แพทย์แผนจีน

แนวทางการรักษา โรคเครียด

หญิงวัย 20 ปี มีปัญหาเรื่องหงุดหงิดง่าย บางครั้งแน่นหน้าอกเหมือนจะขาดใจ ได้รับการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์มา 7 ปี อาการเป็นๆหายๆ ดีบ้างหายบ้าง บางครั้งมีหูแว่ว มีภาพหลอน ในที่สุดแพทย์ได้ตัดสินใจให้ยาตัวใหม่  ผู้ป่วยได้ยาตัวนี้มานาน 1 เดือนเศษ หลังจากกินยา มีอาการปัสสาวะรดที่นอน น้ำลายมาก เปียกที่นอนทุกคืน คุณแม่ของเด็กบังเอิญไปอ่านฉลากยาพบว่ามีข้อแนะนำให้เด็กตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวทุก 2 เดือน คุณแม่กังวลใจมากถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ยาเพราะไม่รู้ว่าจะใช้ไปนานอีกเท่าไหร่ ร่างกายจะดีข้นจริงหรือผลแทรกซ้อนจะเป็นอย่างไร หนทางนี้จะเป็นการรักษาที่ถูกต้องจริงหรือ หญิงวัย 38 ปี ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย เครียดง่าย คิดมาก กลัวความเย็น เวียนศีรษะบ่อยๆ ชอบง่วงนอนกลางวัน กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็จะฝันร้าย ตื่นกลางคืนแล้วหลับต่อลำบาก บางครั้งมีใจสั่น กินอาหารไม่ค่อยได้ ร่างกายดูท้วม ๆ เคยรักษาด้วยยาคลายเครียด ยานอนหลับ กลับรู้สึกว่าหลับแล้วไม่ค่อยอยากที่จะตื่น อ่อนเพลียมากขึ้น หญิงวัย 45 ปี มีความรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย โดยเฉพาะเวลาหิว ถ้าไม่กินอาหารลงไปให้เพียงพออาการจะกำเริบมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกาย …

แนวทางการรักษา โรคเครียด Read More »

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีน มองร่างกายเป็นแบบองค์รวม หมายความว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่เกิดเฉพาะส่วน กับร่างกายโดยองค์รวม หรือโรคที่เกิดจากภาวะร่างกายโดยรวมจะมีผลทำให้โรคเฉพาะส่วนรุนแรงขึ้น หรือลดลงได้เช่นเดียวกัน กล่าวถึงโรคมะเร็งอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น มะเร็งปอด ถึงแม้จะเป็นมะเร็งเฉพาะที่ เป็นปัญหาโรคเฉพาะส่วน แต่ก็ส่งผลถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ มีไข้ เจ็บปวด สภาพจิตใจหดหู่ ฯลฯ ในทางกลับกัน คนที่มีภาวะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตกต่ำ ก็เป็นเงื่อนไขให้มะเร็งก่อตัว หรือ กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันการเกิดมะเร็ง หรือการรักษามะเร็งจึงต้องพิจารณาสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขของการเกิดมะเร็ง กับพิจารณาตัวโรคมะเร็งควบคู่กันไปด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งของศาสตร์แพทย์จีน เหตุแห่งโรค แพทย์แผนจีน แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากภายใน และปัจจัยจากภายนอก ปัจจัยภายใน •  ยิน-หยางเสียสมดุล (阴阳失衡) •  อวัยวะภายในจั้งฝู่เสียสมดุล (脏腑失调) • เลือดและพลังเสียสมดุล (气血不和) • พลังเจิ้งชี่ของร่างกายอ่อนแอ (正气虚弱) • ภาวะของอารมณ์ทั้ง ๗ ไม่สมดุล (七情不和) ปัจจัยภายนอก •  พลังชี่ติดขัด …

โรคมะเร็ง ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

พยากรณ์ร่างกายได้จาก “นิ้ว”

ดังที่เคยได้กล่าวแล้วว่าร่างกายของมนุษย์เป็นองค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่ออวัยวะหนึ่งอวัยวะใดเกิดโรค ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งระบบ ด้วยเหตุนี้การดูลักษณะของนิ้วมือจึงสามารถบอกความแข็งแรงของอวัยวะได้ 1. หัวแม่มือ  นิ้วมือทั้ง 5 นั้น นิ้วหัวแม่มือทางการแพทย์จีนถือว่าเป็นนิ้วที่สำคัญที่สุด ลักษณะของนิ้วหัวแม่มือสามารถคาดคะเนความแข็งแรงของร่างกายตั้งแต่กำเนิดและสมรรถนะของสมองได้ กล่าวโดยทั่วไปแล้ว คนที่ร่างกายแข็งแรงนิ้วหัวแม่มือค่อนข้างกลม ยาว และแข็งแรง ความยาวของข้อนิ้วสม่ำเสมอ ถ้านิ้วหัวแม่มือหยาบและใหญ่มักเป็นผู้ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว แต่ถ้านิ้วหัวแม่มือแบนเรียบและอ่อน มักเป็นผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอไม่ค่อยมีความอดทน ถ้านิ้วหัวแม่มือคดงอมักมีอาการทางประสาท ถ้านิ้วหัวแม่มือสั้นและเล็กจิตใจมักไม่มั่นคนเป็นคนขี้ขลาด ความมุ่งมั่นน้อย การแก้ไขคือควรได้รับการหล่อหลอมจากสังคม เพื่อให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ถ้าลายเส้นบนนิ้วข้อพับข้อที่สองของนิ้วหัวแม่มือยุ่งเหยิง และด้านข้างของข้อนิ้วที่สองมีเส้นยุ่งแสดงว่าเป็นผู้ที่เครียดง่าย มีโอกาสเป็นโรคปวดหัวและนอนไม่หลับได้ง่าย ถ้าข้อนิ้วหัวแม่มือสั้นและแข็ง งอลำบาก จะเป็นโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และอัมพาตได้ง่าย 2. นิ้วชี้  นิ้วชี้ที่มีลักษณะดีคือค่อนข้างกลม สวย และแข็งแรง ข้อนิ้วมีความยาวใกล้เคียงกัน ข้อล่างจะสั้นกว่าข้อบนเล็กน้อย นิ้วตรง ถ้าชิดกันนิ้วจะแนบสนิทกับนิ้วกลางแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่ดีของตับและถุงน้ำดีถ้าข้อนิ้วข้อแรกของนิ้วชี้ยาวเกินไป มักเป็นผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง แต่ถ้าข้อนิ้วข้อที่สองหยาบ แสดงว่าการดูดซึมของธาตุแคลเซียมไม่ดี กระดูกและฟันไม่แข็งแรง ถ้านิ้วข้อที่สามสั้นเกินไป มักเป็นผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางด้านประสาทได้ง่าย ถ้านิ้วชี้ซีดและผอมแสดงว่าสมรรถนะของตับและถุงน้ำดีไม่ดี เป็นผู้ที่อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง แต่ถ้าปลายนิ้วเอียง ลายเส้นบนข้อพับของข้อนิ้วกลางยุ่งมักเป็นผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตับ ถุงน้ำดี และโรคดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อระบบย่อยลำเลียง …

พยากรณ์ร่างกายได้จาก “นิ้ว” Read More »

แพทย์แผนจีนกับการรักษา โรคปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะปวดไมเกรนเป็นโรคที่พบได้บ่อย  สำหรับบางคนอาจเป็นโรคประจำตัว โดยเฉพาะเวลาเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ บางครั้งก็ไม่พบสิ่งกระตุ้นหรือสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการรักษาก็คือ การรับประทานยาระงับอาการปวดหรือถ้าเป็นมากเป็นถี่ ก็หายาเกี่ยวกับการกล่อมประสาทมารับประทานเพื่อป้องกันการกำเริบ เป็นโรคที่พบบ่อยและสร้างความรำคาญ รบกวนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจไม่น้อย สาเหตุโรคไมเกรน ในมุมมองแพทย์แผนจีน เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งกระตุ้นภายนอก  ได้แก่ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่สำคัญคือ ลม ความเย็น  ความชื้น ความร้อน ซึ่งมักจะกระทบส่วนบนบริเวณศีรษะปิดกั้นทางเดินของเลือดและพลัง   ปัจจัยภายใน พื้นฐานของร่างกายที่มีอวัยวะภายในอ่อนแอที่สำคัญคือ ตับ ม้าม ไต  การเสียสมดุลของตับมักทำให้เกิดเลือดคั่งพลังติดขัด เกิดไฟร้อนของตับ  การเสียสมดุลของม้ามมักทำให้เสมหะของเสียตกค้าง การเสียสมดุลของไตมักทำให้สมองขาดการเลี้ยงบำรุง ปัจจัยภายใน  อารมณ์ ทำให้กลไกพลังแปรปรวน  ส่งผลต่อการทำงานของตับติดขัด หรือขึ้นบ น การติดขัดของพลังนานๆจะทำให้เกิดไฟ ซึ่งจะรบกวนส่วนบนบริเวณศีรษะ อาหาร การกิน  เป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างเลือดและพลังของร่างกาย  การทำหน้าการย่อยดูดซึมอาหารของม้าม กระเพาะอาหารและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะทำให้สมองจะได้รับเลือดและพลังอย่างเพียงพอ  ตรงกันข้ามถ้าระบบการทำงานและอาหารไม่สอดคล้อง จะทำให้เกิดเสมหะความชื้นตกค้าง  ซึ่งจะไปปิดกั้นด้านบนศีรษะเช่นกั้น อุบัติเหตุจากการบาดเจ็บกระทบกระแทกบริเวณศีรษะทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เกิดการติดขัดของพลังและเลือดคั่ง ทำให้เกิดอาการปวด การนอนหลับพักผ่อนและการทำงานที่ไม่สมดุล  ทำลายสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจและอวัยวะภายใน ปัจจัยต่างๆข้างต้น เมื่อสะสมตัวนานเข้าทำให้เกิดอีกด้านหนึ่ง …

แพทย์แผนจีนกับการรักษา โรคปวดศีรษะไมเกรน Read More »

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คำว่า “โรคโคเลสเตอรอลในเลือดสูง” ไม่มีในตำราแพทย์จีนโบราณ ดังนั้นถ้ามาตรวจกับแพทย์แผนจีนแล้วบอกว่ามีไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจเลือดแบบแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาโรคนี้แพทย์จีนจะเน้นไปที่การรักษาสมดุลของการทำงานของอวัยวะภายในและปรับเรื่องการไหลเวียนเลือด พลังและของเหลวในร่างกาย ไม่ให้มีการติดขัด บางครั้งจะกล่าวถึงเสมหะ ความชื้น การทำงานของตับและม้ามไม่สมดุล ต้องขับเสมหะชื้น กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ไม่ให้อาหารตกค้าง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร สาเหตุไขมันในเลือดสูงในมุมมองแพทย์แผนจีน 1. การรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิต : อุปนิสัยการกิน ทำงานหักโหม ขาดการพักผ่อน ความเครียดทางอารมณ์ ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในแปรปรวน เกิดเสมหะความชื้นและเลือดอุดกั้น 2. การทำงานของอวัยวะภายในเสียสมดุล โดยอวัยวะหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ตับ ม้าม ไต พลังตับติดขัดอุดกั้นทำให้การไหลเวียนเลือดไม่คล่อง กลไกพลังในช่องกลางตัว (ซานเจียว) ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำและของเหลวทั่วร่างกายก็ติดขัดไปด้วย ระบบย่อยและลำเลียงอาหาร (ม้าม) มีประสิทธิภาพลดลง กลายเป็นความชื้นตกค้าง ไตกำกับน้ำ ถ้าพลังไตอ่อนแอ การขับระบายน้ำไม่ดี พลังความร้อนในร่างกายน้อย เกิดความชื้นตกค้างในร่างกาย อีกด้านหนึ่งกรณีไตยินพร่อง (ทำให้เกิดความร้อนและแห้งในเซลล์ต่างๆของร่างกาย) ก็จะทำให้ของเหลวเหนียวข้นเป็นเสมหะและเลือดอุดกั้นเช่นกัน ดังนั้น ไขมันในเลือดสูงในความหมายแพทย์แผนจีน คือ เสมหะความชื้น เลือดอุดกั้น ม้ามพร่องเกิดความชื้นเสมหะ มีเลือดอุดกั้นจากพลังตับติดขัด ยินพร่องเกิดเสมหะเลือดอุดกั้น …

“ไขมันในเลือดสูง” ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

อายุขัย กับการเกิดโรค

สังขารของคนเราเป็นอนิจจัง มีการเกิด การพัฒนา การเสื่อม และการดับสูญในที่สุด เมื่อชีวิตได้ถือกำเนิดก็มีการเจริญเติบโต พัฒนาจนเป็นเด็ก วัยหนุ่มสาว ร่างกายแข็งแรงถึงจุดสูงสุด จากนั้นก็เริ่มสู่วัยเสื่อมถอย ความชราภาพเข้าแทนที่ จนถึงการดับสูญของชีวิตในที่สุด กฎของการเกิดพัฒนา-เสื่อมถอยและดับสูญ เป็นกฎของสรรพสิ่งในจักรวาล แพทย์แผนจีนได้สรุปความสัมพันธ์ของโรคภัยไข้เจ็บกับอายุขัยของแต่ละช่วงของร่างกายมนุษย์ไว้อย่างน่าสนใจ เนื่องจากในแต่ละช่วงของอายุมีสภาพทางสรีระ ภาวะความคุ้มกัน และพลังในการต่อสู้กับโรค (ปัจจัยก่อโรคทั้ง 6 ได้แก่ เย็น ร้อน ชื้น ลม แห้ง ไฟ และอารมณ์ ทั้ง 7) แตกต่างกัน ทำให้แต่ละช่วงอายุมีจุดอ่อน จุดแข็ง ของร่างกายไม่เหมือนกัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ ดังนี้ จั้ง-ฝู่ (อวัยวะภายในที่ควบคุม การทำงานทั้งหมดของร่างกาย) ของทารกหรือเด็กเล็กค่อนข้างอ่อนแอ ไม่แข็งแรง เนื่องจากยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆก็ไม่สมบูรณ์ การทำงานของระบบเลือด พลังการสร้างสารน้ำ สารคัดหลั่ง รวมทั้งน้ำย่อย ฮอร์โมนก็มีภาวะไม่แน่นอนคงที่ มีความแปรปรวน แพทย์จีนเรียกภาวะนี้ว่า “เป็นภาวะยิน-หยาง ยังไม่สุกงอมสมบูรณ์” สรีรสภาพที่เปราะบาง แปรปรวน ทำให้เลือดและพลังยังไม่ …

อายุขัย กับการเกิดโรค Read More »

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ?

แพทย์แผนจีน ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการฝันของคนอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ หัวใจเป็นที่พักของสติ ความรู้สึกนึกคิด ในตอนกลางคืนสติและความรู้สึกนึกคิดจะกลับเข้าสู่ หัวใจเพื่อการเลี้ยงบำรุงจากเลือดของหัวใจ จะทำให้เกิดการนอนหลับ แต่ถ้าภาวะของจิตใจว้าวุ่น แปรปรวนมาก สติและความรู้สึกนึกคิดจะไม่กลับมาพักและรับการบำรุงเลี้ยง ทำให้ระบบประสาทตื่นตัวอยู่ มีการฝันเกิดขึ้น ผลที่ตามมาจากการที่ ไม่ได้รับการหล่อเลี้ยงของเลือดจากหัวใจ ทำให้ขาดความสดชื่น พลังสติปัญญาอ่อนล้า รู้สึกอ่อนเปลี้ย ลักษณะเนื้อหาของการฝันก็พอจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ด้วย กล่าวคือ – คนที่พลังของหัวใจอ่อนแอ มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องเศร้าโศก ฝันเป็นความทุกข์โศก – คนที่ไฟหัวใจแกร่ง มักจะ ฝันเกี่ยวกับเรื่องตื่นเต้น ผจญภัยสนุกสนาน – คนที่ตับ ถุงน้ำดีพร่อง มักจะฝันเกี่ยวกับเรื่องน่ากลัว – คนที่ไฟตับแกร่ง อารมณ์ โมโหง่าย มักจะฝันเกี่ยวกับสิ่งเลวร้าย ฝันร้ายบ่อยๆ – คนที่ไตพร่อง มักฝันเกี่ยวกับทางเพศ ซึ่งอาจจะมีอาการฝันเปียกร่วมด้วย – คนที่ม้ามพร่อง มักฝันถึงการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือทัศนะคติทางด้านลบ – ภาวะของร่างกายสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการฝัน เช่น ถ้ากินอาหารเสียอิ่มแป้ แล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่ากินมากดื่มมาก – ถ้าท้องหิวมากแล้วนอนหลับ อาจทำให้ฝันว่าอดอยาก หิวโหย – ถ้าห่มผ้าบางเกินไป ในขณะนอนหลับ และมีอากาศหนาวเย็น อาจทำให้ฝันว่าตกน้ำ …

“ความฝัน” บ่งบอกสุขภาพได้จริงหรือ? Read More »

รักษาด้วยยาเคมีกับยาสมุนไพรจีน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ผู้ป่วยที่ไปรักษาโรคกับหมอแผนปัจจุบัน จะได้ยาเคมีมารักษาบำบัดโรค เวลาไปหาหมอจีน ถ้าต้องให้ยา ก็จะได้ยาสมุนไพรมากิน ปัญหาที่ผู้ป่วยมักถามเสมอคือ ยาฝรั่งกินคู่กับยาจีนจะตีกันหรือไม่? กินยาจีนแล้วต้องกินยาฝรั่งไหม? ไปหาคำตอบกันครับ ความแตกต่างระหว่างยาเคมีกับยาสมุนไพรจีน ยาเคมี : แพทย์แผนปัจจุบันใช้ยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์พัฒนาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของยาในการรักษาโรค โดยยาเคมีไปมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะโดยเปลี่ยนแปลงกลไกชีวเคมีระดับเซลล์เป็นสำคัญ การทำงานระบบต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเจาะลึกลงไประดับเซลล์ เราพบว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตั้งแต่การย่อยสลาย และดูดซึมอาหาร การหายใจ การขับของเสียออกจากเซลล์ การขจัดพิษตกค้างภายในร่างกาย มุมมองการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี หรือสารเคมีระดับเซลล์ มีลักษณะจำเพาะสูง และมีแนวโน้มของการรักษาไปทิศทางเดียว ตัวอย่างของกลุ่มยาเคมี– ยาลดความดันโลหิตสูง– ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด– ยารักษาหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ– ยาระงับการหอบหืด ยาขยายหลอดลม– ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดการจับตัวของเลือด– ยาปฏิชีวนะ ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส– ยาต้านมะเร็ง เนื่องจากการวินิจฉัยโรคแบบแผนปัจจุบันเป็นการ พยายามสืบค้นสาเหตุหรือสิ่งก่อโรค ที่มีลักษณะรูปธรรม (เชื้อโรค มะเร็ง ความผิดปกติของยีน ความผิดปกติของโครงสร้าง การกดทับหลอดเลือดหรือเส้นประสาท) ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติที่ชัดเจนก็ใช้วิธีการทำลายหรือยับยั้งด้วยยาหรือการผ่าตัดตามแต่กรณี แต่ถ้าไม่พบสิ่งก่อโรคที่ชัดเจน ก็จะใช้ยาเคมีเข้าไปเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางชีวเคมีของร่างกายที่ผิดปกติ ที่ทำให้เกิดโรค จึงมีลักษณะการแก้ปัญหาแบบแยกส่วน และการแก้ปัญหาตามอาการที่เกิดขึ้น ยาสมุนไพรจีน : มีลักษณะการปรับเปลี่ยนทางกายภาพหรือทางฟิสิกส์เป็นหลัก …

รักษาด้วยยาเคมีกับยาสมุนไพรจีน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? Read More »

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการใช้สมุนไพร หรืออาหารเสริมสุขภาพ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ไม่มีพิษภัยใดๆ แต่แท้จริงแล้ว ยาในทัศนะแพทย์จีนล้วนมีพิษทั้งสิ้น ในคัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงบทบาทของยาและอาหารในการรักษาโรคไว้อย่างชัดเจน  ยาสมุนไพรก็มีพิษกระบวนการของการเกิดโรค บางโรคกว่าจะแสดงอาการใช้เวลานานค่อยๆ สะสมทางปริมาณจนถึงจุดเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ แต่บางโรคเกิดขึ้นทันที  ส่วนยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งยาตำรับใหญ่  ตำรับเล็ก  มีพิษและไม่มีพิษ จึงต้องวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ยาที่มีพิษมากใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๖ยาที่มีพิษธรรมดาใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๗ยาที่มีพิษน้อยใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๘ยาที่ไม่มีพิษใช้รักษาโรค ๑๐ ส่วน สามารถขจัดโรคได้แค่ ๙แต่การกินอาหารบางประเภท เช่น ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อดูแลสุขภาพสามารถขจัดโรคได้ทั้งหมด สรุปก็คือ ขึ้นชื่อว่ายาแล้ว ล้วนมีพิษ การกินอาหารตามใจตัวเองก็อาจจะกลายเป็นพิษได้เช่นกัน  ควรใช้อาหารเพื่อช่วยในการรักษาโรค แต่เมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยคิดถึงการใช้ยายาที่มีพิษด้านหนึ่งรักษาโรค แต่ก็มีผลกระทบต่อร่างกาย จึงไม่สามารถกำจัดโรคได้อย่างสิ้นเชิง ต้องกินอาหารที่เหมาะสมเสริมเข้าไปเพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกาย ศาสตร์ของแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญต่ออาหารเป็นอย่างมาก เพราะอาหารบางอย่างในบางเงื่อนไขก็คือยาพิษ ที่สามารถทำลายร่างกายหรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้เช่นกัน  อาหารอย่างดีก็เป็นพิษ มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยราชวงศ์หมิง กษัตริย์จูหยวนจางได้ทำการหาเหตุฆ่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และครอบครัว ๙ …

สมุนไพรจีนกับสารสกัดจากสมุนไพร ต่างกันอย่างไร? Read More »

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็กพลังหยางค่อยๆ สะสมตัว เด็กเจริญเติบโตมีพละกำลังคล่องแคล่วว่องไว ไม่เหนื่อยง่าย จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย ยังรวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วยแต่ก่อนจะไปศึกษาค้นคว้าหาสิ่งภายนอกมาบำรุงรักษาพลังหยาง ควรกลับมาพิจารณาวิธีการที่เป็นธรรมชาติและประหยัดที่สุด ที่เราสามารถกำหนดและปฏิบัติได้เอง คือ การนอนหลับช่วงเวลาจื่อสือ (子时觉) ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. การเกิดของพลังหยาง เริ่มต้นที่เวลา 23.00 – 01.00 น.ช่วงพลังลมปราณไหลผ่านเส้นลมปราณถุงน้ำดีกลางคืนพลังยินมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเที่ยงคืน ระหว่างเวลา 23.00 – 01.00 น. คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากพลังยินสูงสุด และการก่อเกิดพลังหยาง พลังหยางจะเก็บสะสมได้มากในภาวะที่สงบที่สุด การตื่นนอนหรือยังไม่หลับ เป็นการใช้พลังหยางทำให้การเกิดสะสมตัวของพลังหยางถูกรบกวน ไม่สามารถสะสมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหมายถึงสต็อกพลังหยางที่จะถูกนำไปใช้ในวันใหม่จะน้อยลง ส่งผลเสียต่อการทำงานในช่วงกลางวันของวันใหม่ ทำให้เหนื่อยง่าย ง่วงนอน …

การนอนหลับ วิธีบำรุงรักษาพลังหยางที่ดีที่สุด Read More »

การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฝนในสถานการณ์โควิด-19 (ในทัศนะแพทย์แผนจีน)

ช่วงหน้าฝน สำหรับคนกรุงเทพฯ นอกจากทำให้คิดถึงรถติด การสัญจรลำบากต้องพกร่มติดตัว พื้นดินเฉอะแฉะ เสื้อผ้าไม่แห้ง อาหารขึ้นราง่าย ต้องสระผมกันบ่อยเพราะโดนละอองฝน ฯลฯ นับเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง  เมื่อเทียบกับหน้าร้อนที่แสนจะร้อน หงุดหงิด กระหายแต่น้ำเย็น ปีนี้ยังมีความกังวลพิเศษว่าโรคโควิด-19 จะกลับมาระบาดมากขึ้นอีกครั้งหรือเปล่า สำหรับหน้าฝนปีนึ้ยังอยู่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19  แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวันมีจำนวนลดลงเป็นตัวเลขหลักเดียวมาหลายวันแล้ว จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลมีตัวเลขที่สูงขึ้น กล่าวได้ว่ามีแนวโน้มที่จะควบคุมการระบาดได้อย่างดีเยี่ยม แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังคงไม่มีภูมิค้มกันต่อโรคโควิด-๑๙ ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและรอการการค้นพบวัคซีนที่มีความปลอดภัยมาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น  จึงกล่าวได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบธรรมชาติที่มาแต่กำเนิด (Innate immunity)ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกด่านแรกในการต่อสู้กับไวรัสและยังมีความเกี่ยวโยงกับการสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย(Acquired immunity) ปรับสมดุลร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายในทัศนะแพทย์แผนจีน หมายถึงการปรับสภาพร่างกายให้เข้าสู่สมดุล เนื่องจากพื้นฐานร่างกายองแต่ละคนต่างกัน หลักการและวิธีการก็มีความแตกต่างกันไปด้วย การปรับสมดุล คือการปรับพื้นฐานเลือด พลัง ความร้อน-เญ็น(ยินหยาง)ของร่างกาย รวมถึงการขจัดสิ่งตกค้างจากการไหลเวียนของเลือดและของเหลวติดขัด จนเกิดภาวะพลังติดขัด เลือดคั่งค้าง มีความชื้น เสมหะ ของเหลวในส่วนต่างๆของร่างกาย การปรับสมดุลของร่างกายเพื่อให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันสามารถดูผลลัพธ์ของการทำงานของเม็ดเลือดขาว เช่น เม็ดเลือดขาวประเภท Macrophage ที่ทำหน้าที่ทำลายด้วยโอบล้อมย่อยสลายสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดรวมถึงไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ ฯลฯ การทำงานของทีเซลล์ลิมโฟไซต์  บีเซลล์ลิมโฟไซต์  …

การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฝนในสถานการณ์โควิด-19 (ในทัศนะแพทย์แผนจีน) Read More »

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病)

หากจะกล่าวถึงเหตุแห่งโรคกรดไหลย้อนในมุมมองของแพทย์แผนจีน สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. การรับประทานอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีมื้ออาหาร อยากกินเมื่อไรก็กินตอนนั้น เช้าไม่กิน ดึกกินมาก (饮食不当) ทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ทำงานไม่ปกติ 2. ปล่อยให้หิวเกินไปหรือกินอิ่มเกินไป (饥饱失常) เพิ่มภาระและสร้างความสับสนกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย 3. อารมณ์เครียด – กังวล จะทำร้ายกระเพาะอาหารและม้าม (忧愁思虑伤及脾胃) การครุ่นคิดมากเกินไป ทำให้พลังรวมศูนย์ไม่กระจาย การระบายพลังของตับเกิดการติดขัด ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม 4. การชอบรับประทานอาหารไม่สุก ฤทธิ์เย็น จะทำให้หยางของม้ามพร่อง เนื่องจากม้ามชอบความแห้งไม่ชอบความชื้น (喜燥恶湿) ชอบความอุ่น ไม่ชอบความเย็น (恶凉喜温) 5. การที่ช่องว่างส่วนกลางร่างกาย (จงเจียว中焦) ได้รับความเย็นจากอาหารหรืออากาศ จนเกิดภาวะเย็นพร่อง (虚寒) ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ดูดซึม เกิดการตกค้างเกิดเป็นความชื้นและเสมหะ และย้อนกลับขึ้นด้านบนไปทางหลอดอาหาร 6. คนที่ไตหยางอ่อนแอ 肾阳虚亏 (ไตหยางเป็นการทำหน้าที่ของไตในการให้พลังอุ่นร้อนเพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย) จะทำให้การทำงานทุกอวัยวะลดน้อย รวมถึงการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม การวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค ในการวินิจฉัยแยกแยะภาวะของโรค …

เหตุแห่งโรค และหลักการรักษาโรคกรดไหลย้อน (胃食管反流病) Read More »