ความผิดปกติของร่างกายในมุมมองของแพทย์แผนจีน

มือ บอกโรค

ทางแพทย์จีนถือว่าลักษณะของมือ สีของฝ่ามือ ความชุ่มแห้งของมือ และหลอดเลือดของฝ่ามือก็มีความสามารถบอกความสมบูรณ์ของร่างกายได้ ความอวบของมือถ้าเป็นผู้ที่มีมืออวบ แสดงว่าเป็นผู้ที่มีพลังเต็มเปี่ยมในการทำงาน ถ้ามือเล็กเรียวและอ่อน แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคได้ง่าย บางครั้งแม้มือจะอวบ แต่ถ้าอ่อนไม่มีแรง แสดงว่าร่างกายไม่แข็งแรง เช่นกันถ้ากล้ามเนื้อบนฝ่ามือแน่น แต่ขาดความยืดหยุ่น แสดงว่าเป็นผู้ที่มีนิสัยค่อนข้างแข็งกระด้าง ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น ดังนั้นเนื้อบริเวณฝ่ามือควรแน่น แต่จะต้องมีความอ่อนในระดับพอเหมาะ ตลอดจนมีความยืดหยุ่น ร่างกายจึงจะแข็งแรงและมีพลังอย่างเต็มเปี่ยมในการทำกิจการงานถ้ามือไม่ค่อยมีเนื้อและกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดีถ้ากล้ามเนื้อใต้หัวแม่มือ หรือบริเวณสันมือใต้นิ้วก้อยลีบ สีผิวหมองไม่สดใส แสดงว่าเจ้าของมือ มักเป็นโรคบิดหรือท้องเสียเรื้อรัง สีของฝ่ามือคนที่มีร่างกายปกติฝ่ามือจะมีสีแดงเรื่อ ๆ และสดใส กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น เวลาจับสิ่งของจะมั่นคงหากสีผิวของฝ่ามือเปลี่ยน ย่อมบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ แต่จะต้องระมัดระวังปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อฝ่ามืออื่น ๆ เช่น ภูมิอากาศ สารที่ติดหรือเปื้อนมือถ้าฝ่ามือขาวซีด แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดถ้าฝ่ามือสีคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับไตถ้าฝ่ามือสีม่วง แสดงว่าระบบไหลเวียนของเลือดไม่ดีถ้าฝ่ามือสีน้ำเงิน แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ถ้าฝ่ามือสีเขียว แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือระบบย่อยลำเลียง ดูดซึมไม่ดีถ้าฝ่ามือสีเหลองทอง แสดงว่าเป็นโรคเกี่ยวกับตับถ้าฝ่ามือสีแดงเข้ม แสดงว่าเป็นโรคร้อน (ติดเชื้อมีไข้) ถ้าฝ่ามือขาวซีดหรือเขียวคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคโลหิตจาง มีอาการห้อเลือด ความดันเลือดสูงหรืออาจต่ำก็ได้ เป็นโรคหัวใจ เกาต์ เป็นต้น ถ้าเส้นหลักบนฝ่ามือทั้งสามคือ …

มือ บอกโรค Read More »

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง

เรื่องพลังบนเส้นลมปราณ การฝังเข็มหรือกดจุด (ซึ่งต้องกดให้ลึกพอ) นอกจากจะสามารถทะลวงให้พลังไหลเวียนคล่องเพื่อรักษาโรคต่างๆ ตามแนวทางเดินของเส้นแล้วยังมีปรากฏการณ์แปลกๆ คือการรักษาพลังลมปราณข้ามเส้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยปวดเอว สามารถใช้การฝังเข็มหรือกดจุดที่บริเวณเหนือข้อมือทำให้อาการปวดเคล็ดเอวทุเลาลงได้ผู้ป่วยปวดต้นคอ สามารถฝังเข็มหรือสกัดจุดที่บริเวณมือ ทำให้หายคอเคล็ดได้ผู้ป่วยปวดหัวไหล่ ฝังเข็มสกัดจุดบนหน้าแข้ง ทำให้หายปวดหัวไหล่ได้ผู้ป่วยหญิงมีอาการปวดหัวไหล่ซ้าย ยกแขนไม่ถนัด มีอาการปวดตึง มือไขว้หลังไม่ได้ เป็นมาประมาณ 2-3 วัน กินยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ค่อยทุเลา แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เนื้อเยื่อรอบหัวไหล่อักเสบ ไปหาหมอฝังเข็ม หมอฝังเข็มตรวจคลำจุดบริเวณหน้าแข้งซ้ายและขวา พบว่ามีจุดกดเจ็บบริเวณหน้า แข้งขวามากกว่าซ้าย กดแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมาก หมอฝังเข็มใช้ เข็มยาวประมาณ 3 นิ้ว แทงลงบนจุดนั้นลึกประมาณ 1.5 นิ้ว กระตุ้นเข็มขึ้นลงและหมุนอย่างแรง จนผู้ป่วยเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ เสียวๆ (ความรู้สึกว่าพลังลมปราณเคลื่อน) กระตุ้น 3 นาที คาเข็มไว้ 20 นาที ระหว่าง 20 นาทีกระตุ้นเป็นระยะ 2-3 ครั้ง ระหว่างกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนไปด้วย หลังจากการฝังเข็ม จะพบว่ามีผู้ป่วยหายปวดและเคลื่อน ไหวหัวไหล่ได้คล่องทันที (บางรายที่เป็นมากอาจต้องใช้การฝังเข็มแบบนี้หลายครั้ง หรือต้องเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่ม)ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น การปวดหัวไหล่สามารถทุเลาหรือ …

ปวดหัวไหล่ สกัดจุดที่หน้าแข้ง Read More »

รักษาอัมพฤกษ์-อัมพาต

เวลาเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยบางรายจะถูกส่งเข้าโรงพยาบาล มีการตรวจเช็คร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หาความผิดปกติ หาสาเหตุ หาตำแหน่งของการเกิดโรค ถ้าเป็น ไม่มาก บ้างก็จะหาหมอนวด หมอยาจีน หมอบ้าน ทำการจับเส้น นวด หรือกินยาหม้อ ฝังเข็ม โดยไม่ยอมไปหาหมอที่โรงพยาบาล บางรายภายหลังฟื้นจากหมดสติ มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ร่างกายครึ่งซีกอ่อนแรง หรือแข็งเกร็ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด นอกจากจะไปทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังไปหาหมอฝังเข็ม หมอนวด หมอยาจีน หมอบ้านร่วมรักษาไปด้วยกัน ตำราแพทย์จีนโบราณกล่าวถึงโรคที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เกิดเร็ว มีอาการหลายรูปแบบ ชักกระตุก หมดสติ มีสาเหตุจากลม การที่ผู้ป่วยหลังตื่นนอนพบว่ามีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท หน้าเบี้ยว หรือยกแขนขาซีกหนึ่งไม่ขึ้น หรือบางรายขณะประชุมเครียดหมดสติไปทันที เป็นอาการที่เกิดอย่างเฉียบพลัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จึงเรียกว่า กระทบลม (ซึ่งอาจเกิดจากลมภายในหรือลมภายนอกก็ได้) แพทย์จีนเรียกว่า จ้งเฟิง อาการกระทบลม หรือจ้งเฟิง  หมายถึงอะไร?ทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีความหมายถึงภาวะโรคหลอดเลือดทางสมองที่มีการแตก ตีบหรือตันของหลอดเลือด หรือจากสาเหตุของเนื้องอก การอักเสบของหลอดเลือดแดงในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการหมดสติ …

รักษาอัมพฤกษ์-อัมพาต Read More »

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก

อาการปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงหลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นสาวๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อาการปวดประจำเดือนในวัยรุ่นสาวๆ หรือแม้กระทั่งวัยเลยคำว่า “สาว” มานานแล้ว แต่ยังมีอาการปวดประจำเดือนอยู่นั้น คือสัญญาณเตือนภัยที่น่ากลัว บางคนเมื่ออายุยังน้อยๆ และมีอาการปวดประจำเดือน เมื่อไปตรวจส่วนใหญ่ก็คงจะไม่พบความผิดปกติอะไร แต่หากอายุมากขึ้นและยังปวดประจำเดือนอยู่ คราวนี้ไปตรวจอาจพบว่ามีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น วิธีคิดแบบนี้หมายความว่า เนื้องอกป้องกันลำบาก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องเกิด ถ้าเป็นมากก็ตัดออก หรือในบางรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกงอกผิดที่ บางทีก็มีพังผืดยึดเกาะ บ้าง ยึดติดกับลำไส้ ก็ตัดได้ลำบาก แต่บางคนที่อายุสูงขึ้นกว่านั้น มองว่าไม่ใช้มดลูกแล้วก็อาจจะพิจารณาตัดมดลูกยกออกออกทั้งยวงเลย ประเด็นสำคัญก็คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้น หากพิจารณากันให้ดีๆ มองให้ต่อเนื่องจะเห็นว่า จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรกๆ ก็ยังไม่เป็นก้อนเนื้องอก เพียงแต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งมักจะมาตรวจพบในภายหลัง ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นมานี้ ก็คือผลที่ต่อเนื่องมาจากอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงออกให้เห็นในช่วงแรกๆ เช่น อาการปวดประจำเดือนนั่นเอง ซึ่งในทางแพทย์จีนเชื่อว่า สาเหตุใหญ่ๆ ของการเกิดเนื้องอกที่มีสัญญาณเตือนจากภาวะปวดประจำเดือนนั้น มักจะเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกายที่มีพื้นฐานหลักๆ อยู่ 3 แบบคือ 1.กลุ่มที่มีเลือดและพลังพร่อง หรือเลือดและพลังไม่พอ คนกลุ่มนี้ในเวลาปกติมักจะเป็นคนที่มีประจำเดือนน้อยอยู่แล้ว หน้าตามักจะซีดเซียว ใบหน้าดูไม่ค่อยมีสีเลือด ลิ้นมักจะมีสีออกซีดๆ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเป็นคนที่มีเลือดและพลังไม่พอ มักเป็นคนที่เหนื่อยง่าย …

ปวดประจำเดือน สัญญาณเตือนเนื้องอก Read More »

ถั่งเช่า สมุนไพรที่ใครๆก็ร่ำลือ

ถั่งเช่า เป็นสมุนไพรที่ร่ำลือกันมากทั้งในด้านสรรพคุณของยาบำรุงร่างกาย และราคาที่แสนจะแพง ราคากิโลกรัมละหลายแสนบาท หรือ 1 กรัมราคาร่วมพันบาทเลยทีเดียว สมุนไพรจีนที่ถือว่าเป็น 4 สุดยอดหญ้าเทวดา ( 四大仙草) คือ เหรินเซิน (โสมคน)人参, เหอโส่วอู (. 何首鸟),  เห็ดหลิงจือ ( 灵芝) ตงฉงเซี่ยเฉ่าหรือถั่งเช่า (冬虫夏草 ) สมุนไพรจีนที่ถือว่าเป็น 3 สุดยอดของยาบำรุง ( 三大补品 ) คือ เหรินเซิน (โสมคน) 人参, ลู่หยง鹿茸 (เขากวางอ่อน) ตงฉงเซี่ยเฉ่าหรือถั่งเช่า (.冬虫夏草)   ดังนั้นราแมลง หรือถั่งเช่า จึงเป็นยาสมุนไพรที่เชื่อว่า เป็นสุดยอดของสมุนไพรจีนทีเดียว     การกำเนิดของสมุนไพร ถั่งเช่า จากหนอนผีเสื้อค้างคาวที่โตเต็มที่ในฤดูหนาว และถูกเชื้อราเจาะเข้าไปฟักตัวภายในจนตัวหนอนตาย เมื่อเชื้อราโตเต็มที่ในช่วงต้นฤดูร้อน เปลี่ยนสภาพเป็นต้นหญ้า ถั่งเช่าจึงเป็นสมุนไพรที่มีพื้นฐานการแปรเปลี่ยนของพลังจากตัวหนอนและเชื้อราเข้าด้วยกัน เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์กลาง ค่อนอุ่น รสหวาน เข้าเส้นลมปราณ ปอด …

ถั่งเช่า สมุนไพรที่ใครๆก็ร่ำลือ Read More »

ทำไมแพทย์จีนวินิจฉัยว่า เลือดคั่งค้างอุดกั้น

ภาวะเลือดคั่งค้างอุดกั้น เป็นภาวะที่เลือดหยุดนิ่ง ไหลเวียนช้าลง ไม่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เป็นก้อน มีเลือดออก ลิ้นเขียวม่วง อาการสำคัญที่ตรวจพบ และอาการร่วมอื่นๆ อาการเด่นที่สำคัญ คือ เจ็บเหมือนเข็มแทง มีก้อนแข็ง มีเลือดออกเป็นสีม่วงคล้ำ ริมฝีปาก ลิ้น เล็บเขียวม่วง อาการรวมอื่นๆ ได้แก่ ปวดเหมือนมีดแทง ตำแหน่งแน่นอน กดเจ็บ ปวดมากตอนกลางคืน มีก้อนแข็ง กดแล้วไม่เคลื่อนที่ เลือดออกหยุดๆ หายๆ (กะปริด-กะปรอย)  สีม่วงคล้ำ หรือร่วมกับเป็นก้อนเลือด อุจจาระสีดำมีลักษณะคล้ายน้ำมันสน ใบหน้าดำ ผิวหนังเป็นสะเก็ด เล็บ ริมฝีปากเขียวม่วง ในสตรีประจำเดือนอาจขาดหายไปหรือประจำเดือนผิดปกติ ลักษณะของลิ้น ลิ้นสีม่วงคล้ำ มีรอยจ้ำเลือด หรือหลอดเลือดดำใต้ลิ้นขดงอ และขยายตัว ชีพจรเล็กฝืดหรือไม่เป็นจังหวะ สาเหตุของเลือดตกค้างอุดกั้น กลไกพลังติดขัด พลังติดขัดทำให้เลือดไม่ไหลเวียน เลือดเย็นทำให้เลือดเกาะตัว การไหลเวียนช้าลง เลือดร้อนทำให้เลือดข้นเหนียว เกิดความหนืดเลือดไหลไม่คล่อง พลังพร่องไม่มีกำลัง เลือดไม่มีแรงผลักดัน อุบัติเหตุกระทบกระแทก หกล้ม ให้ช้ำในเลือดตกค้าง …

ทำไมแพทย์จีนวินิจฉัยว่า เลือดคั่งค้างอุดกั้น Read More »

ภาวะไม่หลั่งปัสสาวะไม่สุด ปัญหากวนใจคุณผู้ชาย

ผู้ชายวัยกลางคนถึงวัยชรา อายุ ๕๐-๗๐ ปี จำนวนมากมีปัญหาที่อึดอัดอยู่ในใจ ไม่ต้องการบอกให้ใครรู้ อาจจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาว่า ปัสสาวะบ่อยแต่ไม่สุด ไม่มีแรงเบ่ง ความจริงมีอาการอะไรอีกหลายอย่างที่บ่งบอกความผิดปกติมานาน แพทย์มักจะตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยว ข้องกับต่อมลูกหมากโตหรือไม่ แล้วทำการตรวจขนาดของต่อมลูกหมากโดยการใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปทางทวาร สัมผัสขนาดความแข็งของต่อมลูกหมากซึ่งติดกับลำไส้ใหญ่บริเวณด้านหน้า ผู้ป่วยรายหนึ่งมาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดหน่วงบริเวณฝีเย็บ ท้องน้อย มีผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง บริเวณถุงอัณฑะ ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อยๆ ๒ ชั่วโมงต่อครั้ง ปัสสาวะไม่พุ่ง (ลำเล็ก ไม่มีแรงพุ่ง) ปัสสาวะหมดแล้วยังต้องเบ่งต่ออีก (ปัสสาวะไม่สุด) กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ (เพราะต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ บ่อยๆ คืนละ ๔-๕ ครั้ง เวลากลับไปนอนก็นอนหลับยาก) นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาทางจิตใจร่วมด้วยที่ไม่ต้องการเปิดเผย คือภาวะไม่หลั่ง หรือหลั่งแล้วไม่มีน้ำอสุจิออก ผู้ป่วยบางรายมีเลือดผสมออกมาและมีปัญหามะเขือเผา (อวัยวะเพศไม่แข็งตัว) การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมอยู่ด้วย จากการซักประวัติย้อนหลัง ผู้ป่วยมีปัญหาต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน (ไม่ใช่จากการติดเชื้อแบคทีเรียจากภายนอก) การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา จากสถิติพบว่ากลุ่มที่ติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ มีร้อยละ ๕ และที่ไม่ติดเชื้อหรือเป็นแบบเรื้อรังมีร้อยละ ๙๕ อาการต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง คือปัสสาวะบ่อย ปวดแสบในลำกล้อง (ท่อปัสสาวะ) …

ภาวะไม่หลั่งปัสสาวะไม่สุด ปัญหากวนใจคุณผู้ชาย Read More »

ดูโหวงเฮ้ง จากสีสันของผู้ป่วย

“คุณเป็นโรคระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดีครับ” แพทย์จีนท่านหนึ่งพูดกับคนไข้ภายหลังจากได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องตรวจพื้นฐาน คือ อวัยวะสัมผัสของร่างกาย ตา จมูก ปาก หู ผิวหนัง (สัมผัส) โดยยังไม่ต้องให้ผู้ป่วยได้บอกถึงปัญหาที่มาหา ในทำนองเดียวกัน ผู้อ่านคงเคยได้ยินบ่อย ๆที่แพทย์จีนมักจะทักคนไข้ว่า “คุณเป็นโรคไต ไตไม่แข็งแรง ต้องบำรุงไต” “คุณเป็นโรคตับ ไฟตับสูง… ต้องให้ยาไปลดไฟตับ” “คุณเป็นโรคพลังพร่อง เกิดจากระบบการย่อยไม่ดี ต้องบำรุงม้าม” ฯลฯ การตรวจร่างกายด้วยเครื่องมือที่ประจำตัวหมอ คือ ประสาทสัมผัสด้วยความละเอียดอ่อนและยึดคุม ความเข้าใจของหลักปรัชญาปัญจธาตุและยิน-หยาง หลักทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์จีนสามารถจับเอาปรากฏการณ์ที่สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสสู่การวิเคราะห์ปัญหาของความสมดุลของอวัยวะต่างๆภายในนับว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจ สีสันทั้ง 5 กับความสัมพันธ์กับอวัยวะภายในร่างกายอวัยวะภายในทั้ง 5 ได้แก่ หัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต มีความสัมพันธ์กับสีทั้ง 5 คือ แดง เขียว เหลือง ขาว ดำ  สีสันที่ปรากฏบนใบหน้าจะสะท้อนภาวะของอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้อง คนที่มีสีสันบนใบหน้าขาวซีด ร่วมกับอาการหอบเหนื่อย อ่อนเพลียง่าย เวลาเคลื่อนไหวมาก หน่อยก็เหนื่อย เหงื่อออกง่าย เป็นหวัดง่าย แสดงว่า ปอดไม่แข็งแรง …

ดูโหวงเฮ้ง จากสีสันของผู้ป่วย Read More »

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง

คุณแม่พาลูกสาวมาพบแพทย์จีนด้วยปัญหาลูกสาวเป็นรังแคและคันศีรษะบ่อยๆ ใช้ยาสระผมมาหลายยี่ห้อก็ไม่ค่อยดีขึ้น หลังจากตรวจร่างกายและจับชีพจร รวมทั้งถามประวัติอาการละเอียดแล้ว พบว่าเด็กมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลานอนกลางคืนบริเวณศีรษะ จึงให้การรักษาด้วยยาบำรุงไตยิน แนะนำการทำความสะอาดเส้นผม การกินอาหาร หลังจากนั้นไม่นานเหงื่อบริเวณศีรษะก็ออกน้อยลง ลูกสาวของเธอก็ไม่เป็นรังแคอีกเลย ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับเหงื่อและการเกิดโรค เช่น“ทำไมเวลาออกกำลังกายเหงื่อไม่ออกเลย”“ทำไมเหงื่อของผมออกง่ายจังเลย ทำอะไรเล็กน้อยก็เหงื่อออกท่วมตัว”“ทำไมเวลานอนกลางคืน ทั้งๆที่นอนห้องแอร์เหงื่อก็ยังออกมาก แต่กลางวันไม่ยักจะออก”“เวลาเริ่มมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจะมีไข้สูง จะต้องออกไปขุดดินทำให้เหงื่อออก อาการไข้จะหายไปเองโดยไม่ต้องกินยา”พูดถึงเรื่อง “เหงื่อ” เป็นหัวข้อหนึ่งที่แพทย์จีนต้องถามถึง วิธีการตรวจแบบแผนจีน “มอง, ดม-สูด , ถาม , สัมผัส” การถามเรื่องของเหงื่อจะบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ ข้อมูลเรื่องเหงื่อจึงมีความสำคัญที่นำไปสู่การรักษาโรคที่เป็นปัญหาหลัก และจะพบว่าโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันก็อาจหายไปพร้อมกับเรื่องของเหงื่อออกผิดปกติได้ ความผิดปกติของอาการเหงื่อออกแบ่งเป็น1. ปริมาณของเหงื่อที่ออกผิดปกติ– ออกน้อยไป , ไม่ค่อยมีเหงื่อออก-ออกมากไป2. ช่วงเวลาที่เหงื่อออก-ออกตอนกลางคืน-เหงื่อออกเองโดยเฉพาะกลางวัน3. ตำแหน่งที่เหงื่อออก-ส่วนศีรษะ-ส่วนล่าง , ส่วนบน , ด้านซ้าย , ด้านขวา-ส่วนฝ่ามือ , ฝ่าเท้า สาเหตุใหญ่ๆของอาการเหงื่อออกผิดปกติ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท 1. สาเหตุจากภายนอกมากระทำ : โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อน , เย็น …

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง Read More »

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ต่อมลูกหมากโต เนื่องจากตัวต่อมมีขนาดอ้วนโตขึ้น โดยไม่ใช่เนื้อร้าย มีบันทึก ไว้ในตำราแพทย์จีนโบราณ โดยเรียกอาการนี้ว่า “ปัสสาวะ ติดขัดไม่คล่อง ปัสสาวะเป็นหยดๆ และขาดช่วงเป็นระยะ” พยาธิสภาพของโรคไม่แจ่มชัดทั้งหมด แต่สามารถอธิบายในแง่ของการทำงานของอวัยวะภายในทั้ง 5 ได้ดังนี้ แพทย์แผนจีนถือว่า การที่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้คล่องต้อง อาศัยพลังจากซานเจียว (ช่องไฟธาตุทั้ง 3 ที่อยู่บริเวณกลางลำตัว ส่วนบน คือช่องอก เป็นส่วนเหนือกะบังลม ส่วนกลางคือ ช่องท้องส่วนที่เหนือสะดือ และส่วนล่างคือ ส่วนช่องท้องที่อยู่ใต้สะดือ) มาขับเคลื่อน                                                                            พลังซานเจียวต้องอาศัยพลังจากอวัยวะภายใน 3 ส่วน ที่สำคัญคือ ปอด, ม้าม, ไต มาสนับสนุน กล่าวคือ -ปอด มีหน้าที่กระจายน้ำ ส่วนบนลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ-ม้าม มีหน้าที่ดูดซึม และ ส่งสารอาหารของเหลวที่ดีไปปอด ขับส่วนที่เสียสู่ส่วนล่างไปลำไส้เล็ก, ไต และกระเพาะปัสสาวะ -ไต เป็นตัวกำหนดน้ำ ไตช่วยให้ม้ามลำเลียงของเหลวในร่างกายได้ดีไม่ติดขัด ช่วยในการสร้างปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะก็ต้องอาศัยพลังของไต นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการอุดกั้นของตับทำให้พลังของซานเจียวในการที่ผลักดันการขับถ่ายของน้ำจากม้าม-ปอด-ไตขัดข้องการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยที่มีอาการของต่อมลูกหมากโต จึงสามารถแยกโรคตามสาเหตุที่ต่างกันดังนี้1. พลังไตหยางพร่อง ปัสสาวะไม่คล่อง ติดขัด ไม่มีแรงเบ่ง สีหน้าขาวซีด ใบหน้าไม่มีชีวิตชีวา เอว, หัวเข่า รู้สึกเย็น และปวดเมื่อย …

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

เวียนศีรษะ บ้านหมุน

แพทย์แผนจีนมองภาวะเวียนศีรษะ – บ้านหมุน ในภาพรวม เกี่ยวข้องกับสภาพร่างกายพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละรายและสิ่งก่อโรค โดยหลักการวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (เปี้ยนเจิ้ง 辨证) กล่าวคือ วิเคราะห์การไหลเวียนของเส้นลมปราณและสภาพร่างกาย รวมถึงปัจจัยก่อโรคที่มากระทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ อาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) หมายถึง อาการตาลาย บ้านหมุน ถ้าอาการไม่รุนแรงปิดตาอาการจะดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการหมุนโคลงเคลงเหมือนนั่งในรถในเรือ ไม่สามารถลุกยืนได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หน้าขาวซีด ร่วมด้วยแพทย์แผนจีนมีการกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะจากปัจจัยและกลไกต่างๆ เช่น– อาการเวียนศีรษะ คือ ลมที่อยู่ส่วนบน เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ – อาการเวียนศีรษะ คือ ภาวะพร่องส่วนบน พลังขึ้นไปสมองไม่พอ – อาการเวียนศีรษะ เพราะไตพร่องการสร้าง ไขสมองน้อยลง – อาการเวียนศีรษะ เกิดจากเสมหะปิดกั้น ด้านบน – ลิ่วหยิน (六淫) ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก มากระทบ – การแปรปรวนทางอารมณ์ทั้ง 7 ทำให้เกิด อาการเวียนศีรษะ – …

เวียนศีรษะ บ้านหมุน Read More »

10 เทคนิคการมอง ประเมินภาวะสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์จีน

แพทย์แผนจีนกับการประเมินสุขภาพแบบ Low tech แต่ High touch  ด้วยข้อจำกัดทางประวัติศาสตร์ ความรู้ และการพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์แผนจีนเป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ใช้การสังเกตโดยอาศัยประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 คือ ตาใช้มองดู หูใช้ฟัง จมูกใช้ดม ผิวหนังใช้สัมผัส ลิ้นใช้รับรส ปากใช้ถาม แล้วจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาประเมิน วิเคราะห์ แยกแยะความผิดปกติของสมดุลอวัยวะภายใน การไหลเวียนเลือดและพลังที่สะท้อนให้เห็นจากภายนอก นำไปสู่การป้องกันและรักษาโรค แพทย์แผนจีนมีเทคนิคการมอง (สังเกต) จากสิ่งที่ปรากฏภายนอกแบบง่ายๆ ดังนี้ 1. ดวงตาทั้งคู่มีประกาย มีชีวิตชีวา – ตาขาว สะท้อนอวัยวะปอด                             – ตาดำ สะท้อนอวัยวะตับ – รูม่านตา สะท้อนอวัยวะไต                            – หนังตา สะท้อนอวัยวะม้าม – เส้นเลือดฝอยที่ตาขาว สะท้อนอวัยะหัวใจ ความสมบูรณ์ของอวัยวะภายในจึงสามารถมองได้จากความมีชีวิตชีวา ประกายที่เปล่งจากดวงตา 2. ใบหน้ามีสีเลือดฝาด มีน้ำมีนวล ใบหน้าเป็นตำแหน่งที่มีการไหลเวียนของเลือดและพลัง ความสมบูรณ์ของเลือดและพลังจึงสามารถมองได้จากสีเลือดและความมีน้ำมีนวลบนใบหน้า 3. เสียงพูดมีพลัง …

10 เทคนิคการมอง ประเมินภาวะสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย

เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยตรรกะแล้ว คนที่ไม่มี การออกกำลังกาย เลยก็ควรจะอายุสั้น แต่บ่อยครั้งกลับพบว่านักกีฬาที่เคยสร้างชื่อเสียงสมัยหนุ่มสาวหลายคนมีอายุสั้นอย่างเหลือเชื่อ เช่น ฟลอเรนซ์ จอยเนอร์ นักวิ่งสาวลมกรดเสียชีวิตในปี 2541 ขณะมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น บางคนสงสัยตั้งคำถามว่าระหว่างคนที่ทำงานใช้แรงงานกายทั้งวัน (เช่น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชาวนา) กับคนที่นั่งสมาธิมากๆ ไม่ค่อยใช้แรงงานกาย (เช่น นักบวช พระ) ใครจะมีอายุยืนยาวกว่า เต่า เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหว ก็เชื่องช้าอืดอาด กลับมีอายุยืนยาว นกกระเรียน เป็นนกที่อยู่โดดเดี่ยว ขณะบินก็เคลื่อนไหวนุ่มนวลเชื่องช้า ก็มีอายุยืนยาว แมลงพวก mayfly ที่เคลื่อนไหวเร็วกลับมีอายุสั้น ปัญหาเรื่องการออกกำลังกาย ความหมายปัจจุบัน กับโบราณแบบจีนก็มีทัศนะแตกต่างกันหลายด้าน การออกกำลังกาย ในทัศนะแพทย์แผนจีนประสานการเคลื่อนไหวกับการหยุดนิ่ง – ความสมดุล ของยินหยางแพทย์แผนจีนมองว่าการเคลื่อนไหวเกิดหยาง  การเคลื่อนไหวก็มีข้อดีของการเคลื่อนไหวการหยุดนิ่งเกิดยิน  การหยุดนิ่งก็มีข้อดีของการหยุดนิ่งแพทย์จีนที่ให้ความสำคัญกับ  ” การเคลื่อนไหว ” คือ ท่านปรมาจารย์ ฮั้วถอ (  หมอฮูโต๋) ท่านกล่าวว่า  ” การเคลื่อนไหวทำให้พลังเคลื่อน หลอดเลือดไม่ติด …

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย Read More »

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร?

ในหน้าร้อนระบบการย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว การปฏิบัติตัวสำหรับการกินอาหารที่เหมาะสมในหน้าร้อนนั้น พอสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้าวต้มมื้อเช้าตอนตื่นนอน ท้องจะว่างเนื่องจากกระเพาะอาหารพร่อง ควรเริ่มต้นมื้อเช้าด้วยอาหารอ่อนๆ เพราะในหน้าร้อน ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากความร้อนทั้งกลางคืนและกลางวัน ทำให้สูญเสียน้ำ การทำงานของระบบย่อยและดูดซึมอาหารลดลง จึงยิ่งต้องถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่จะย่อยสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย ข้าวต้มอาจผสมถั่วเขียว, เมล็ดบัว หรือรากบัว ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน เสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม 2. ควรกินผลไม้ที่แพทย์แผนจีนถือว่ามีคุณสมบัติเย็น ขับร้อน เพิ่มน้ำในร่างกายผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น เช่น แตงกวา, แตงโม, แตงไทย, มังคุด, สับปะรด, สาลี่ เป็นต้น เหมาะสำหรับ กินแก้กระหายและขับร้อนในร่างกาย แต่ไม่ควรแช่เย็นจัด หรือกินในตอนกลางคืน หรือขณะที่ท้องว่างหรือเวลาหิวจัด 3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทฤษฎีแพทย์จีนถือว่ามีคุณสมบัติร้อน อาหารทอดๆ มันๆ แห้งๆควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกทอดๆ มันๆ เช่น ถั่วทอด,  กล้วยแขก, ปาท่องโก๋, ไก่ทอด ฯลฯ หรืออาหารที่มีคุณสมบัติร้อน เช่น น้อยหน่า, ทุเรียน, ลิ้นจี่, ลำไย, ขนุน …

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร? Read More »

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน

“อากาศร้อนๆ แบบนี้ ถ้าได้ดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง คงสดชื่นน่าดู”“อากาศร้อนมาก ผมเลยนอนบนพื้นปูน เปิดพัดลมเย็นสบายดี แต่พอตื่นขึ้นมารู้สึกอ่อนเพลียหนักๆ หัวเหมือนจะไม่สบาย”“ปิดเทอมหน้าร้อน พาเด็กๆ ไปห้างสรรพสินค้าทีไร กลับมาไม่สบายทุกทีเลย” ในหน้าร้อน ยามกระหายน้ำ ทุกคนมักนึกถึงน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำ อัดลม หรือไอศกรีม หรือหากอากาศร้อนมากๆ ถ้าอยู่บ้านมักใช้วิธีเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศจ่อถึงเนื้อถึงตัวทั้งวันทั้งคืน หรือบางคนนิยมไปหลบความร้อนตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ความเคยชินหลายอย่างอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้มากโดยที่เราคาดไม่ถึง แพทย์แผนจีนมีการบันทึกเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหน้าร้อนไว้อย่างน่าสนใจ แนวความคิดพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน คือ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติรอบตัวที่มีความเกี่ยวพันและผลกระทบต่อกันอย่างแยกไม่ออก การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวที่เด่นชัด คือ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฤดูกาล  ซึ่งได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ (มีลมแรง) ฤดูร้อน (มีแดดร้อน) ปลายฤดูร้อน(มีความชื้น) ฤดูใบไม้ร่วง (มีอากาศแห้ง) และฤดูหนาว (มีอากาศเย็น) จะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกายและการเกิดโรค สาเหตุแห่งโรคที่มากระทบร่างกายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและฤดูกาลมี ๖ ปัจจัยด้วยกัน คือ ลม แดดร้อน ความชื้น ความแห้ง ความเย็น และไฟ (ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย) ซึ่งแต่ละปัจจัยมีผลกระทบต่อการปรับตัวของร่างกายแตกต่างกัน ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือเพราะภาวะของร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้ …

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน Read More »