัวได้ง่าย ไฟจะสะสมอยู่ด้านบน, น้ำจะสะสมอยู่ด้านล่างดังนั้นการครุ่นคิด, การทำงานกลางดึก, อยู่เวรดึก, ดูหนังดึกๆ ไม่นอนหลับตอนกลางคืน  จึงเป็นการทำลายความสมดุลของไตและหัวใจ 2. การงีบหลับสั้นๆตอนกลางวัน ช่วง 11.00 – 13.00 น.(午时要小睡) ช่วงเวลานี้เป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงจากพลังหยางสูงสุดเป็นจุดเริ่มต้นพลังยิน (หลังเที่ยงวันความเย็นความมืดเริ่มเข้าแทนที่ความร้อนความสว่าง)ช่วงเวลาดังกล่าว พลังหยางของร่างกายจะกระจายตัวออกนอกขึ้นบนมากที่สุด วิธีป้องกันการสูญเสียพลังคือการยับยั้งพลังไม่ให้ถูกใช้ต่อเนื่องมากเกินไป  ยังเป็นการสงบพลังขึ้นด้านบนและทะนุถนอมการสูญเสียยิน (ความเย็นของร่างกาย) ไปในเวลาเดียวกัน  จึงเป็นช่วงเวลาของการเสริมยินลดการสูญเสียพลังหยางที่สำคัญอีกช่วงเวลาหนึ่ง การปิดตา  …

เทคนิคเชื่อมประสาน หัวใจกับไต Read More »

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ และม้ามกับไต

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ ตับมีหน้าที่เก็บเลือด(肝藏血) กับ หน้าที่ในการขับระบาย (肝主疏泄)เป็นหน้าที่ของตับที่ตรงข้ามขัดแย้งกันและควบคุมซึ่งกันและกัน ม้ามมีหน้าที่ควบคุมการขับเคลื่อนลำเลียง(脾主运化) ควบคุมการสร้างเลือดและให้เลือดไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือด(脾生血统血) อาหารที่ย่อยแล้ว ทางสรีระแผนปัจจุบันจะดูดซึมลำเลียงจากผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปที่ตับ ตับทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ ตับเป็นโรงงานผลิตพลังงานให้ร่างกาย โดยสลายสารอาหารให้ร่างกาย การย่อยดูดซึมลำเลียงสารอาหารที่ดี(อวัยวะม้ามทำงานดี) จะทำให้ตับสะสมวัตถุดิบหรือพลังงานสำรองไว้ใช้ได้มากพอ มีพลังขับเคลื่อนการทำงานของม้ามกระเพาะอาหาร รวมทั้งสามารถสร้างน้ำดีเพื่อใช้ช่วยการย่อยอาหารไขมัน ถ้าการระบายและการเก็บเลือดของตับ(การสะสมสารอาหารพลังงานสำรอง)ไม่ดี จะส่งผลให้การทำงานของม้ามไม่ดีด้วย การเก็บกักเลือดที่มากพอจะทำให้เกิดการระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ได้ดี การย่อยดูดซึมก็ดีด้วย การเก็บกักเลือดน้อยทำให้การขับระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า(รวมถึงการขับน้ำดี)ก็น้อย การย่อยดูดซึมก็ไม่ดี การระบายพลังตับที่น้อย(ตับอุดกั้น)ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน การนำเลือดใหม่เข้าสู่ตับก็ลดน้อยลง การระบายเลือดเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากเกินจะทำให้การเก็บกักเลือดน้อยลงเช่นกัน ม้ามสร้างเลือด ตับเก็บเลือด ตับช่วยการย่อยดูดซึมลำเลียงของม้าม การทำงานของตับผิดปกติ จะมีอาการของทางเดินอาหารโดยเฉพาะกระเพาะอาหารและม้าม ความสัมพันธ์ระหว่าง ม้ามกับไต ม้าม  เปรียบเสมือนมารดาของอวัยวะภายในทั้ง 5 (脾为五脏之母) เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาหลังกำเนิด (后天之本)ในขณะที่ไต เปรียบเสมือนรากฐานของร่างกาย  เปรียบเสมือนเป็นทุนที่มาแต่กำเนิด(先天之本) คนโบราณใช้จุดฝังเข็ม  4  จุด   ในการเพิ่มพลังม้ามและเสริมพลังไต   คือ จุด จงหว่าน(中脘穴)  จุดกวนหยวน(关元穴)จุดมิ่งเหมิน(命门穴)จุดจู๋ซานหลี่ (足三里) จะเห็นว่าจุดเหล่านี้อยู่บริเวณส่วนท้อง , ส่วนเท้า …

ความสัมพันธ์ระหว่างม้ามกับตับ และม้ามกับไต Read More »

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน

สำหรับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกันของอวัยวะม้ามและกระเพาะอาหาร โดยกระเพาะอาหารทำหน้าที่รับและย่อยอาหารและส่งไปลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนได้สารจำเป็น และแยกแยะอาหารที่ถูกย่อยแล้วในสิ่งที่ดี (ใช้ได้) กับสิ่งที่ข้น (ใช้ไม่ได้) ส่วนดีจะถูกส่งไปที่ม้าม ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย ส่วนลำไส้ใหญ่ทำหน้าขับอุจจาระและควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำ กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ไม่ชอบความแห้งชอบความชื้น(恶燥喜润) ไม่ชอบร้อนชอบความเย็น(恶热喜凉) ไม่ชอบการสะสมแต่ชอบการระบายลงล่าง(恶积喜降) ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ของม้าม หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหารมี 3 อย่างคือ รองรับอาหารและน้ำ (主受纳) เสมือนขุนนางที่ทำหน้าที่ดูแลเก็บกักอาหารเสบียงกัง (仓廪之官,主纳水谷) เป็นที่เก็บอาหารที่ผ่านการเคี้ยวในปาก และเดินทางผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจึงเป็นเสมือนทะเลของน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไป 胃为“水谷之海”ถ้าลมปราณกระเพาะอาหารจะทำให้เก็บกักอาหารเพื่อทำการย่อยเบื้องต้นได้ดี มีความอยากอาหาร ทานอาหารได้มาก การย่อยอาหาร กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารในระดับต้นๆ (腐熟水谷) เพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้วส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก ควบคุมการไหลลงของพลังสู่ด้านล่างในการขับเคลื่อนอาหารและการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อการย่อยที่ลำไส้เล็กและการขับถ่ายที่ลำไส้ใหญ่ เป็นการสร้างสมดุลของพลังแกนกลางของร่างกาย โดยทำงานคู่กับพลังของม้ามที่มีทิศทางขึ้นบนเพื่อส่งลำเลียงสารจำเป็นไปอวัยวะปอด ม้าม ม้ามถือเป็นต้นกำเนิดของแรงขับเคลื่อนชีวิต โบราณกล่าวว่า “ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด” 故称脾胃为“后天之本” ทำหน้าที่ควบคุมเลือด พลังลมปราณ ม้ามเป็นธาตุดินมีความเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อ ริมฝีปากและปาก ตำราแพทย์จีนโบราณได้บันทึกรูปร่างของม้าม มีลักษณะโค้งแบนเหมือนเคียว คล้ายกายวิภาคของตับอ่อนในแผนปัจจุบัน ม้ามในความหมายแพทย์แผนจีนมีหน้าที่ในการควบคุมเลือด สร้างน้ำย่อยในการย่อยอาหาร การดูดซึม ลำเลียงอาหาร อวัยวะม้ามจึงมีหมายถึงครอบคลุมถึงม้ามและตับอ่อน รวมถึงลำไส้เล็กด้วย …

ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ในมุมแพทย์แผนจีน Read More »

โรคอัมพาตใบหน้า

หากมองปัญหาของโรคอัมพาตใบหน้า เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนได้ ดังนี้ 1. สาเหตุการเกิดโรคอัมพาตใบหน้า ที่ส่งผลให้เส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบหรือบวม แพทย์แผนปัจจุบัน ให้ความสนใจไปที่การติดเชื้อไวรัส และกล่าวถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดจากภาวะการกระทบความเย็นและตากลม ความเครียดทางอารมณ์ คนที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวานหรือบาดเจ็บบนใบหน้าในขณะที่ การเปี้ยนเจิ้งของแพทย์จีน เน้นไปที่ปัจจัยภายใน พื้นฐานร่างกาย บางคนเลือดพลังพร่อง บางคนยินพร่อง หยางแกร่ง (คล้ายกับความดันโลหิตสูง) บางคนเสมหะภายในมาก ระบบการย่อยไม่ดี หรือมีเสมหะสะสมภายในนานๆ (คล้ายกับภาวะไขมันในเลือดสูง) หรือคนที่บาดเจ็บบริเวณใบหน้า (ซึ่งทำให้เส้นลมปราณหยางหมิงถูกกระทบกระเทือนเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน)นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกที่มากระทบ แพทย์จีนโบราณ ไม่มีคำว่า ไวรัส รู้จักแค่การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่มากระทบต่อร่างกายบริเวณใบหน้า จำแนกตามอาการอัมพาตว่ามีลักษณะหน้า ปวด หย่อน ร้อน ว่าเป็นปัจจัยชนิดไหนมากระทบ แล้วทำการใช้ยาขับปัจจัยก่อโรคเหล่านั้นออกไป 2. การรักษาแผนปัจจุบัน มุ่งไปที่รักษาเพื่อลดอาการบวมและการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 โดยตรง ระยะเริ่มแรกให้ยาเพร็ดนิโซโลนขนาดสูง และลดขนาดลง ยาต้านไวรัสพิจารณาเป็นรายๆ ไป และปล่อยให้ร่างกายหายเองแผนจีน แบ่งแยกลักษณะอัมพาตตามสภาพพื้นฐานสมดุลของร่างกาย และปัจจัยที่ก่อโรค รักษาพื้นฐานร่างกายควบคู่กับการขับปัจจัยก่อโรค เน้นสร้างสมดุลให้ร่างกายฟื้นตัวได้ด้วยตัวเองการฝังเข็ม ด้านหนึ่งเน้นเลือกจุดบนเส้นลมปราณหยางหมิงที่หล่อเลี้ยงบริเวณใบหน้า อีกด้านหนึ่งเน้นการขับลมจากภายนอกและปรับลมภายใน เช่น จุดเหอกู่ (合谷) จุดเฟิงฉือ (风池) หรือดึงพลังหยางลงล่าง เช่น …

โรคอัมพาตใบหน้า Read More »

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน

สาเหตุของการเกิดโรค1. ส่วนใหญ่เกิดจากบริเวณใบหน้ากระทบกับลมและความเย็น (风寒) เป็นการกระทบของลมต่อเส้นลมปราณจิงลั่ว (风中经络) ทำให้พลังไม่สามารถไปเลี้ยงใบหน้าได้ มีอาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท แบบเฉียบพลัน2. เส้นลมปราณหยางหมิงของขาที่วิ่งผ่านบริเวณปาก มีภาวะพร่อง ขาดพลังหล่อเลี้ยง เมื่อโดนลมกระทบ เกิดการหดตัวไม่คล่อง ลมที่กระทบมีทั้งลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น ลมเสมหะ รวมถึงภาวะเลือดอุดกั้น ภาวะพลังและเลือดติดขัด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปาก ตา บิดเบี้ยวได้ทั้งสิ้นการวินิจฉัยแบบเปี้ยนเจิ้ง (辨症论治)1. ลมกระทบจากภายนอก ทำให้เกิดอัมพาตที่ใบหน้า (风邪外袭)ลมรวมกับปัจจัยก่อโรคอาจเป็นความเย็น ความร้อน ความชื้น เมื่อมากระทบบริเวณใบหน้า คือ เส้นพลังลมปราณของหยางหมิงที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนใหญ่ ทำให้เลือดและพลังไหลเวียนไม่คล่อง กล้ามเนื้อที่ตาและปากอ่อนแรง ทำให้บิดเบี้ยวเพราะไม่มีกำลัง การรับความรู้สึกบนใบหน้าผิดปกติกระทบ ลมเย็น-กล้ามเนื้อใบหน้าปวดเกร็ง เพราะความเย็นทำให้หดตัวกระทบ ลมร้อน-กล้ามเนื้อใบหน้าหย่อน ผิวหนังร้อนแดงกระทบ ลมชื้น-กล้ามเนื้อใบหน้า หน้าบวม บางครั้งมีอาการปวดร่วมด้วย2. ลม ตับ เคลื่อนไหวภายใน (肝风内动)มีอาการอัมพาตใบหน้า ร่วมกับมีพื้นฐานร่างกายเป็นคนที่มีภาวะตับแกร่งหรือยินพร่อง-หยางแกร่ง มักมีอาการเวียนศีรษะ แขนขาชา ภาวะหยางที่มากเกินไปทะลวงผ่านเส้นลมปราณหยางหมิงบริเวณใบหน้า ทำให้ใบหน้าแดงก่ำ เวียนศีรษะมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีลิ้นแดงออกม่วง ชีพจรเร็วและตึงมีกำลัง ฝ้าบนลิ้นเหลือง หรือมีฝ้าบนลิ้นน้อย ตัวลิ้นแห้ง3. ลมเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ (风痰阻络)มีอาการอัมพาตบริเวณใบหน้า ร่วมกับพื้นฐานร่างกายที่บ่งบอกว่ามีเสมหะอุดกั้น กล่าวคือ …

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน”

“ความฝันของคน เมื่อมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง คือการมีสุขภาพที่ดีและถ้าสามารถซื้ออายุคืนกลับมาได้สัก ๑๐-๒๐ ปี จะเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด” “ดาราหรือชนชั้นสูงที่มีเงิน มักจะใฝ่หาวิธีการชะลอความแก่ ทำให้ใบหน้าอ่อนวัยอยู่เสมอ เช่น ชาลี แชปลิน (Charies Chaplin), มาดามไอเซนเฮาว์ (Dwignt mamie Eisenhower), วินสตัน เชอร์ชิลล์   (Winston Churcill), เจ้าหญิงไดอานา, โรเบิร์ต เคเนดี้ ล้วนได้ผ่านการรักษาด้วยการฉีดสารสกัดจากรกแกะ จาก ดร.พอล ไนฮาน (Dr. Paul Neihans) สวิตเซอร์แลนด์ “ มีความเชื่อเรื่องของรก โดยเฉพาะรกคน ว่าเป็นยาอายุวัฒนะมีมานานกว่า ๒,๐๐๐ ปี (ดูหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๓๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙) เนื้อหาต่อไปนี้เป็นผลการวิจัยสมัยใหม่ที่มีนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์หลายท่านได้รับรางวัลโนเบล เกี่ยวกับการสกัดสารที่สำคัญและเซลล์ตั้งต้น (Stem cell) จากรกอันเป็นพื้นฐานของการรักษาโรคด้วยการใช้เซลล์รักษาเซลล์ (Cell therapy) รกมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน …

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน” Read More »

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (2)

ผู้ป่วยบางคนมีภาวะยินพร่อง แต่เข้าใจผิดไปซื้อยาบำรุงเลือดพร่อง ทำให้อาการของโรคอาจรุนแรงขึ้นได้ยาจีนในท้องตลาดต้องแยกให้ชัดว่า เน้นไปที่บำรุงยินหรือบำรุงเลือดความจริงยาบำรุงเลือดมีบางส่วนของยาบำรุงยิน เลือดเป็นส่วนหนึ่งของยิน ยินพร่องกับเลือดพร่องมีอาการหลายอย่างคล้ายกัน เช่น ชีพจรเล็ก เวียนศีรษะ ตาลาย นอนไม่หลับ ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ยินพร่อง จะมีอาการร้อนร่วมด้วย เช่น แก้มแดง ลิ้นแดง หงุดหงิด ปากแห้ง ชีพจรเร็ว เป็นต้น ขณะที่เลือดพร่องไม่มีอาการร้อน เช่น ใบ หน้า ริมฝีปาก เปลือกตา เล็บ ลิ้นจะมีสีขาวซีด อาการที่เรียกว่า “เลือดของหัวใจพร่อง” และ “เลือดตับพร่อง” เป็นอย่างไร?ทั้ง ๒ ภาวะ มีอาการของเลือดพร่องเหมือนกัน แต่เนื่องจากการขาดเลือดไปมีผลต่ออวัยวะของหัวใจและตับอย่างเด่นชัด ทำให้มีลักษณะเฉพาะ คือเลือดหัวใจพร่อง มีอาการทางหัวใจและ สมองเด่นชัด เช่น ใจสั่น ตกใจง่าย นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ลืมง่ายเลือดตับพร่อง ชายโครงปวดตื้อๆ มองไม่ชัดเวลากลางคืน (ตาบอดไก่) แขนขาชา มีตะคริว หลักการรักษาเลือดพร่อง และตำรับยาที่ใช้คืออะไร?ใช้หลักการบำรุงและปรับเลือดตำรับยาที่ใช้ได้แก่๑. ซื่อ-อู๋-ทังตัวยาสำคัญคือ สูตี้ ตังกุย ไป๋สาว ชวน-เซวียง๒. ตัง-กุย-ปู่-เสวี่ย-ทัง ตัวยาสำคัญคือ ตังกุย …

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (2) Read More »

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (1)

“เธอดูหน้าตาขาวซีดจัง ควรบำรุงด้วยโสมตังกุยจั้บ”Ž“ผู้หญิงหลังคลอดเสียเลือดมาก ต้องกินยาบำรุงเลือด”Ž“ดิฉันมือเท้าเย็นง่าย เล็บขาวซีด ใจสั่น นอนไม่หลับ หลับแล้วฝันไม่หยุด ไปหาหมอจีน หมอบอกว่าเป็นเพราะเลือด ไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ”Ž“ดิฉันแขนขาชา เป็นตะคริวบ่อย ตาแห้งมองไม่ชัดตอนกลางคืน หมอจีนบอกว่าเป็นเพราะเลือดไปเลี้ยงตับไม่ดีพอ”Žเรื่องของเลือด ในความหมายของแพทย์แผนจีนคืออะไรเลือดคือของเหลวข้นสีแดงที่อยู่ในหลอดเลือด เป็นส่วนประกอบของร่างกายและเป็นตัวหล่อเลี้ยงพื้นฐานให้กับการดำรงอยู่ของชีวิตเลือดจะต้องไหลเวียนคล่อง และไหลอยู่ในหลอดเลือด และตัวเลือดเองต้องเป็นเลือดที่มีคุณภาพ เลือด เกิดได้อย่างไร เลือดที่มีคุณภาพดีเกี่ยวข้องกับอะไรเลือดเกิดจากอาหารที่ได้รับการย่อยดูดซึม และแปรเปลี่ยนเป็นหยิงซี่  และจินเย่ หยิงซี่  เป็นส่วนสุดยอดที่ดีที่สุดของสารอาหารที่เกิดจากการย่อยดูดซึมและกลายเป็นส่วนของเลือดเพื่อนำไปบำรุงเลี้ยงร่างกายจินเย่  คือส่วนของสารน้ำ ของเหลวในร่างกาย ที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่หลอดเลือดได้เลือดที่ดีมีคุณภาพมาจากปัจจัยหลายประการ คือ1. อาหารที่กินเข้าไป2. การทำงานหรือพลังของม้ามและกระเพาะ-อาหาร ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร รวมทั้งแปรเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นเลือด3. การทำงานของปอด ที่จะทำให้เลือดเป็นเลือดที่สดและสะอาด4. การทำงานของไต ไตมีหน้าที่เก็บจิง  (ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติและการหลั่งสาร คัดหลั่งฮอร์โมน เอนไซม์) ไตสร้างไขกระดูก  (ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง) ดังนั้น คนที่ซีดเนื่องจากเลือดมีปัญหา จึงต้องพิจารณาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ ว่าอะไรเป็นสาเหตุหลัก ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดในทางศาสตร์แพทย์ แผนจีนได้แก่อะไรบ้าง1. ภาวะเลือดพร่อง2. ภาวะเลือดอุดกั้น3. ภาวะเลือดร้อน4. ภาวะเลือดเย็น5. ภาวะเลือดแห้ง6. ภาวะเลือดและพลังพร่อง7. ภาวะพลังพร่องทำให้เลือดอุดกั้น ภาวะเลือดพร่องมีความหมายอย่างไร มีอาการและอาการแสดงออกอย่างไรภาวะเลือดพร่อง เป็นภาวะการขาดเลือด …

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (1) Read More »

3 โรคที่เกี่ยวข้องกับ ทางเดินอาหาร

1. โรคกรดไหลย้อน GERD หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว มีการวิจัยบางชิ้นพบว่า โรคกรดไหลย้อน ที่เกิดจากภาวะตับและกระเพาะอาหารไม่สมดุล(肝胃不和型)(ภาวะแกร่ง实证)มี 71.4 % โรคกรดไหลย้อน ที่เกิดจากภาวะพลังตับอุดกั้นม้ามพร่อง(肝郁脾虚型)(虚实夹杂证)มี 28.6% บ่งบอกว่า โรคกรดไหลย้อนทางแพทย์แผนจีน ไม่ได้มองไปที่การทำงานของกระเพาะอาหาร หรือหูรูดกระเพาะอาหารอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ ถุงน้ำดีและม้ามหรือบางครั้งเกี่ยวข้องกับอวัยวะไตอีกด้วย จึงต้องปรับรักษาสมดุลไปด้วยกัน 2. เรื่องของสิว(痘痘) จมูกและบริเวณรอบๆจมูก คือ อวัยวะม้าม กระเพาะอาหาร ความร้อนชื้น (脾胃湿热证)ภายในอวัยวะดังกล่าว มักทำให้เป็นสิวบริเวณปลายจมูก สิวเป็นๆ หายๆ แห่งหนึ่งยุบอีกแห่งก็โผล่ตลอดเวลา หัวสิวสีเหลืองอักเสบเป็นหนอง หน้ามัน ปากเหม็น ขมในคอ ความอยากอาหารไม่แน่นอน อุจจาระเหนียวถ่ายไม่สุด ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลือง เหนียว ชีพจรตึงเร็ว สิวบริเวณรอบปาก บ่งบอกถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ สิวบริเวณแก้มข้างซ้าย บ่งบอกถึงอวัยวะตับร้อน เกี่ยว ข้องกับอารมณ์ ความเครียด การสร้างเลือดและการขับพิษของร่างกาย สิวบริเวณแก้มข้างขวา บ่งบอกถึงอวัยวะปอด เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ …

3 โรคที่เกี่ยวข้องกับ ทางเดินอาหาร Read More »

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด”

ขณะนี้ ทั่วโลกต่างรู้ถึงความร้ายกาจของไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ซึ่งจากการระบาดครั้งใหญ่นี้ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวนมาก โรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อบางคน อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนก็ถึงกับเสียชีวิต โดยไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อคุณหายใจเอาเชื้อเข้าไป หากมีคนติดเชื้อไอหรือจามใกล้ๆ หรือเมื่อคุณไปจับบริเวณที่มีเชื้อติดอยู่…..ขั้นแรก เชื้อจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ ท่อทางเดินหายใจและไปที่ “ปอด” จากนั้นจะเปลี่ยนอวัยวะเหล่านี้ให้กลายเป็น “โรงงานผลิตเชื้อไวรัส” แพร่กระจายไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายเพิ่มอีก จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของเชื้อไวรัสคือเข้าไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอย่าง “ปอด” ซึ่งในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปอดมีหน้าที่ควบคุมกำกับบริหารจัดการ ทั้งเลือด พลัง สารน้ำของเหลว และการหายใจ อีกทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นลูกพี่ที่คอยปกป้องอวัยวะภายใจทั้งหวงอีกด้วย จมูก เป็นช่องทางการโจมตีจากสิ่งก่อโรคภายนอกเข้าสู่ปอดโดยตรง ปอดที่ปกติจมูกจะโล่ง การรับกลิ่นจะดี แต่ถ้ามีความผิดปกติของปอด จมูกจะแน่น น้ำมูกไหล การรับกลิ่นไม่ดี จมูกบานเวลาหายใจ (หายใจลำบาก หอบหืด) การกระจายพลังของปอด ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ คนที่ปอดร้อนหรือแห้ง การกระจายของเหลวไปยังส่วนต่างๆ ไม่พอหรือติดขัด น้ำในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายมากขึ้น ทำให้ท้องผูก คนที่เจ็บคอ คอแห้ง คออักเสบ บางครั้งอาจจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วย การที่พลังปอดอ่อนแอจะทำให้เหงื่อออกง่าย เป็นหวัดง่าย เนื่องจากต่อมเหงื่อเปิด พลังเว่ยชี่อ่อนแอ …

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด” Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »

กรณีศึกษา รักษา ไทรอยด์เป็นพิษ

วันนี้มีเรื่องผู้ป่วยมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์แพทย์แผนจีนได้ชัดเจนขึ้นผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษรายหนึ่ง ได้รับการเยียวยาด้วยยากดการทำงานของต่อมไทรอยด์ และยาลดอาการใจสั่นอยู่ นานประมาณ 2 ปี ผลการรักษาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยจึงได้รับการแนะนำให้กินน้ำแร่ และได้ยารักษาภาวะไทรอยด์ต่ำ (ยาฮอร์โมนไทรอยด์) มากิน 1 ปีหลังจากการกินน้ำแร่ ผู้ป่วยเปลี่ยนจากโรคภาวะไทรอยด์เกิน (เป็นพิษ) กลายเป็นผู้ป่วยภาวะฮอร์โมนไทรอยด์พร่อง (ขาด) เปลี่ยนจากอาการขี้ร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ กลายเป็นคนหนาวง่าย เฉื่อยชา ง่วงนอนเก่ง ถ้ามองโดยภาพรวมเหมือนตาชั่งที่มี 2 ข้าง แต่เดิมน้ำหนักถ่วงมาก ข้างหนึ่งเกิดการเสียสมดุล พอรักษาจบกระบวนความ กลายเป็นตาชั่งเอียงมาอีกข้างหนึ่ง ความจริงเราต้องการตาชั่งให้มีความสมดุล ไม่ใช่ต้องการเอียงไปอีกข้างหนึ่ง การรักษาแบบนี้ถือว่ายังไม่ใช่การรักษาในเชิงอุดมคติ สาเหตุของต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนปกติการทำงานของต่อมไทรอยด์อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นให้ทำงานมาก แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ต่อมใต้สมองจะลดการหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้น ทำให้ทำงานน้อยลง ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ คือผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมได้ ฮอร์โมนไท ร็อกซีนที่มากเกินก็จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ให้ทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการต่างๆ เช่น มือสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน โมโหง่าย กินจุ น้ำหนักลด …

กรณีศึกษา รักษา ไทรอยด์เป็นพิษ Read More »

“กินเจ” เพื่ออะไร?

คำว่า “เจ” 斋 ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า “อุโบสถ” คำว่า “กินเจ”吃斋  ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ “อุโบสถศีล” หรือ “รักษาศีล 8” จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก “การไม่กินเนื้อสัตว์” ไปรวมกันคำว่า “กินเจ” ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า “กินเจ” ฉะนั้นความหมายก็คือ “คนกินเจ” มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน เช่นนี้แล้วจึงจะเรียกว่า ถือศีลกินเจ จึงเป็นการ”กินเจที่แท้จริง” ร้านขาย “อาหารเจ” เราจะพบเห็นตัวอักษร 斋 คำนี้อ่าน “ไจ” (เจ) แปลว่า “ไม่มีของคาว” เขียนด้วยสีแดงบนพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนบนธงสีเหลือง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล …

“กินเจ” เพื่ออะไร? Read More »

แพทย์แผนจีน กับการรักษาเบาหวาน

หลักการรักษาเบาหวานของแแแพทย์แผนจีน คือ ต้องเสริมยิน สร้างสารน้ำ และทำให้ชุ่มชื้นขจัดแห้ง ขับร้อน ขับพิษ เป็นหลัก เวลารักษาต้องคำนึงถึงปอด กระเพาะอาหาร และไตควบคู่กัน รักษา “ซ่างเซียว”  เบาหวานส่วนบน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ร่วมกับขับร้อนของกระเพาะอาหาร รักษา “จงเซียว” เบาหวานส่วนกลาง ให้ขับร้อนของกระเพาะอาหาร เสริมบำรุงไต รักษา “เซี่ยเซียว”  เบาหวานส่วนล่าง ให้บำรุงไต และเสริมการบำรุงปอด ถ้ามีพลังและยินพร่อง ต้องเสริมพลังและบำรุงยิน ถ้ามียินและหยางพร่อง ต้องบำรุงยินและหยางคู่กัน ถ้ามีเลือด เสมหะอุดกัน ต้องสลายการอุดกันกระจายเลือด ชนิดของเบาหวานและตำรับยาจีนรักษาเบาหวานเป็นอย่างไรแบ่งเป็นประเภทๆ ใหญ่ ๓ แบบ ๑. เบาหวานส่วนบน (ซ่างเซียว) ปอดร้อนขาดสารน้ำอาการ : คอแห้ง กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ร่วมกับน้ำหนักลด ซูบผอม ปัสสาวะบ่อยและมากการตรวจ : ขอบลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝ้าเหลืองขาว ชีพจรแรง เต็ม เร็วตำรับยา : อวี้เฉวียนหวาน ๒. …

แพทย์แผนจีน กับการรักษาเบาหวาน Read More »

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ผลก็คือ น้ำตาลไม่สามารถเผาผลาญไปใช้เป็นพลังงาน มีการคั่งค้างของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ น้ำตาลที่คั่งอยู่ในเลือดมากๆ ก็จะถูกกรองที่ไต มาพร้อมปัสสาวะ ดูดกลับไม่หมด ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดขึ้น เรียกว่าเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน มีปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากมีน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ (ไตดูดกลับไม่หมด) ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำมาก กระหายน้ำ และเนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน (เพราะขาดอินซูลินที่จะสลายน้ำตาลเป็นพลังงาน) ทำให้ผู้ป่วยหิวเก่ง ขณะเดียวกันก็จะซูบผอม เพราะร่างกายจะสลายไขมันและกล้ามเนื้อไปเป็นพลังงานแทน โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการบันทึกในตำราแพทย์จีนมาช้านาน เรียกเป็นภาษาจีน ว่า เซียวเข่อ คำว่า เซียว หมายถึง สูญเสีย หรือสลายอาหาร สูญเสียน้ำและสูญเสียพลัง (ร่างกายซูบผอม) คำว่า เข่อ หมายถึง กระหายน้ำ ดื่มมาก ดื่มแล้วไม่หายกระหาย รวมความแล้ว โรคเซียวเข่อ หมายถึง ดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม และปัสสาวะมีรสหวาน เนื่องจากอาการดื่มมาก เป็นอาการที่อยู่ส่วนบนเกี่ยวข้องกับปอด ซางเจียว ช่องไฟธาตุส่วนบน อาการกินมากเป็นอาการที่อยู่ส่วนกลางเกี่ยวข้องกับม้าม จงเจียว ช่องไฟธาตุส่วนกลาง และอาการปัสสาวะบ่อยเกี่ยวข้องกับไต เซี่ยเจียว ช่องไฟธาตุส่วนล่าง ผู้ป่วยในแต่ละรายมีความรุนแรงของโรคในแต่ละอวัยวะไม่เหมือนกัน สาเหตุของเบาหวานในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนต่างกันหรือไม่ ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน เบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ …

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »