Month: August 2022

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับ 7 อาหาร ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) หรือโสมภูเขา  ( 山人参 ) สรรพคุณ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดต้านมะเร็ง ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสมอง  สูตรการทำอาหารง่ายๆ โดยใช้ เก๋อเกิน 30 กรัม, ข้าวสาร 50 กรัม เอามาทำข้าวต้ม …

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง Read More »

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา”

ชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย เรื่องควรรู้..ก่อนดื่มชา 1. ชาเขียวไม่เหมาะสมกับคนที่มีภาวะหยางของไตพร่อง (พลังหยางน้อย) เพราะชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย จึงจะทำให้ร่างกายด้านล่าง เย็น เป็นตะคริว  ปวดเมื่อยเอว และเข่าไม่มีกำลัง ปัสสาวะบ่อย กล้ามเนื้อขาอ่อนกำลัง 2. ไม่ควรดื่มชาที่แช่เย็น เพราะจะทำให้ทำลายหยางชี่ได้รุนแรงขึ้น (เพราะชาก็เย็นอยู่แล้วยังอยู่ในสภาพเย็นอีก) 3. ไม่ควรดื่มชาขณะท้องว่าง ควรดื่มหลังอาหารเท่านั้น ทำให้กระเพาะอาหารกระทบความเย็นโดยตรง การดูดซึมของชาเข้าสู่ร่างกายรวดเร็ว ทำลายร่างกายได้เร็วขึ้น สังเกตได้เวลาดื่มชาขณะท้องว่าง จะทำให้ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ได้ 4. ไม่ควรดื่มชาแก้วใหญ่ๆ ดื่มตลอดวัน หรือดื่มแทนน้ำ ควรดื่มชาอุ่น 2 – 5 …

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา” Read More »

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์เรื่องของแสงสีในชีวิตประจำวัน อาศัยอิทธิพลของแสงสีต่างๆที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและผลกระทบต่ออวัยวะภายในมาจัดการ กับสภาพแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย ห้องนอน ห้องทำงาน อุปกรณ์ใช้สอย การตกแต่ง ผนังกำแพง ม่านหน้าต่าง แสงไฟ ชุดทำงานของพนักงานบริษัท หรืออาชีพต่างๆ รวมทั้งการจัดห้องสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ ตัวอย่างเช่น1. การใช้แสงสีที่มีลักษณะอุ่นเพื่อการกระตุ้นแสงสีที่ใช้คือ สีแดง สีชมพู หรือสีส้ม เช่น หากนำไปใช้ในห้อง อาบน้ำจะทำให้มีการกระตุ้น มีความเบิกบาน เหมาะสำหรับผู้มี อารมณ์เศร้าโศก อึดอัดใจ ง่วงนอน สมองเฉื่อยชา มีคุณสมบัติในการ ขจัดความพร่อง ความเย็นชา 2. การใช้แสงสีที่มีลักษณะเย็นเพื่อการยับยั้งแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน สีฟ้า เช่น หากนำไปใช้ในห้องอาบน้ำจะทำให้รู้สึก เย็นชื่นใจ อารมณ์สงบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายๆ นอนไม่หลับ มีความกลัว ตกใจง่าย คิดมาก3. ใช้แสงสีเพื่อถนอมสายตาแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว และสีดำ เหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้น สายตายาว และตาบอดสี 4. …

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน Read More »

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ต้นหอม หัวหอม

ในชีวิตประจำวันเรามักจะคุ้นเคยกับผักปรุงรสประเภท ต้นหอม กระเทียม ขิง ความจริงสมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหล่านี้ล้วนสามารถนำมาปรับใช้ในการป้องกันและดูแลสุขภาพได้ทั้งสิ้น ต้นหอม มีอีกฉายาว่า ผักพี่ใหญ่ (菜伯) หรือผักของปอด (肺之菜) บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับต้นหอม ต้นหอมรับประทานสด ฤทธิ์ร้อน รสเผ็ด กระจาย เมื่อนำไปต้มหรือทำให้สุกจะมีฤทธิ์อุ่นรสหวาน ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง 1. รับประทานเป็ดย่างปักกิ่งจึงต้องกินร่วมกับต้นหอม เป็ดเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เย็น การนำไปปรุงเป็นอาหารจึงมักใช้กรรมวิธีทำให้แปรสภาพฤทธิ์เย็นให้ไปทางฤทธิ์ร้อน เพื่อให้เกิดความสมดุล เช่น ใช้การย่าง การทำเป็ดพะโล้ เป็นต้น ดังนั้นการรับประทานเป็ดย่างห่อด้วยแผ่นแป้งและต้นหอม จึงมีจุดมุ่งหมายในการลดฤทธิ์เย็นของเป็ด ทำให้อาหารที่รับประทานมีความสมดุลนั่นเอง 2. ต้นหอม เข้าเส้นลมปราณปอด กระตุ้นการขับเหงื่อ เปิดทวาร ต้นหอม ช่วยเปิดทวารส่วนบน ทำให้จมูกโล่ง ทวารส่วนล่างคือทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยการขับถ่ายอุจจาระ 3. ต้นหอม จัดเป็นสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับการอุ่นกระจายพลัง ถ้าเปรียบเทียบสมุนไพรในการอุ่นกระจายพลัง ต้นหอม (白葱) จัดว่าเป็นสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับช่องว่างลำตัวส่วนบน (ซ่างเจียว (上焦)ขิงแห้ง (干姜) เกี่ยวข้องกับช่องว่างลำตัวส่วนกลาง (จงเจียว 中焦) และฟู่จื่อ (附子) …

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ต้นหอม หัวหอม Read More »

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง

เปี่ยนเชวียะ扁鹊 (ก่อน ปีค.ศ.407 – 310) เป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานหลักการตรวจจับชีพจรแบบแพทย์จีน ครั้งหนึ่ง เว่ยเวินหวาง (魏文王) กษัตริย์แห่งรัฐฉินในสมัยชุ่นชิวจ้านกว่อ ( 春秋战国the Warring States period (475-221 BC) ได้สอบถามเปี่ยนเชวียะในข้อข้องใจบางประการ  เว่ยเวินหวางถาม “ในครอบครัวของเจ้ามีพี่น้อง 3 คน ล้วนแต่เป็นแพทย์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คนใครเก่งที่สุด?” เปี่ยนเชวียะตอบว่า  “พี่ชายคนโตเก่งที่สุด พี่คนรองเก่งรองมา ส่วนข้าพเจ้าเก่งน้อยที่สุด” เว่ยเวินหวางถามต่อ “แล้วเหตุใด เจ้าจึงเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่า?” เปี่ยนเชวียะตอบ “พี่ชายคนโตรักษาโรคก่อนเกิดโรค คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาได้ขจัดต้นเหตุและเงื่อนไขต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดโรค ชื่อเสียงความสามารถของเขาจึงไม่มีคนรู้ มีแต่คนในครอบครัวเท่านั้นที่รับรู้ ส่วนพี่ชายคนกลางรักษาโรคเมื่อโรคเพิ่งแสดงอาการเริ่มแรก คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการรักษาโรคง่ายๆ จึงมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ส่วนข้าพเจ้ารักษาเมื่อเป็นโรคเมื่อโรคลุกลามและมีความรุนแรงแล้ว คนทั่วไปเห็นข้าพเจ้าใช้เข็ม ใช้การปล่อยเลือด ใช้ยาทาพอกภายนอก ทำให้เข้าใจว่าเป็นแพทย์ฝีมือยอดเยี่ยม ชื่อเสียงจึงระบือไกลทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า พี่ชายคนโต ใช้แค่การมองพลังชีวิต บ่งบอกถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ก็หาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลตั้งแต่โรคยังไม่ก่อตัว เป็นการหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา …

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง Read More »

“ถั่วเขียว” อาหารสุขภาพหน้าร้อน

แพทย์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง ได้บรรยายถึงสรรพคุณของถั่วเขียวไว้ว่า “สรรพคุณ  เสริมบำรุงหยวนซี่ ปรับประสาน 5 อวัยวะภายใน สงบจิตประสาท วิ่งเส้นลมปราณ 12 เส้น ขับลมที่มากระทำจากภายนอก  ลดน้ำตาลในเลือด ทำให้ผิวนุ่ม ลดบวม รับประทานได้ต่อเนื่องนานๆ”  (绿豆有补益元气,调和五脏,安精神,行十二经脉., 去浮风,止消渴,利肿胀) คัมภีร์ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” (本草纲目 ) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของถั่วเขียวไว้ว่า “เป็นยาลดบวม ขับพิษ ขับร้อน แก้ร้อนจากแดด และอาการกระหายน้ำ บำรุงจิตประสาทและหยวนซี่ เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ กระเพาะอาหาร” ยังเหมาะกับคนที่ไขมันในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูง  ขับพิษจากตับ  ยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย  เหมาะกับทุกวัย รวมถึงเด็กและผู้ใหญ่ เทคนิคการต้มถั่วเขียวให้ได้คุณภาพ “ถั่วเขียว” ถ้าต้มไม่เป็นเนื้อจะไม่สุก ต้มมากไปเนื้อจะเละ การต้มต้องไม่ให้ถั่วเขียวเละ หรือทำให้น้ำต้มถั่วเขียวมีลักษณะขุ่น เพราะจะทำให้ขาดสรรพคุณและรสชาติที่อร่อย ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการต้มถั่วเขียว ล้างถั่วเขียวให้สะอาด เอาไปแช่ในน้ำที่เดือดแล้ว 20 นาที แล้วกรองเอาน้ำทิ้ง นำไปต้มกับน้ำเย็นในหม้อด้วยไฟที่แรง นาน 40 นาที …

“ถั่วเขียว” อาหารสุขภาพหน้าร้อน Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นที่มีมากว่า 5,000 ปี สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า องค์ประกอบหลักของการแพทย์แผนจีนคือ การวินิจฉัยหรือการบอกโรค การรักษาด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยหนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา โดยหลักพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนจะเกี่ยวข้องกับหยินหยาง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่าเกิดจากการเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงอาจมาจากการยกของหนักผิดท่า ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ทำให้เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว  โดยปกติแล้วกระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน และปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่องและเท้า ทางร่วม…รักษาโรค  ในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องดูการตรวจเอกซเรย์กระดูกว่ามีลักษณะ อย่างไร มีการกดทับของกระดูกมากน้อยแค่ไหน ถ้ากดทับไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเสี่ยงว่าผลที่ได้รับอาจไม่ดีอย่างที่คาดคิด  สำหรับแพทย์แผนจีน สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือ การทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล สำหรับผู้ที่ถูกกดทับมาก และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว สามารถใช้การแพทย์แผนจีนร่วมกับการรักษาแผนตะวันตกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของร่างกายได้ด้วย “อาการปวดของผู้ป่วย เกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณติดขัด ดังนั้นในการบรรเทาอาการปวด เราจะเน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ซึ่งสาเหตุการติดขัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือดหรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล” …

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท Read More »