การรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน

โรคโควิด-19 ในทางแพทย์แผนจีนตามทฤษฎี《温疫论》เรียกว่า อี้ปิ้ง “疫病” สิ่งก่อโรคคือ พิษร้อน และพิษชื้น เป็นหลัก (热毒和湿毒为主) พยาธิสภาพเกี่ยวข้องกับ ความชื้น ความร้อน พิษ เลือดคั่ง ความแห้ง เสมหะ ภาวะพร่อง เมื่อสิ่งก่อโรคพิษร้อนชื้น(ไวรัสโควิด-19) โจมตีจากภายนอกระดับเว่ย 卫 (ผิวภายนอก) เข้าสู่ระดับชี่ 气 (มีไข้ ปวดเมื่อยตัว) และสู่ระดับลึกอิ๋งเซวี่ย 营血 (เข้าสู่ปอดและอวัยวะภายใน) ที่ทำให้มีอาการปอดบวม(ปอดร้อนชื้น) เกิดลิ่มเลือดอุดตัน(เลือดคั่ง) เกิดอาการช็อค หมดสติ (พิษร้อนเข้าเยื่อหุ้มหัวใจ-หัวใจ) ผู้ป่วยระยะรุนแรงและภาวะวิกฤติ อาการของ Long COVID มาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและความรุนแรงของโรค เมื่อได้รับเชื้อโควิด-19 บางคนอาจไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย บางคนอาจมีอาการหนักปานกลาง บางคนอาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต แพทย์แผนจีนมองว่ามาจากพื้นฐานภาวะร่างกายและเจิ้งชี่ (正气 พลังพื้นฐานของร่างกาย)ในการต่อสู้กับเสียชี่ (邪气 สิ่งก่อโรค)  ทำให้ผู้ป่วยมีหลายอาการและหลายอาการแสดงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้การรักษาผู้ป่วยมีการใช้แนวทาง หลักการ วิธีการ และตำรับยาที่ใช้รักษาแตกต่างกัน 1.  ลักษณะเบาหรือทั่วไป (轻型及普通型) …

ภาวะลองโควิด ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

โรคอัมพาตใบหน้า

หากมองปัญหาของโรคอัมพาตใบหน้า เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนได้ ดังนี้ 1. สาเหตุการเกิดโรคอัมพาตใบหน้า ที่ส่งผลให้เส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบหรือบวม แพทย์แผนปัจจุบัน ให้ความสนใจไปที่การติดเชื้อไวรัส และกล่าวถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดจากภาวะการกระทบความเย็นและตากลม ความเครียดทางอารมณ์ คนที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวานหรือบาดเจ็บบนใบหน้าในขณะที่ การเปี้ยนเจิ้งของแพทย์จีน เน้นไปที่ปัจจัยภายใน พื้นฐานร่างกาย บางคนเลือดพลังพร่อง บางคนยินพร่อง หยางแกร่ง (คล้ายกับความดันโลหิตสูง) บางคนเสมหะภายในมาก ระบบการย่อยไม่ดี หรือมีเสมหะสะสมภายในนานๆ (คล้ายกับภาวะไขมันในเลือดสูง) หรือคนที่บาดเจ็บบริเวณใบหน้า (ซึ่งทำให้เส้นลมปราณหยางหมิงถูกกระทบกระเทือนเป็นพื้นฐานอยู่ก่อน)นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกที่มากระทบ แพทย์จีนโบราณ ไม่มีคำว่า ไวรัส รู้จักแค่การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่มากระทบต่อร่างกายบริเวณใบหน้า จำแนกตามอาการอัมพาตว่ามีลักษณะหน้า ปวด หย่อน ร้อน ว่าเป็นปัจจัยชนิดไหนมากระทบ แล้วทำการใช้ยาขับปัจจัยก่อโรคเหล่านั้นออกไป 2. การรักษาแผนปัจจุบัน มุ่งไปที่รักษาเพื่อลดอาการบวมและการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 โดยตรง ระยะเริ่มแรกให้ยาเพร็ดนิโซโลนขนาดสูง และลดขนาดลง ยาต้านไวรัสพิจารณาเป็นรายๆ ไป และปล่อยให้ร่างกายหายเองแผนจีน แบ่งแยกลักษณะอัมพาตตามสภาพพื้นฐานสมดุลของร่างกาย และปัจจัยที่ก่อโรค รักษาพื้นฐานร่างกายควบคู่กับการขับปัจจัยก่อโรค เน้นสร้างสมดุลให้ร่างกายฟื้นตัวได้ด้วยตัวเองการฝังเข็ม ด้านหนึ่งเน้นเลือกจุดบนเส้นลมปราณหยางหมิงที่หล่อเลี้ยงบริเวณใบหน้า อีกด้านหนึ่งเน้นการขับลมจากภายนอกและปรับลมภายใน เช่น จุดเหอกู่ (合谷) จุดเฟิงฉือ (风池) หรือดึงพลังหยางลงล่าง เช่น …

โรคอัมพาตใบหน้า Read More »

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน

สาเหตุของการเกิดโรค1. ส่วนใหญ่เกิดจากบริเวณใบหน้ากระทบกับลมและความเย็น (风寒) เป็นการกระทบของลมต่อเส้นลมปราณจิงลั่ว (风中经络) ทำให้พลังไม่สามารถไปเลี้ยงใบหน้าได้ มีอาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท แบบเฉียบพลัน2. เส้นลมปราณหยางหมิงของขาที่วิ่งผ่านบริเวณปาก มีภาวะพร่อง ขาดพลังหล่อเลี้ยง เมื่อโดนลมกระทบ เกิดการหดตัวไม่คล่อง ลมที่กระทบมีทั้งลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น ลมเสมหะ รวมถึงภาวะเลือดอุดกั้น ภาวะพลังและเลือดติดขัด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปาก ตา บิดเบี้ยวได้ทั้งสิ้นการวินิจฉัยแบบเปี้ยนเจิ้ง (辨症论治)1. ลมกระทบจากภายนอก ทำให้เกิดอัมพาตที่ใบหน้า (风邪外袭)ลมรวมกับปัจจัยก่อโรคอาจเป็นความเย็น ความร้อน ความชื้น เมื่อมากระทบบริเวณใบหน้า คือ เส้นพลังลมปราณของหยางหมิงที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนใหญ่ ทำให้เลือดและพลังไหลเวียนไม่คล่อง กล้ามเนื้อที่ตาและปากอ่อนแรง ทำให้บิดเบี้ยวเพราะไม่มีกำลัง การรับความรู้สึกบนใบหน้าผิดปกติกระทบ ลมเย็น-กล้ามเนื้อใบหน้าปวดเกร็ง เพราะความเย็นทำให้หดตัวกระทบ ลมร้อน-กล้ามเนื้อใบหน้าหย่อน ผิวหนังร้อนแดงกระทบ ลมชื้น-กล้ามเนื้อใบหน้า หน้าบวม บางครั้งมีอาการปวดร่วมด้วย2. ลม ตับ เคลื่อนไหวภายใน (肝风内动)มีอาการอัมพาตใบหน้า ร่วมกับมีพื้นฐานร่างกายเป็นคนที่มีภาวะตับแกร่งหรือยินพร่อง-หยางแกร่ง มักมีอาการเวียนศีรษะ แขนขาชา ภาวะหยางที่มากเกินไปทะลวงผ่านเส้นลมปราณหยางหมิงบริเวณใบหน้า ทำให้ใบหน้าแดงก่ำ เวียนศีรษะมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีลิ้นแดงออกม่วง ชีพจรเร็วและตึงมีกำลัง ฝ้าบนลิ้นเหลือง หรือมีฝ้าบนลิ้นน้อย ตัวลิ้นแห้ง3. ลมเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ (风痰阻络)มีอาการอัมพาตบริเวณใบหน้า ร่วมกับพื้นฐานร่างกายที่บ่งบอกว่ามีเสมหะอุดกั้น กล่าวคือ …

โรคอัมพาตใบหน้า ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน”

“ความฝันของคน เมื่อมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง คือการมีสุขภาพที่ดีและถ้าสามารถซื้ออายุคืนกลับมาได้สัก ๑๐-๒๐ ปี จะเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุด” “ดาราหรือชนชั้นสูงที่มีเงิน มักจะใฝ่หาวิธีการชะลอความแก่ ทำให้ใบหน้าอ่อนวัยอยู่เสมอ เช่น ชาลี แชปลิน (Charies Chaplin), มาดามไอเซนเฮาว์ (Dwignt mamie Eisenhower), วินสตัน เชอร์ชิลล์   (Winston Churcill), เจ้าหญิงไดอานา, โรเบิร์ต เคเนดี้ ล้วนได้ผ่านการรักษาด้วยการฉีดสารสกัดจากรกแกะ จาก ดร.พอล ไนฮาน (Dr. Paul Neihans) สวิตเซอร์แลนด์ “ มีความเชื่อเรื่องของรก โดยเฉพาะรกคน ว่าเป็นยาอายุวัฒนะมีมานานกว่า ๒,๐๐๐ ปี (ดูหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๓๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙) เนื้อหาต่อไปนี้เป็นผลการวิจัยสมัยใหม่ที่มีนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์หลายท่านได้รับรางวัลโนเบล เกี่ยวกับการสกัดสารที่สำคัญและเซลล์ตั้งต้น (Stem cell) จากรกอันเป็นพื้นฐานของการรักษาโรคด้วยการใช้เซลล์รักษาเซลล์ (Cell therapy) รกมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน …

ความมหัศจรรย์ของ “สารสกัดรกคน” Read More »

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (2)

ผู้ป่วยบางคนมีภาวะยินพร่อง แต่เข้าใจผิดไปซื้อยาบำรุงเลือดพร่อง ทำให้อาการของโรคอาจรุนแรงขึ้นได้ยาจีนในท้องตลาดต้องแยกให้ชัดว่า เน้นไปที่บำรุงยินหรือบำรุงเลือดความจริงยาบำรุงเลือดมีบางส่วนของยาบำรุงยิน เลือดเป็นส่วนหนึ่งของยิน ยินพร่องกับเลือดพร่องมีอาการหลายอย่างคล้ายกัน เช่น ชีพจรเล็ก เวียนศีรษะ ตาลาย นอนไม่หลับ ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ยินพร่อง จะมีอาการร้อนร่วมด้วย เช่น แก้มแดง ลิ้นแดง หงุดหงิด ปากแห้ง ชีพจรเร็ว เป็นต้น ขณะที่เลือดพร่องไม่มีอาการร้อน เช่น ใบ หน้า ริมฝีปาก เปลือกตา เล็บ ลิ้นจะมีสีขาวซีด อาการที่เรียกว่า “เลือดของหัวใจพร่อง” และ “เลือดตับพร่อง” เป็นอย่างไร?ทั้ง ๒ ภาวะ มีอาการของเลือดพร่องเหมือนกัน แต่เนื่องจากการขาดเลือดไปมีผลต่ออวัยวะของหัวใจและตับอย่างเด่นชัด ทำให้มีลักษณะเฉพาะ คือเลือดหัวใจพร่อง มีอาการทางหัวใจและ สมองเด่นชัด เช่น ใจสั่น ตกใจง่าย นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ลืมง่ายเลือดตับพร่อง ชายโครงปวดตื้อๆ มองไม่ชัดเวลากลางคืน (ตาบอดไก่) แขนขาชา มีตะคริว หลักการรักษาเลือดพร่อง และตำรับยาที่ใช้คืออะไร?ใช้หลักการบำรุงและปรับเลือดตำรับยาที่ใช้ได้แก่๑. ซื่อ-อู๋-ทังตัวยาสำคัญคือ สูตี้ ตังกุย ไป๋สาว ชวน-เซวียง๒. ตัง-กุย-ปู่-เสวี่ย-ทัง ตัวยาสำคัญคือ ตังกุย …

ว่าด้วยเรื่อง “เลือดพร่อง” (2) Read More »

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด”

ขณะนี้ ทั่วโลกต่างรู้ถึงความร้ายกาจของไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 กันเป็นอย่างดี ซึ่งจากการระบาดครั้งใหญ่นี้ ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวนมาก โรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อบางคน อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนก็ถึงกับเสียชีวิต โดยไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายเมื่อคุณหายใจเอาเชื้อเข้าไป หากมีคนติดเชื้อไอหรือจามใกล้ๆ หรือเมื่อคุณไปจับบริเวณที่มีเชื้อติดอยู่…..ขั้นแรก เชื้อจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ ท่อทางเดินหายใจและไปที่ “ปอด” จากนั้นจะเปลี่ยนอวัยวะเหล่านี้ให้กลายเป็น “โรงงานผลิตเชื้อไวรัส” แพร่กระจายไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายเพิ่มอีก จะเห็นได้ว่า เป้าหมายของเชื้อไวรัสคือเข้าไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอย่าง “ปอด” ซึ่งในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปอดมีหน้าที่ควบคุมกำกับบริหารจัดการ ทั้งเลือด พลัง สารน้ำของเหลว และการหายใจ อีกทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นลูกพี่ที่คอยปกป้องอวัยวะภายใจทั้งหวงอีกด้วย จมูก เป็นช่องทางการโจมตีจากสิ่งก่อโรคภายนอกเข้าสู่ปอดโดยตรง ปอดที่ปกติจมูกจะโล่ง การรับกลิ่นจะดี แต่ถ้ามีความผิดปกติของปอด จมูกจะแน่น น้ำมูกไหล การรับกลิ่นไม่ดี จมูกบานเวลาหายใจ (หายใจลำบาก หอบหืด) การกระจายพลังของปอด ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ คนที่ปอดร้อนหรือแห้ง การกระจายของเหลวไปยังส่วนต่างๆ ไม่พอหรือติดขัด น้ำในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายมากขึ้น ทำให้ท้องผูก คนที่เจ็บคอ คอแห้ง คออักเสบ บางครั้งอาจจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วย การที่พลังปอดอ่อนแอจะทำให้เหงื่อออกง่าย เป็นหวัดง่าย เนื่องจากต่อมเหงื่อเปิด พลังเว่ยชี่อ่อนแอ …

รู้จักและเข้าใจ ก่อนไวรัสร้าย “ทำลายปอด” Read More »

“พลังพร่อง” คืออะไร?

บ่อยๆ ที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง เมื่อยล้า ภายหลังการตรากตรำทำงานมาทั้งวัน อยากจะนอนหลับพักผ่อน พอหลับไปสักงีบ รู้สึกว่ากลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้งแต่มีผู้ป่วยหรือคนบางคน (บางครั้งอาจรู้สึกว่าไม่ใช่ผู้ป่วย) จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่ค่อยอยากพูด พูดแล้วไม่มีกำลัง ไปเดินเหินมากหน่อย หรือไปวิ่งออกกำลังกายอาการจะเหนื่อยรุนแรงขึ้น บางครั้งมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ ซึ่งมีอาการเป็นประจำทุกวันผู้ป่วยเหล่านี้บางครั้งมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ บางครั้งตรวจพบความผิดปกติบ้าง ไม่พบความผิดปกติบ้าง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค แพทย์จีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นพวกพลังพร่องพลังพร่องคืออะไรพลัง เป็นหยาง เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอวัยวะภายใน (จั้งฝู่) ของร่างกายเป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก ดึงรั้งสารต่างๆ และสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย ช่วยการเปลี่ยนแปลงย่อยอาหาร บำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การขาดพลังหรือพลังพร่อง จึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสื่อมถอย อวัยวะภายในอ่อนแอ จึงเกิดอาการได้หลายระบบ อาการพลังพร่อง และการตรวจพบความผิดปกติอะไร– คนที่พลังพร่อง จะมีใบหน้าไม่สดใส ไร้ชีวิตชีวา เหนื่อยง่าย พูดไม่มีกำลัง เสียงเบา ไม่ค่อยอยากจะพูด เวลาเดินหรือออกกำลังกายมักจะเหนื่อยมากขึ้น– อาการร่วมอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ตามัว เหงื่อออกง่าย ตรวจร่างกาย : ตัวลิ้นซีด …

“พลังพร่อง” คืออะไร? Read More »

กรณีศึกษา รักษา ไทรอยด์เป็นพิษ

วันนี้มีเรื่องผู้ป่วยมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์แพทย์แผนจีนได้ชัดเจนขึ้นผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษรายหนึ่ง ได้รับการเยียวยาด้วยยากดการทำงานของต่อมไทรอยด์ และยาลดอาการใจสั่นอยู่ นานประมาณ 2 ปี ผลการรักษาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยจึงได้รับการแนะนำให้กินน้ำแร่ และได้ยารักษาภาวะไทรอยด์ต่ำ (ยาฮอร์โมนไทรอยด์) มากิน 1 ปีหลังจากการกินน้ำแร่ ผู้ป่วยเปลี่ยนจากโรคภาวะไทรอยด์เกิน (เป็นพิษ) กลายเป็นผู้ป่วยภาวะฮอร์โมนไทรอยด์พร่อง (ขาด) เปลี่ยนจากอาการขี้ร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ กลายเป็นคนหนาวง่าย เฉื่อยชา ง่วงนอนเก่ง ถ้ามองโดยภาพรวมเหมือนตาชั่งที่มี 2 ข้าง แต่เดิมน้ำหนักถ่วงมาก ข้างหนึ่งเกิดการเสียสมดุล พอรักษาจบกระบวนความ กลายเป็นตาชั่งเอียงมาอีกข้างหนึ่ง ความจริงเราต้องการตาชั่งให้มีความสมดุล ไม่ใช่ต้องการเอียงไปอีกข้างหนึ่ง การรักษาแบบนี้ถือว่ายังไม่ใช่การรักษาในเชิงอุดมคติ สาเหตุของต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนปกติการทำงานของต่อมไทรอยด์อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นให้ทำงานมาก แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ต่อมใต้สมองจะลดการหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้น ทำให้ทำงานน้อยลง ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ คือผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมได้ ฮอร์โมนไท ร็อกซีนที่มากเกินก็จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ให้ทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการต่างๆ เช่น มือสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน โมโหง่าย กินจุ น้ำหนักลด …

กรณีศึกษา รักษา ไทรอยด์เป็นพิษ Read More »

แพทย์แผนจีน กับการรักษาเบาหวาน

หลักการรักษาเบาหวานของแแแพทย์แผนจีน คือ ต้องเสริมยิน สร้างสารน้ำ และทำให้ชุ่มชื้นขจัดแห้ง ขับร้อน ขับพิษ เป็นหลัก เวลารักษาต้องคำนึงถึงปอด กระเพาะอาหาร และไตควบคู่กัน รักษา “ซ่างเซียว”  เบาหวานส่วนบน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ร่วมกับขับร้อนของกระเพาะอาหาร รักษา “จงเซียว” เบาหวานส่วนกลาง ให้ขับร้อนของกระเพาะอาหาร เสริมบำรุงไต รักษา “เซี่ยเซียว”  เบาหวานส่วนล่าง ให้บำรุงไต และเสริมการบำรุงปอด ถ้ามีพลังและยินพร่อง ต้องเสริมพลังและบำรุงยิน ถ้ามียินและหยางพร่อง ต้องบำรุงยินและหยางคู่กัน ถ้ามีเลือด เสมหะอุดกัน ต้องสลายการอุดกันกระจายเลือด ชนิดของเบาหวานและตำรับยาจีนรักษาเบาหวานเป็นอย่างไรแบ่งเป็นประเภทๆ ใหญ่ ๓ แบบ ๑. เบาหวานส่วนบน (ซ่างเซียว) ปอดร้อนขาดสารน้ำอาการ : คอแห้ง กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ร่วมกับน้ำหนักลด ซูบผอม ปัสสาวะบ่อยและมากการตรวจ : ขอบลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝ้าเหลืองขาว ชีพจรแรง เต็ม เร็วตำรับยา : อวี้เฉวียนหวาน ๒. …

แพทย์แผนจีน กับการรักษาเบาหวาน Read More »

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ผลก็คือ น้ำตาลไม่สามารถเผาผลาญไปใช้เป็นพลังงาน มีการคั่งค้างของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ น้ำตาลที่คั่งอยู่ในเลือดมากๆ ก็จะถูกกรองที่ไต มาพร้อมปัสสาวะ ดูดกลับไม่หมด ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดขึ้น เรียกว่าเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน มีปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากมีน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ (ไตดูดกลับไม่หมด) ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำมาก กระหายน้ำ และเนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน (เพราะขาดอินซูลินที่จะสลายน้ำตาลเป็นพลังงาน) ทำให้ผู้ป่วยหิวเก่ง ขณะเดียวกันก็จะซูบผอม เพราะร่างกายจะสลายไขมันและกล้ามเนื้อไปเป็นพลังงานแทน โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการบันทึกในตำราแพทย์จีนมาช้านาน เรียกเป็นภาษาจีน ว่า เซียวเข่อ คำว่า เซียว หมายถึง สูญเสีย หรือสลายอาหาร สูญเสียน้ำและสูญเสียพลัง (ร่างกายซูบผอม) คำว่า เข่อ หมายถึง กระหายน้ำ ดื่มมาก ดื่มแล้วไม่หายกระหาย รวมความแล้ว โรคเซียวเข่อ หมายถึง ดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม และปัสสาวะมีรสหวาน เนื่องจากอาการดื่มมาก เป็นอาการที่อยู่ส่วนบนเกี่ยวข้องกับปอด ซางเจียว ช่องไฟธาตุส่วนบน อาการกินมากเป็นอาการที่อยู่ส่วนกลางเกี่ยวข้องกับม้าม จงเจียว ช่องไฟธาตุส่วนกลาง และอาการปัสสาวะบ่อยเกี่ยวข้องกับไต เซี่ยเจียว ช่องไฟธาตุส่วนล่าง ผู้ป่วยในแต่ละรายมีความรุนแรงของโรคในแต่ละอวัยวะไม่เหมือนกัน สาเหตุของเบาหวานในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนต่างกันหรือไม่ ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน เบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ …

เบาหวาน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการเอมพีเอส (MPS – Myofascial pain syndrome) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก บางครั้งมีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ปวดร้าวไปบริเวณข้างเคียง บางครั้งปวดพอรำคาญ บางครั้งปวดรุนแรงมากจนเคลื่อนไหวลำบาก มีจุดกดเจ็บหรือจุดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) อยู่ในกล้าม เนื้อหรือในเนื้อเยื่อพังผืด ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังใช้กล้ามเนื้อนั้นเป็นระยะเวลา นานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นมีการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและขาดออกซิเจน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อแบบเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน จึงทำให้เกิดการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจน มีการคั่งค้างของกรดแล็กติก อาการปวดและกรดแล็กติก จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ และถ้าไม่ได้มีการผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial pain) อาการเช่นนี้มักจะพบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง พบในวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ พบบ่อยในกลุ่มพนักงานสำนักงาน (Office) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นถ้ามีการใช้งานกล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และใช้งานในท่าที่ไม่เหมาะสม  โดยทั่วไปอาการอาจไม่รุนแรง แค่พอรำคาญ หรือรุนแรงจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว มุมมองแพทย์แผนจีนกับอาการปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อย …

อาหารต้านปวดเมื่อยร่างกาย กับแพทย์แผนจีน Read More »

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง”

ภาวะท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน มีหลายสาเหตุ การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่ท้องผูกจากภาวะการอักเสบในช่องท้อง หรือกระเพาะ หรือลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไทฟอยด์ ลำไส้อักเสบ รวมทั้งกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้ ลำไส้ทะลุ หรือมีเลือดออก หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียน ซึ่งต้องหาสาเหตุที่แน่นอน การใช้ยาในผู้สูงอายุหรือคนที่มีร่างกายอ่อนแอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาวะท้องผูกที่จะกล่าวต่อไป เป็นภาวะท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้มีโรคเฉียบพลันเป็นต้นเหตุโดยตรง ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้ยาที่มีฤทธิ์หลักๆ ๓ อย่างด้วยกัน คือ 1. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 2. ยาเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ 3. ยาที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แต่ในทัศนะแพทย์จีนมักจะวิเคราะห์แยกโรคดังภาวะสมดุลของร่างกายเป็นหลัก และให้การรักษาอาการท้องผูก ร่วมกับสร้างสมดุลภายในของร่างกาย โดยสาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 1. ลักษณะแกร่ง ได้แก่ แบบร้อน และแบบพลังอุดกั้น 2. ลักษณะพร่อง ได้แก่ แบบเย็น (หยางพร่อง)  แบบพลังพร่อง และแบบเลือดพร่อง ท้องผูกเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ทำให้การถ่ายอุจจาระไม่คล่อง โดยทั่วไป 3-5 วัน บางครั้ง 7-8 วัน ถึงจะถ่ายอุจจาระสักครั้ง (บางรายนานถึงครึ่งเดือน) …

รับมือกับภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” Read More »

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยปัญหาปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีให้พบเห็นเสมอ เวลาท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนคิดถึง ยาหม่อง ยาลม ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ขมิ้นชัน ขิง หรือน้ำร้อนใส่กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนแนะนำ หรือตามแต่ประสบการณ์ที่เคยทดลองกับตนเองมาแล้วได้ผล ความจริงท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น แต่สาเหตุมีด้วยกันหลายแบบ ถ้าสังเกตสักนิด จะทำให้เราเลือกวิธีการรักษาและป้องกันได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปกติเป็นคนแข็งแรงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ อยู่มาคืนหนึ่งขณะเข้าโครงการลดน้ำหนักกินแต่ผัก ผลไม้ ก่อนนอนกินแตงโม แช่เย็น น้ำมะพร้าวแช่เย็น ส้มโอปริมาณมาก พร้อมดื่มชาเขียวใส่น้ำแข็งอีก 2 แก้ว แล้วเข้านอน เนื่องจากอากาศค่อนข้างร้อน ที่บ้านไม่มีแอร์ เลยเปิดพัดลมจ่อเข้าลำตัว แถมยังนอนบนพื้นปูนอีกต่างหาก นอนไปค่อนคืนตกใจตื่น เพราะคืนนั้นฝันทั้งคืน แถมยังปวดท้อง ท้องอืด เย็นๆ ในท้อง ลุกขึ้นเข้าห้องน้ำ มีการถ่ายเหลวเป็นอาหารที่ไม่ย่อย  แพทย์แผนจีนวินิจฉัยภาวะโรคของนาย ก. ว่าเป็นเพราะความเย็นกระทบทำให้พลังหยางของน้ำอุดกั้นเลือด และพลังสะดุด เกิดอาการปวดแน่นและอาหารไม่ย่อย นาย ก. กินอาหารที่มีคุณสมบัติเย็น …

กรณีศึกษา : ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย Read More »

แนวทางการรักษา โรคเครียด

หญิงวัย 20 ปี มีปัญหาเรื่องหงุดหงิดง่าย บางครั้งแน่นหน้าอกเหมือนจะขาดใจ ได้รับการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์มา 7 ปี อาการเป็นๆหายๆ ดีบ้างหายบ้าง บางครั้งมีหูแว่ว มีภาพหลอน ในที่สุดแพทย์ได้ตัดสินใจให้ยาตัวใหม่  ผู้ป่วยได้ยาตัวนี้มานาน 1 เดือนเศษ หลังจากกินยา มีอาการปัสสาวะรดที่นอน น้ำลายมาก เปียกที่นอนทุกคืน คุณแม่ของเด็กบังเอิญไปอ่านฉลากยาพบว่ามีข้อแนะนำให้เด็กตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวทุก 2 เดือน คุณแม่กังวลใจมากถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ยาเพราะไม่รู้ว่าจะใช้ไปนานอีกเท่าไหร่ ร่างกายจะดีข้นจริงหรือผลแทรกซ้อนจะเป็นอย่างไร หนทางนี้จะเป็นการรักษาที่ถูกต้องจริงหรือ หญิงวัย 38 ปี ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย เครียดง่าย คิดมาก กลัวความเย็น เวียนศีรษะบ่อยๆ ชอบง่วงนอนกลางวัน กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็จะฝันร้าย ตื่นกลางคืนแล้วหลับต่อลำบาก บางครั้งมีใจสั่น กินอาหารไม่ค่อยได้ ร่างกายดูท้วม ๆ เคยรักษาด้วยยาคลายเครียด ยานอนหลับ กลับรู้สึกว่าหลับแล้วไม่ค่อยอยากที่จะตื่น อ่อนเพลียมากขึ้น หญิงวัย 45 ปี มีความรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย โดยเฉพาะเวลาหิว ถ้าไม่กินอาหารลงไปให้เพียงพออาการจะกำเริบมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย …

แนวทางการรักษา โรคเครียด Read More »

ขับเหงื่อ : ขับพิษ

ร่างกายของเราในยามปกติสุขก็มีพิษสะสมอยู่มาก พิษที่มีอยู่ในร่างกายได้มาหลายทางด้วยกัน เช่นจากอาหารที่กินเข้าไป อากาศที่หายใจ น้ำที่ดื่ม สิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากกลไกการทำงานของร่างกายเอง ฟังดูแล้วน่าตกใจว่า เราจะอยู่ได้อย่างไร เมื่อพิษมีอยู่เต็มตัว แต่โชคดีธรรมชาติได้สร้างระบบการขับพิษแก่ร่างกาย เช่น การทำลายพิษของตับ การขับถ่ายทางอุจจาระ ขับปัสสาวะ การขับเหงื่อ การหายใจ เป็นต้น การขับพิษโดยเทคนิคการขับเหงื่อในทางศาสตร์แพทย์แผนจีนมีเนื้อหาที่น่าสนใจ การขับเหงื่อเป็นการขับพิษที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังทำให้เลือดพลังในเส้นลมปราณไหลคล่อง เพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนผิว ทำให้สารพิษจากร่างกายขับออกได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นการป้องกันโรคและเป็นการขจัดปัจจัยก่อโรค โดยเฉพาะความเย็น ลม ความชื้น ที่กระทบจากภายนอก ประโยชน์ของการขับพิษทางเหงื่อ 1. ช่วยขจัดพิษที่สะสมในร่างกาย เวลาอาบน้ำ ถูขี้ไคล จะพบว่าคราบขี้ไคล เกิดจากเหงื่อกับเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมตายหลุดลอก หรือกลิ่นตัวที่หมักหมม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปร่วมทำปฏิกิริยาด้วยคนที่เป็นโรคไตที่การขับของเสียทางไตลดลง ต้องหันมาสนใจหรือใช้การขับเหงื่อช่วยอีกทางหนึ่ง 2. การขับปัจจัยก่อโรค เสียชี่ ที่อยู่ระดับผิว แพทย์แผนจีนใช้การขับเหงื่อเป็นการทะลวงขับการถูกโจมตี และการคั่งค้างของเสียชี่จากภายนอก ที่ทำให้เกิดอาการกลัวหนาว ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เนื่องจากการกระทบลมเย็น ลมร้อน หรือลมชื้น เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน การกินยาพาราเซตามอล หรือยาแอสไพริน ทำให้ขับเหงื่อ …

ขับเหงื่อ : ขับพิษ Read More »