แพทย์แผนจีน

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา

สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค  “แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก “ส้ม” ผู้อาวุโสของผลไม้ คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม …

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา Read More »

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

ความสนใจในคุณค่าการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอายุยืนยาว มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดจากการเจ็บป่วย หรือเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตถูกคุกคามด้วยโรคร้าย เรียกว่า ต้องเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา คนเราเมื่อยามสุขภาพไม่ดี ก็จะเห็นว่าสุขภาพมีความสำคัญ เมื่อยามที่จะต้องสูญเสียชีวิต ก็จะเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง การปล่อยปละละเลยต่อการดำเนินชีวิต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ แห่งธรรมชาติ ละเมิดวิถีแห่งธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยไข้เจ็บคุกคามเมื่อย่างเข้าสู่ ภาวะเสื่อมถอย คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้กล่าวถึง แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพไว้อย่างน่าสนใจ ควรแก่การศึกษา แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพ เมื่อพลังเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ ปัจจัยก่อโรคก็มิอาจกระทำต่อร่างกายได้(正气存在,邪不可干)ธรรมชาติได้ให้เทียบเท่ากันของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทำไมคนเราจึงไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นโรคทั้งๆที่มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ อยู่ในสิ่งแวดล้อม รายล้อมร่างกายเล่า? แพทย์แผนจีนมองว่าในภาวะปกติ พลังเจิ่งชี่(正气)ของร่างกายยังอยู่ในภาวะที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้กับแบคทีเรีย และไวรัสหรือสิ่งก่อโรคอื่นๆ แต่เมื่อใดตามร่างกายอ่อนแอลง พลังเจิ้งชี่ไม่อาจต้านทานการบุกรุกของเชื้อโรค ก็จะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บตามมาทันที ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับประเทศชาติ ภาวะสมดุลของร่างกาย คือ ภาวะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาที่สมดุล มั่งคง …

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ

ซุนซือเหมี่ยว (คศ.541 – 682) แพทย์จีนนามอุโมษแห่งราชวงศ์ถัง  เป็นแพทย์จีนและนักพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ยิ่งใหญ่ของจีนและระดับโลก  มีฉายาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร”  (药王)  และ “หมอเทวดา” (神医) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเรื้อน (麻风病), เป็นผู้กำหนดวิธีการหาจุดฝังเข็ม, การใช้รกของเด็กทารกบดเป็นผงรักษาโรค, การใช้ตับรักษาโรคตา, การใช้ต่อมไทรอยด์ของแพะรักษาโรคไทรอยด์โต (รากฐานความคิดใช้เซลล์รักษาเซลล์ในปัจจุบัน) ซุนซือเหมี่ยว (孙思邈) กับแนวคิดการ “ถนอมรักพลัง” (爱气)  ถ้าองค์รวมของมนุษย์เสมือนกับประเทศชาติแล้วไซร์ ความคิดและจิตวิญญาณ (神) ก็เปรียบเสมือนหนึ่งพระราชา  ประชาชนของประเทศจะเปรียบเสมือนชี่ (气พลัง) นั่นเอง การปกครองประเทศให้สงบสุข จะต้องถนอมรักประชาชน (爱民) การดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ต้องถนอมรักชี่(พลัง爱气) เพราะพลัง คือ สิ่งขับเคลื่อนชีวิต พลังของร่างกายจะเสื่อมถอยลดน้อยลงตามกระบวนการวิถีธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นการเสื่อมชราภาพเป็นผลจากการเสื่อมถอยของพลังของร่างกายนั่นเอง คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้บรรยายสภาพการเสื่อมถอยของร่างกายไว้ว่า                 “อายุ 40 ปี พลังชีวิตลดเหลือครึ่ง เริ่มต้นความเสื่อม…อายุ 50 ปี ตัวจะหนัก ร่างกายและสายตาจะไม่ค่อยฉับไว…อายุ 60 …

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ Read More »

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็วก็โรคมะเขือเผาทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร 5 ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในทรรศนะแพทย์จีน 1. เพศสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาว ตามหลักทฤษฎียิน-หยาง ชายเป็นหยาง หญิงเป็นยิน  การมีเพศสัมพันธ์คือการปรับสมดุลยิน-หยาง การเสริมยิน บำรุงหยาง ทำให้อายุยืน นาน “หญิงบำรุงชาย ชายบำรุงหญิง” 2. “เพศสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ แต่มากเกินก็ไม่ได้ “อาหาร และความต้องการทางเพศ เป็นสิ่งพื้นฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” แพทย์จีนชื่อ เก๋อหง สมัยจิ้น ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน กล่าวไว้ว่า “คนเรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากการแลก- เปลี่ยนยิน-หยาง จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เก็บกด จะทำให้เกิดโรค ชีวิตจะสั้น”  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการควบคุม เหมือนใบมีดที่จะเฉือนถึงกระดูก จะทำลายชีวิต เป็นข้อความบันทึกไว้ในตำราพิชัยสงคราม “ยิน-ฝู่จิง” เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปี …

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด

พลังหยาง (阳气) คือพลังของชีวิต ในวัยเด็ก พลังหยางค่อยๆ สะสมตัว จนพลังหยางสูงสุดในวัยหนุ่มสาว และเข้าสู่วัยกลางคน พลังหยางก็เริ่มถดถอยลดน้อยลง ร่างกายก็ไม่กระฉับกระเฉง ความคิดอ่าน ความจำ ความว่องไวทางประสาท สมอง ก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงวัยชราภาพ พลังหยางน้อยลงไปอีกและหมดไปในที่สุดพร้อมกับการดับลงของชีวิต เป็นวัฏจักรของการเกิด พัฒนา เสื่อมถอย และการตาย การบำรุงพลังหยางจึงมีความสำคัญต่อชีวิต เพราะเป็นตัวกำหนดการเกิด พัฒนาและการเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายและจิตใจด้วย ไปดูกันครับ ว่าเราสามารถเสริมสร้างพลังหยางได้อย่างไรบ้าง 1. เตรียมตัวนอนก่อน 23.00 น. คนที่หลับยากหน่อยอาจเข้านอน 22.30 น. คนที่หลับง่ายอาจนอนเวลา 22.50 น. พยายามให้หลับในช่วงประมาณ 23.00 น. และหลับสนิทในช่วง 01.00-03.00 น. 2. ไม่ควรกินอาหารหลัง 23.00 น. เพราะถุงน้ำดีจะไม่ทำงาน ในการขับน้ำดีโดยเฉพาะหลัง 23.00 น.ไปแล้ว และมักจะเกิดอาการหิว (หยางเริ่มเกิด) และคนมักจะตาสว่างไม่ค่อยง่วงนอน …

5 วิธีเสริมสร้างพลังหยาง ที่ง่ายและประหยัด Read More »

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง

คนสูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปีแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม หลอดเลือดแข็งตัว  ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น สมอง หัวใจ และไต ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอัมพฤกษ์ – อัมพาต อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้หัวใจขาดเลือด, ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว ทำให้ไตฝ่อ ไตทำหน้าที่น้อยลงเกิดภาวะไตวาย ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍)  กับเคล็ดลับ 7 อาหาร ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 1. เก๋อเกิน  (葛根) หรือโสมภูเขา  ( 山人参 ) สรรพคุณ เสริมธาตุน้ำ  ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดต้านมะเร็ง ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสมอง  สูตรการทำอาหารง่ายๆ โดยใช้ เก๋อเกิน 30 กรัม, ข้าวสาร 50 กรัม เอามาทำข้าวต้ม …

7 อาหารป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง Read More »

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา”

ชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย เรื่องควรรู้..ก่อนดื่มชา 1. ชาเขียวไม่เหมาะสมกับคนที่มีภาวะหยางของไตพร่อง (พลังหยางน้อย) เพราะชาเขียว มีฤทธิ์ค่อนไปทางเย็นหรือเย็นมาก มีสรรพคุณระบายความร้อน ขับไฟออกจากร่างกาย ควรจะต้องเป็นไฟหรือความร้อนส่วนเกิน (ไม่ใช่ความร้อนของพลังหยางของร่างกาย) โดยเฉพาะความร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ช่องปาก ตา คอหอย จึงจะทำให้ร่างกายด้านล่าง เย็น เป็นตะคริว  ปวดเมื่อยเอว และเข่าไม่มีกำลัง ปัสสาวะบ่อย กล้ามเนื้อขาอ่อนกำลัง 2. ไม่ควรดื่มชาที่แช่เย็น เพราะจะทำให้ทำลายหยางชี่ได้รุนแรงขึ้น (เพราะชาก็เย็นอยู่แล้วยังอยู่ในสภาพเย็นอีก) 3. ไม่ควรดื่มชาขณะท้องว่าง ควรดื่มหลังอาหารเท่านั้น ทำให้กระเพาะอาหารกระทบความเย็นโดยตรง การดูดซึมของชาเข้าสู่ร่างกายรวดเร็ว ทำลายร่างกายได้เร็วขึ้น สังเกตได้เวลาดื่มชาขณะท้องว่าง จะทำให้ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ได้ 4. ไม่ควรดื่มชาแก้วใหญ่ๆ ดื่มตลอดวัน หรือดื่มแทนน้ำ ควรดื่มชาอุ่น 2 – 5 …

5 เรื่องควรรู้ ก่อนดื่ม “ชา” Read More »

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง

เคล็ดลับเหล่านี้ เป็นภาพรวมของการปรับสมดุลยินหยาง ที่เน้นหลักการสงบมีความสำคัญกว่าการเคลื่อนไหว เพราะความสงบทางจิตจะควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีสติ การเคลื่อนไหวเน้นทางร่างกายมากกว่าทางจิต อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนแล้วอาจต้องเสริมความเคลื่อนไหวทางกาย และอาศัยในที่อุ่นร้อนมากสักหน่อย เพราะร่างกายสู้ความหนาวไม่ได้ น้นคือการปรับสมดุลให้สอดคล้องกับสภาพของปัจเจกบุคคล 1. ใช้ความสงบรักษาสุขภาพ (静养) คนที่ไม่สงบจะมีการเสียพลังงานตลอดเวลา และไม่สามารถเก็บพลังได้ การนั่งสมาธิ, การนอนหลับที่เพียงพอตามเวลาที่เหมาะสม จะประหยัดการใช้พลังงานชีวิต ทำให้มีพลังไว้ใช้นานๆ 2. ใช้ความเนิบช้า รักษาสุขภาพ (缓慢养生) ถ้าเราสามารถควบคุมการหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การปรับสมดุลของระบบประสาท, การหลั่งฮอร์โมนให้ละมุนละม่อม ไม่รวดเร็วรุนแรง จะเป็นการประหยัดพลังงานชีวิตที่สำคัญ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า คนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักจะมีอายุยืน ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือเมื่อเจ็บป่วยก็หายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับคนที่หายใจเร็ว, หัวใจเต้นเร็ว ขณะเดียวกันสภาพจิตใจของคนที่หายใจช้า, หัวใจเต้นช้า มักมีภาวะทางจิตสมาธิดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความสุขกับชีวิต จะเกิดภาวะปล่อยวาง,ไม่บีบคั้น   จิตเป็นสมาธิจะควบคุมการปรับสมดุลทำให้ร่างกายทำงานช้าลง คือการยืดอายุนั้นเอง   3. อาศัยบนที่สูง, อากาศเย็น รักษาสุขภาพ (高寒养生) คัมภีร์ “หวงตี้เน่ยจิง” ได้กล่าวถึงคนที่อาศัยอยู่ในที่สูงและอากาศเย็น มักมีอายุที่ยืนยาว อากาศที่เย็น จะลดอุณหภูมิ,ลดการเผาผลาญ, …

3 เคล็ดลับ ปรับสมดุลยินหยาง Read More »

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์เรื่องของแสงสีในชีวิตประจำวัน อาศัยอิทธิพลของแสงสีต่างๆที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและผลกระทบต่ออวัยวะภายในมาจัดการ กับสภาพแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย ห้องนอน ห้องทำงาน อุปกรณ์ใช้สอย การตกแต่ง ผนังกำแพง ม่านหน้าต่าง แสงไฟ ชุดทำงานของพนักงานบริษัท หรืออาชีพต่างๆ รวมทั้งการจัดห้องสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ ตัวอย่างเช่น1. การใช้แสงสีที่มีลักษณะอุ่นเพื่อการกระตุ้นแสงสีที่ใช้คือ สีแดง สีชมพู หรือสีส้ม เช่น หากนำไปใช้ในห้อง อาบน้ำจะทำให้มีการกระตุ้น มีความเบิกบาน เหมาะสำหรับผู้มี อารมณ์เศร้าโศก อึดอัดใจ ง่วงนอน สมองเฉื่อยชา มีคุณสมบัติในการ ขจัดความพร่อง ความเย็นชา 2. การใช้แสงสีที่มีลักษณะเย็นเพื่อการยับยั้งแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีเขียวอ่อน สีฟ้า เช่น หากนำไปใช้ในห้องอาบน้ำจะทำให้รู้สึก เย็นชื่นใจ อารมณ์สงบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายๆ นอนไม่หลับ มีความกลัว ตกใจง่าย คิดมาก3. ใช้แสงสีเพื่อถนอมสายตาแสงสีที่ใช้ได้แก่ สีเขียว และสีดำ เหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้น สายตายาว และตาบอดสี 4. …

การประยุกต์ใช้ “แสงสี” ในชีวิตประจำวัน Read More »

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง

เปี่ยนเชวียะ扁鹊 (ก่อน ปีค.ศ.407 – 310) เป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานหลักการตรวจจับชีพจรแบบแพทย์จีน ครั้งหนึ่ง เว่ยเวินหวาง (魏文王) กษัตริย์แห่งรัฐฉินในสมัยชุ่นชิวจ้านกว่อ ( 春秋战国the Warring States period (475-221 BC) ได้สอบถามเปี่ยนเชวียะในข้อข้องใจบางประการ  เว่ยเวินหวางถาม “ในครอบครัวของเจ้ามีพี่น้อง 3 คน ล้วนแต่เป็นแพทย์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คนใครเก่งที่สุด?” เปี่ยนเชวียะตอบว่า  “พี่ชายคนโตเก่งที่สุด พี่คนรองเก่งรองมา ส่วนข้าพเจ้าเก่งน้อยที่สุด” เว่ยเวินหวางถามต่อ “แล้วเหตุใด เจ้าจึงเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่า?” เปี่ยนเชวียะตอบ “พี่ชายคนโตรักษาโรคก่อนเกิดโรค คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาได้ขจัดต้นเหตุและเงื่อนไขต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดโรค ชื่อเสียงความสามารถของเขาจึงไม่มีคนรู้ มีแต่คนในครอบครัวเท่านั้นที่รับรู้ ส่วนพี่ชายคนกลางรักษาโรคเมื่อโรคเพิ่งแสดงอาการเริ่มแรก คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการรักษาโรคง่ายๆ จึงมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ส่วนข้าพเจ้ารักษาเมื่อเป็นโรคเมื่อโรคลุกลามและมีความรุนแรงแล้ว คนทั่วไปเห็นข้าพเจ้าใช้เข็ม ใช้การปล่อยเลือด ใช้ยาทาพอกภายนอก ทำให้เข้าใจว่าเป็นแพทย์ฝีมือยอดเยี่ยม ชื่อเสียงจึงระบือไกลทั่วประเทศ” สรุปได้ว่า พี่ชายคนโต ใช้แค่การมองพลังชีวิต บ่งบอกถึงสภาพร่างกายโดยองค์รวม ก็หาแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลตั้งแต่โรคยังไม่ก่อตัว เป็นการหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา …

เรื่องของแพทย์ชั้นสูง แพทย์ชั้นกลาง และแพทย์ชั้นล่าง Read More »

“ถั่วเขียว” อาหารสุขภาพหน้าร้อน

แพทย์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง ได้บรรยายถึงสรรพคุณของถั่วเขียวไว้ว่า “สรรพคุณ  เสริมบำรุงหยวนซี่ ปรับประสาน 5 อวัยวะภายใน สงบจิตประสาท วิ่งเส้นลมปราณ 12 เส้น ขับลมที่มากระทำจากภายนอก  ลดน้ำตาลในเลือด ทำให้ผิวนุ่ม ลดบวม รับประทานได้ต่อเนื่องนานๆ”  (绿豆有补益元气,调和五脏,安精神,行十二经脉., 去浮风,止消渴,利肿胀) คัมภีร์ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” (本草纲目 ) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของถั่วเขียวไว้ว่า “เป็นยาลดบวม ขับพิษ ขับร้อน แก้ร้อนจากแดด และอาการกระหายน้ำ บำรุงจิตประสาทและหยวนซี่ เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ กระเพาะอาหาร” ยังเหมาะกับคนที่ไขมันในเลือดสูง  ความดันโลหิตสูง  ขับพิษจากตับ  ยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย  เหมาะกับทุกวัย รวมถึงเด็กและผู้ใหญ่ เทคนิคการต้มถั่วเขียวให้ได้คุณภาพ “ถั่วเขียว” ถ้าต้มไม่เป็นเนื้อจะไม่สุก ต้มมากไปเนื้อจะเละ การต้มต้องไม่ให้ถั่วเขียวเละ หรือทำให้น้ำต้มถั่วเขียวมีลักษณะขุ่น เพราะจะทำให้ขาดสรรพคุณและรสชาติที่อร่อย ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำในการต้มถั่วเขียว ล้างถั่วเขียวให้สะอาด เอาไปแช่ในน้ำที่เดือดแล้ว 20 นาที แล้วกรองเอาน้ำทิ้ง นำไปต้มกับน้ำเย็นในหม้อด้วยไฟที่แรง นาน 40 นาที …

“ถั่วเขียว” อาหารสุขภาพหน้าร้อน Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นที่มีมากว่า 5,000 ปี สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า องค์ประกอบหลักของการแพทย์แผนจีนคือ การวินิจฉัยหรือการบอกโรค การรักษาด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยหนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา โดยหลักพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนจะเกี่ยวข้องกับหยินหยาง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่าเกิดจากการเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงอาจมาจากการยกของหนักผิดท่า ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ทำให้เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว  โดยปกติแล้วกระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน และปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่องและเท้า ทางร่วม…รักษาโรค  ในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องดูการตรวจเอกซเรย์กระดูกว่ามีลักษณะ อย่างไร มีการกดทับของกระดูกมากน้อยแค่ไหน ถ้ากดทับไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเสี่ยงว่าผลที่ได้รับอาจไม่ดีอย่างที่คาดคิด  สำหรับแพทย์แผนจีน สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือ การทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล สำหรับผู้ที่ถูกกดทับมาก และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว สามารถใช้การแพทย์แผนจีนร่วมกับการรักษาแผนตะวันตกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของร่างกายได้ด้วย “อาการปวดของผู้ป่วย เกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณติดขัด ดังนั้นในการบรรเทาอาการปวด เราจะเน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ซึ่งสาเหตุการติดขัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือดหรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล” …

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท Read More »