พื้นฐานแพทย์แผนจีน

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง

คุณแม่พาลูกสาวมาพบแพทย์จีนด้วยปัญหาลูกสาวเป็นรังแคและคันศีรษะบ่อยๆ ใช้ยาสระผมมาหลายยี่ห้อก็ไม่ค่อยดีขึ้น หลังจากตรวจร่างกายและจับชีพจร รวมทั้งถามประวัติอาการละเอียดแล้ว พบว่าเด็กมีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะเวลานอนกลางคืนบริเวณศีรษะ จึงให้การรักษาด้วยยาบำรุงไตยิน แนะนำการทำความสะอาดเส้นผม การกินอาหาร หลังจากนั้นไม่นานเหงื่อบริเวณศีรษะก็ออกน้อยลง ลูกสาวของเธอก็ไม่เป็นรังแคอีกเลย ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับเหงื่อและการเกิดโรค เช่น“ทำไมเวลาออกกำลังกายเหงื่อไม่ออกเลย”“ทำไมเหงื่อของผมออกง่ายจังเลย ทำอะไรเล็กน้อยก็เหงื่อออกท่วมตัว”“ทำไมเวลานอนกลางคืน ทั้งๆที่นอนห้องแอร์เหงื่อก็ยังออกมาก แต่กลางวันไม่ยักจะออก”“เวลาเริ่มมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจะมีไข้สูง จะต้องออกไปขุดดินทำให้เหงื่อออก อาการไข้จะหายไปเองโดยไม่ต้องกินยา”พูดถึงเรื่อง “เหงื่อ” เป็นหัวข้อหนึ่งที่แพทย์จีนต้องถามถึง วิธีการตรวจแบบแผนจีน “มอง, ดม-สูด , ถาม , สัมผัส” การถามเรื่องของเหงื่อจะบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ ข้อมูลเรื่องเหงื่อจึงมีความสำคัญที่นำไปสู่การรักษาโรคที่เป็นปัญหาหลัก และจะพบว่าโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันก็อาจหายไปพร้อมกับเรื่องของเหงื่อออกผิดปกติได้ ความผิดปกติของอาการเหงื่อออกแบ่งเป็น1. ปริมาณของเหงื่อที่ออกผิดปกติ– ออกน้อยไป , ไม่ค่อยมีเหงื่อออก-ออกมากไป2. ช่วงเวลาที่เหงื่อออก-ออกตอนกลางคืน-เหงื่อออกเองโดยเฉพาะกลางวัน3. ตำแหน่งที่เหงื่อออก-ส่วนศีรษะ-ส่วนล่าง , ส่วนบน , ด้านซ้าย , ด้านขวา-ส่วนฝ่ามือ , ฝ่าเท้า สาเหตุใหญ่ๆของอาการเหงื่อออกผิดปกติ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท 1. สาเหตุจากภายนอกมากระทำ : โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อน , เย็น …

เหงื่อผิดปกติ บ่งบอกอะไรบ้าง Read More »

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ต่อมลูกหมากโต เนื่องจากตัวต่อมมีขนาดอ้วนโตขึ้น โดยไม่ใช่เนื้อร้าย มีบันทึก ไว้ในตำราแพทย์จีนโบราณ โดยเรียกอาการนี้ว่า “ปัสสาวะ ติดขัดไม่คล่อง ปัสสาวะเป็นหยดๆ และขาดช่วงเป็นระยะ” พยาธิสภาพของโรคไม่แจ่มชัดทั้งหมด แต่สามารถอธิบายในแง่ของการทำงานของอวัยวะภายในทั้ง 5 ได้ดังนี้ แพทย์แผนจีนถือว่า การที่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้คล่องต้อง อาศัยพลังจากซานเจียว (ช่องไฟธาตุทั้ง 3 ที่อยู่บริเวณกลางลำตัว ส่วนบน คือช่องอก เป็นส่วนเหนือกะบังลม ส่วนกลางคือ ช่องท้องส่วนที่เหนือสะดือ และส่วนล่างคือ ส่วนช่องท้องที่อยู่ใต้สะดือ) มาขับเคลื่อน                                                                            พลังซานเจียวต้องอาศัยพลังจากอวัยวะภายใน 3 ส่วน ที่สำคัญคือ ปอด, ม้าม, ไต มาสนับสนุน กล่าวคือ -ปอด มีหน้าที่กระจายน้ำ ส่วนบนลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ-ม้าม มีหน้าที่ดูดซึม และ ส่งสารอาหารของเหลวที่ดีไปปอด ขับส่วนที่เสียสู่ส่วนล่างไปลำไส้เล็ก, ไต และกระเพาะปัสสาวะ -ไต เป็นตัวกำหนดน้ำ ไตช่วยให้ม้ามลำเลียงของเหลวในร่างกายได้ดีไม่ติดขัด ช่วยในการสร้างปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะก็ต้องอาศัยพลังของไต นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการอุดกั้นของตับทำให้พลังของซานเจียวในการที่ผลักดันการขับถ่ายของน้ำจากม้าม-ปอด-ไตขัดข้องการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยที่มีอาการของต่อมลูกหมากโต จึงสามารถแยกโรคตามสาเหตุที่ต่างกันดังนี้1. พลังไตหยางพร่อง ปัสสาวะไม่คล่อง ติดขัด ไม่มีแรงเบ่ง สีหน้าขาวซีด ใบหน้าไม่มีชีวิตชีวา เอว, หัวเข่า รู้สึกเย็น และปวดเมื่อย …

ต่อมลูกหมากโต ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน

คนเราในวัยหนุ่มสาว พลังชีวิตหรือพลังหยางของร่างกายกำลังเต็มเปี่ยมเหมือนกับดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าจนถึงเที่ยง พอวัยกลางคนพลังหยางของร่างกายค่อยๆ ถดถอย จนถึงวัยชราก็เหมือนกับหลัง 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ดูทุกอย่างกำลังกับเข้าสู่ความสงบ ความหยุดนิ่ง นั่นคือ กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ การแสวงหาสมดุลแห่งชีวิต และการมีสุขภาพที่แข็งแรงอายุยืนยาวเพื่อให้ความฝันเข้าใกล้อายุไขที่ยาวนานมากที่สุดโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้ทนทุกข์ทรมาน  เป็นความประสงค์สูงสุดหนึ่งของมนุษย์ คนจำนวนมากไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อถึงวัยนี้ยังมีความพยายามเหมือนคนหนุ่มสาว ไม่ย่อท้อต่อชีวิตเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและน่าให้กำลังใจ แต่ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและสัจธรรมแห่งชีวิตควบคู่ไปด้วย จะทำให้เรามีความสุขในการต่อสู้กับปัญหาได้ดีขึ้น การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ด้วยหลัก “7 ลดน้อย (การลดน้อย 7 ประการ)” จะทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวได้ 1. กินน้อย (少吃) ไม่ควรกินอิ่มมากเกินไป จะทำให้ระบบย่อย (ในผู้สูงอายุ) ซึ่งไม่ดีอยู่แล้วทำงานหนักยิ่งขึ้น ทำให้อาหารตกค้าง ไม่ย่อย ไม่สบายตัว ท้องอืด นอนไม่หลับ รวมทั้งทำให้มีโอกาสเกิดโรคอ้วน, เบาหวาน, โรคของถุงน้ำดี ฯลฯ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว 2. โกรธน้อย (少怒) การโกรธและการเก็บกดอารมณ์โกรธที่รุนแรง จะทำพลังย้อนขึ้นบนหรือติดขัด หลอดเลือดหดตัว เป็นอันตรายต่อการขาดเลือดของสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ …

“7 ลดน้อย” ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

เวียนศีรษะ บ้านหมุน

แพทย์แผนจีนมองภาวะเวียนศีรษะ – บ้านหมุน ในภาพรวม เกี่ยวข้องกับสภาพร่างกายพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละรายและสิ่งก่อโรค โดยหลักการวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (เปี้ยนเจิ้ง 辨证) กล่าวคือ วิเคราะห์การไหลเวียนของเส้นลมปราณและสภาพร่างกาย รวมถึงปัจจัยก่อโรคที่มากระทำให้เกิดโรคเป็นสำคัญ อาการเวียนศีรษะ-บ้านหมุน หรือเสวียน-ยวิน (眩晕) หมายถึง อาการตาลาย บ้านหมุน ถ้าอาการไม่รุนแรงปิดตาอาการจะดีขึ้น ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการหมุนโคลงเคลงเหมือนนั่งในรถในเรือ ไม่สามารถลุกยืนได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หน้าขาวซีด ร่วมด้วยแพทย์แผนจีนมีการกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะจากปัจจัยและกลไกต่างๆ เช่น– อาการเวียนศีรษะ คือ ลมที่อยู่ส่วนบน เกี่ยวข้องกับอวัยวะตับ – อาการเวียนศีรษะ คือ ภาวะพร่องส่วนบน พลังขึ้นไปสมองไม่พอ – อาการเวียนศีรษะ เพราะไตพร่องการสร้าง ไขสมองน้อยลง – อาการเวียนศีรษะ เกิดจากเสมหะปิดกั้น ด้านบน – ลิ่วหยิน (六淫) ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก มากระทบ – การแปรปรวนทางอารมณ์ทั้ง 7 ทำให้เกิด อาการเวียนศีรษะ – …

เวียนศีรษะ บ้านหมุน Read More »

10 เทคนิคการมอง ประเมินภาวะสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์จีน

แพทย์แผนจีนกับการประเมินสุขภาพแบบ Low tech แต่ High touch  ด้วยข้อจำกัดทางประวัติศาสตร์ ความรู้ และการพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์แผนจีนเป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ใช้การสังเกตโดยอาศัยประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 คือ ตาใช้มองดู หูใช้ฟัง จมูกใช้ดม ผิวหนังใช้สัมผัส ลิ้นใช้รับรส ปากใช้ถาม แล้วจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาประเมิน วิเคราะห์ แยกแยะความผิดปกติของสมดุลอวัยวะภายใน การไหลเวียนเลือดและพลังที่สะท้อนให้เห็นจากภายนอก นำไปสู่การป้องกันและรักษาโรค แพทย์แผนจีนมีเทคนิคการมอง (สังเกต) จากสิ่งที่ปรากฏภายนอกแบบง่ายๆ ดังนี้ 1. ดวงตาทั้งคู่มีประกาย มีชีวิตชีวา – ตาขาว สะท้อนอวัยวะปอด                             – ตาดำ สะท้อนอวัยวะตับ – รูม่านตา สะท้อนอวัยวะไต                            – หนังตา สะท้อนอวัยวะม้าม – เส้นเลือดฝอยที่ตาขาว สะท้อนอวัยะหัวใจ ความสมบูรณ์ของอวัยวะภายในจึงสามารถมองได้จากความมีชีวิตชีวา ประกายที่เปล่งจากดวงตา 2. ใบหน้ามีสีเลือดฝาด มีน้ำมีนวล ใบหน้าเป็นตำแหน่งที่มีการไหลเวียนของเลือดและพลัง ความสมบูรณ์ของเลือดและพลังจึงสามารถมองได้จากสีเลือดและความมีน้ำมีนวลบนใบหน้า 3. เสียงพูดมีพลัง …

10 เทคนิคการมอง ประเมินภาวะสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล

เคยกล่าวมาตลอดว่า การดูแลสุขภาพต้องให้การดูแลแบบองค์รวม ไม่เน้นดูแลอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง จนลืมดูแลส่วนอื่นๆในร่างกายไป วันนี้เราจะมาเรียนรู้การดูแลอวัยวะตับ ไต หัวใจ ม้าม และปอด โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ไปดูกันว่าอาหารและการดูแลอวัยวะแต่ละส่วนนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อาหารและการดูแลอวัยวะตับ การนอนหลับกลางคืนต้องหลับสนิท โดยเฉพาะช่วง 1.00-3.00 น. กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ กินผักผลไม้สีเขียว สีเขียวเข้าอวัยวะตับ ขับพิษขับร้อนในตับ เช่น มะนาว ส้มโอ เคี้ยวเก่ากี้หรือชงน้ำเก่ากี้ ดื่มเป็นประจำ ช่วยบำรุงตับและขับสารพิษ กดจุดไท่ชง(太冲穴) บ่อยๆ ครั้งละ 3-5 นาที การร้องไห้ ระบายพิษของตับ(ตับเปิดทวารที่ตา) เป็นการไห้ช่วยระบายความเครียดทางอารมณ์ อาหารและการดูแลอวัยวะหัวใจ ดีบัว-ขับพิษร้อนหัวใจ ใช้ดีบัว  10 กรัม  ใบไผ่ 1 กำมือ ใส่ชะเอมเทศ 5-6 แผ่น ต้มดื่ม ช่วงเวลา 11.00-13.00 น.พลังวิ่งในเส้นลมปราณหัวใจสูงสุด  …

5 อวัยวะภายใน กับอาหารและการดูแล Read More »

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน

“ไขมันพอกตับ” โรคที่เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน ยา สารพิษ การขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของตับ ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับมากเกินไป ปัจจุบันแม้ว่าระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เกิดปัญหาด้านอาหารและมาตรการการป้องกัน ทำให้อัตราการเกิดไขมันในตับยังคงเพิ่มขึ้น และพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง ซึ่งปัจจุบันไขมันสะสมในตับเป็นโรคที่พบบ่อยจนกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน อัตราการเกิด ไขมันพอกตับ ในประเทศจีนสูงถึง 8.4 – 12.9 % ซึ่งพบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มักพบมากในผู้สูงอายุ ที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 40 – 50 ปี ไขมันพอกตับ จัดว่าเป็นโรคไม่ร้ายแรงเฉกเช่นมะเร็ง มักค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา มีอัตราถึง 25% และ 1.5 – 8% ของผู้ป่วยอาจพัฒนาไปสู่โรคตับแข็ง ซึ่งในที่สุดการทำงานของตับจะล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยที่จะให้ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ภาวะ ไขมันพอกตับ มักจะไม่มีอาการที่เห็นได้เด่นชัด ส่วนมากมีอาการอ่อนเพลีย มักตรวจพบตอนตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลว่ามีไขมันในเลือดสูงและจากผลอัลตราซาวน์มีไขมันพอกตับ สำหรับคนที่อ้วนขึ้นเรื่อยๆ หรือคนที่อดอาหารเพื่อลดความอ้วนแต่ไม่ได้ผลยิ่งมีความจำเป็นต้องตรวจภาวะ …

ไขมันพอกตับ กับการรักษาด้วย แพทย์แผนจีน Read More »

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย

เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยตรรกะแล้ว คนที่ไม่มี การออกกำลังกาย เลยก็ควรจะอายุสั้น แต่บ่อยครั้งกลับพบว่านักกีฬาที่เคยสร้างชื่อเสียงสมัยหนุ่มสาวหลายคนมีอายุสั้นอย่างเหลือเชื่อ เช่น ฟลอเรนซ์ จอยเนอร์ นักวิ่งสาวลมกรดเสียชีวิตในปี 2541 ขณะมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น บางคนสงสัยตั้งคำถามว่าระหว่างคนที่ทำงานใช้แรงงานกายทั้งวัน (เช่น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชาวนา) กับคนที่นั่งสมาธิมากๆ ไม่ค่อยใช้แรงงานกาย (เช่น นักบวช พระ) ใครจะมีอายุยืนยาวกว่า เต่า เป็นสัตว์ที่ไม่ชอบเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหว ก็เชื่องช้าอืดอาด กลับมีอายุยืนยาว นกกระเรียน เป็นนกที่อยู่โดดเดี่ยว ขณะบินก็เคลื่อนไหวนุ่มนวลเชื่องช้า ก็มีอายุยืนยาว แมลงพวก mayfly ที่เคลื่อนไหวเร็วกลับมีอายุสั้น ปัญหาเรื่องการออกกำลังกาย ความหมายปัจจุบัน กับโบราณแบบจีนก็มีทัศนะแตกต่างกันหลายด้าน การออกกำลังกาย ในทัศนะแพทย์แผนจีนประสานการเคลื่อนไหวกับการหยุดนิ่ง – ความสมดุล ของยินหยางแพทย์แผนจีนมองว่าการเคลื่อนไหวเกิดหยาง  การเคลื่อนไหวก็มีข้อดีของการเคลื่อนไหวการหยุดนิ่งเกิดยิน  การหยุดนิ่งก็มีข้อดีของการหยุดนิ่งแพทย์จีนที่ให้ความสำคัญกับ  ” การเคลื่อนไหว ” คือ ท่านปรมาจารย์ ฮั้วถอ (  หมอฮูโต๋) ท่านกล่าวว่า  ” การเคลื่อนไหวทำให้พลังเคลื่อน หลอดเลือดไม่ติด …

แพทย์แผนจีน กับ การออกกำลังกาย Read More »

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร?

ในหน้าร้อนระบบการย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกหิว การปฏิบัติตัวสำหรับการกินอาหารที่เหมาะสมในหน้าร้อนนั้น พอสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้าวต้มมื้อเช้าตอนตื่นนอน ท้องจะว่างเนื่องจากกระเพาะอาหารพร่อง ควรเริ่มต้นมื้อเช้าด้วยอาหารอ่อนๆ เพราะในหน้าร้อน ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากความร้อนทั้งกลางคืนและกลางวัน ทำให้สูญเสียน้ำ การทำงานของระบบย่อยและดูดซึมอาหารลดลง จึงยิ่งต้องถนอมการทำงานของกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นด่านสำคัญที่จะย่อยสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย ข้าวต้มอาจผสมถั่วเขียว, เมล็ดบัว หรือรากบัว ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและช่วยขับความร้อน เสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม 2. ควรกินผลไม้ที่แพทย์แผนจีนถือว่ามีคุณสมบัติเย็น ขับร้อน เพิ่มน้ำในร่างกายผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น เช่น แตงกวา, แตงโม, แตงไทย, มังคุด, สับปะรด, สาลี่ เป็นต้น เหมาะสำหรับ กินแก้กระหายและขับร้อนในร่างกาย แต่ไม่ควรแช่เย็นจัด หรือกินในตอนกลางคืน หรือขณะที่ท้องว่างหรือเวลาหิวจัด 3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทฤษฎีแพทย์จีนถือว่ามีคุณสมบัติร้อน อาหารทอดๆ มันๆ แห้งๆควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกทอดๆ มันๆ เช่น ถั่วทอด,  กล้วยแขก, ปาท่องโก๋, ไก่ทอด ฯลฯ หรืออาหารที่มีคุณสมบัติร้อน เช่น น้อยหน่า, ทุเรียน, ลิ้นจี่, ลำไย, ขนุน …

หน้าร้อน มีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไร? Read More »

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน

“อากาศร้อนๆ แบบนี้ ถ้าได้ดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง คงสดชื่นน่าดู”“อากาศร้อนมาก ผมเลยนอนบนพื้นปูน เปิดพัดลมเย็นสบายดี แต่พอตื่นขึ้นมารู้สึกอ่อนเพลียหนักๆ หัวเหมือนจะไม่สบาย”“ปิดเทอมหน้าร้อน พาเด็กๆ ไปห้างสรรพสินค้าทีไร กลับมาไม่สบายทุกทีเลย” ในหน้าร้อน ยามกระหายน้ำ ทุกคนมักนึกถึงน้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำ อัดลม หรือไอศกรีม หรือหากอากาศร้อนมากๆ ถ้าอยู่บ้านมักใช้วิธีเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศจ่อถึงเนื้อถึงตัวทั้งวันทั้งคืน หรือบางคนนิยมไปหลบความร้อนตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ความเคยชินหลายอย่างอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้มากโดยที่เราคาดไม่ถึง แพทย์แผนจีนมีการบันทึกเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหน้าร้อนไว้อย่างน่าสนใจ แนวความคิดพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน คือ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติรอบตัวที่มีความเกี่ยวพันและผลกระทบต่อกันอย่างแยกไม่ออก การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวที่เด่นชัด คือ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฤดูกาล  ซึ่งได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ (มีลมแรง) ฤดูร้อน (มีแดดร้อน) ปลายฤดูร้อน(มีความชื้น) ฤดูใบไม้ร่วง (มีอากาศแห้ง) และฤดูหนาว (มีอากาศเย็น) จะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกายและการเกิดโรค สาเหตุแห่งโรคที่มากระทบร่างกายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศและฤดูกาลมี ๖ ปัจจัยด้วยกัน คือ ลม แดดร้อน ความชื้น ความแห้ง ความเย็น และไฟ (ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย) ซึ่งแต่ละปัจจัยมีผลกระทบต่อการปรับตัวของร่างกายแตกต่างกัน ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือเพราะภาวะของร่างกายอ่อนแอจะทำให้เกิดโรคได้ …

วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อน Read More »

ทำไม? ในยาสมุนไพรมี สเตียรอยด์

“เป็นเรื่องแปลก แม้ว่าจะพบสมุนไพรจำนวนมากในท้องตลาด ที่แอบใส่ สเตียรอยด์ เข้าไป แต่มักจะหาแหล่งผลิตยาก เพราะผู้ผลิตจำหน่ายมักไม่ใช่หมอ (ผลิตเพื่อการค้า) และหมอที่มีความรู้จริงก็ไม่รู้จะใส่สเตียรอยด์เข้าไปเพื่อเหตุผลใด เพราะผิดทั้งกฎหมายและจะถูกยึดใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะได้ ที่สำคัญผู้ป่วยสามารถนำหลักฐานเพื่อร้องเรียนตัวหมอได้ง่าย เพราะมีเจ้าภาพที่เป็นตัวตน” “ดิฉันรู้ดีว่าคุณหมอไม่ได้ใส่สเตียรอยด์สังเคราะห์เข้าไปในยาจีนหรอกคะ แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าสมุนไพรจีนหลายตัวที่มีผลวิจัยพบว่า มี สเตียรอยด์ ธรรมชาติ ถ้าดิฉันกินเข้าไปจะสะสมทำให้อ้วนหรือเปล่า? ยาสมุนไพรจีนที่มีสเตียรอยด์ธรรมชาติน้อย มีฤทธิ์ไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างสเตียรอยด์ของร่างกายเองได้อย่างไร หลักการที่ถูกต้อง ถ้าสเตียรอยด์ที่สร้างโดยร่างกายเอง สามารถปรับการสร้างและผลิตให้เหมาะสมกับภาวะต่างๆ ของผู้ป่วยได้อย่างสมดุลนับว่าดีที่สุด ยาสมุนไพรจีนบางอย่าง ไม่ได้มีฤทธิ์สเตียรอยด์โดยตรง แต่สามารถทำให้ร่างกายเกิดการสร้างสเตียรอยด์ได้ดีในภาวะจำเป็น เช่น ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติของจีน พบว่านักวิ่งหญิงจีน 9 คน วิ่งทำลายสถิติโลก สร้างความแปลกใจแก่ผู้สังเกตการณ์ทั่วโลกซึ่งเชื่อว่าเป็นผลของการใช้สารสเตียรอยด์อย่างแน่นอน ภายหลังตรวจสอบไม่พบสารสเตียรอยด์ และนักกีฬาทุกคนก็ไม่มีอาการภายนอกที่แสดงออกของการใช้สเตียรอยด์ โค้ชทีมได้เฉลยข้อข้องใจว่า มีการบำรุงสมุนไพร ตง-ฉง-เซี่ย-เฉ่า ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์ไปกระตุ้นพลังปอด ซึ่งพบว่าสมุนไพรตัวนี้มีบทบาทหลายด้าน เช่น แก้โรคหืด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจทำให้ร่างกายมีพลัง ทั้งที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ธรรมชาติเป็นตัวประกอบหลัก แสดงว่าการออกฤทธิ์ต่อระบบอื่นๆ หลายระบบ หลายอวัยวะแล้วไปมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไต ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนออกมาได้ในยามที่ต้องใช้งานจำเป็นฤทธิ์แบบเดียวกันที่พบในโสมคนหรือโสมไซบีเรียที่มีผลต่อการเสริมพลังการทำงานของหัวใจ การควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด การเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ข้อแตกต่างระหว่างการใช้สเตียรอยด์สังเคราะห์กับการใช้ยาสมุนไพรจีนคืออะไร …

ทำไม? ในยาสมุนไพรมี สเตียรอยด์ Read More »

ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ จริงหรือ

ผู้ป่วยบางคนรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันตั้งนาน เลยคิดอยากจะเปลี่ยนไปหาแพทย์ทางเลือกอย่างเช่นแพทย์แผนจีน พอไปปรึกษาแพทย์มักจะได้คำตอบว่า “ไม่ควรไปหา เพราะยาจีนไม่ว่าจะเป็นผง แคปซูล หรือเป็นสมุนไพร มักมีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ กินแล้วระยะแรกจะดีขึ้น แต่ใช้ไปนานๆ จะมีผลแทรกซ้อนเป็นอันตราย” ผู้ป่วยบางคนมาหาหมอจีน เมื่อหมอจ่ายยาสมุนไพรให้ผู้ป่วยบางคนจะถามหมอว่า“คุณหมอค่ะ ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ หรือเปล่า ที่บ้านเขาไม่สนับสนุน เพราะกลัวใส่ สเตียรอยด์ แล้วเป็นอันตราย” เมื่อไม่นานนี้ มีผู้ป่วยรายหนึ่งไปออกรายการโทรทัศน์ให้สัมภาษณ์ในรายการดังกระจายไปทั่วประเทศว่า ได้ไปรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน 2-3 เดือน เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งสรุปว่าเป็นเพราะยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ หรือผสม สเตียรอยด์ เข้าไป ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า คุชชิง (กลุ่มอาการ คุชชิง หรือ Cushing’s syndrome) การประชุมวิชาการประจำปีของแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่28-29 เมษายน 2548 ได้จัดให้มีการอภิปรายในหัวข้อ “สเตียรอยด์ ในสมุนไพรจีน” มีผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชกรหญิงทัศนีย์ โชคเจริญรัตน์ จากสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ …

ยาสมุนไพรจีนมี สเตียรอยด์ จริงหรือ Read More »

เปรียบเทียบ สาเหตุของการเกิดโรค

เคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง เกี่ยวกับแนวคิดการรักษาแบบแผนจีนกับแผนตะวันตก วันนี้จะขยายความลงรายละเอียด ถึงความแตกต่างของการมองปัญหา เหตุของการเกิดโรคของทั้งสองแผนเหตุแห่งโรคของแผนปัจจุบัน : ความพยายาม ค้นหา “สิ่งที่ทำให้เกิดโรค”Žตำราการแพทย์ของแผนปัจจุบันให้ความสำคัญเกี่ยวกับรักษาโรคเป็นหลัก คนทั่วไปอ่านเข้าใจยาก เพราะจะเน้นหนักไปที่โรคต่างๆ มีสาเหตุจากอะไร ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร มีกลไกการเกิดโรค การดำเนินของโรคอย่างไร ใช้ยาเคมีอะไรรักษา ยามีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไรหรือต้องใช้วิธีการอื่น เช่น การผ่าตัด กายภาพบำบัด เป็นต้น ปรากฏว่าปัจจุบันมีโรคจำนวนมากที่มักจะตรวจหาสาเหตุหรือตัวก่อให้เกิดโรคไม่ได้ รู้แต่ว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง แต่ก็ไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด สุดท้ายก็สรุปว่าไม่รู้สาเหตุ และให้การดูแลรักษาด้วยการควบคุมและแก้ไขอาการเฉพาะหน้าไป บางรายโชคดีอาจฟื้นตัวหายได้หรือบรรเทาไปได้ ผู้ป่วยอีกจำนวนมากก็ต้องให้ยาควบคุมอาการไปเรื่อยๆ แนวคิดการหาสาเหตุ หรือค้นหาตัวทำให้เกิดโรคเป็นแนวคิดที่มาจากพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะทางชีววิทยา พยาธิวิทยา ชีวโมเลกุล คือเมื่อมีการค้นพบกล้องจุลทรรศน์มองเห็นเซลล์เนื้อเยื่อ เห็นรายละเอียดของร่างกายสภาพปกติ และมองเห็นร่างกายภาวะไม่ปกติ (มีพยาธิสภาพ) มองเห็นตัวเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา สิ่งกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ เซลล์ผิดปกติสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย ความผิดปกติของยีน เป็นต้น การรักษาของแผนปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นทำลายตัวก่อโรค เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อรา จึงมีแนวทางการศึกษาวิจัยยาใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายหรือฆ่าแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา …

เปรียบเทียบ สาเหตุของการเกิดโรค Read More »

ฤดูกาลกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดสมดุล

ธรรมชาติมีผลกระทบต่อสุขภาพ คนที่จะมีสุขภาพดี ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ คนจีนโบราณเขามีหลักในการปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับฤดูกาลอย่างไร? ลองติดตามดูซิครับ ประเทศจีนนั้นโดยทั่วไปจะมีฤดูกาลอยู่ 4 ฤดู โดยแต่ละฤดู มีระยะเวลา 3 เดือน แต่ละฤดูมีลักษณะแปรเปลี่ยนของอากาศ คือ ฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่น, ฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว, ฤดูใบไม้ร่วง อากาศเย็น, ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นยะเยือก การเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารในร่างกายและมีผลต่อจิตใจ การแพทย์จีนเชื่อว่าการตระเตรียมร่างกายและจิตใจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทำให้โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน เช่น  ฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลา 3 เดือน ธรรมชาติเริ่มต้นเคลื่อนไหว ต้นไม้ใบหญ้า เริ่มแตกหน่อ สรรพสิ่งเริ่มงอกงาม พลังผลักดันของธรรมชาติสูง ควรนอนหลับตั้งแต่หัวค่ำ ตื่นนอนแต่เช้า การนอนหัวค่ำเพื่อดูดซับพลังยินแก่อวัยวะภายใน ตื่นนอนแต่เช้า เดินเล่นหรือออกกำลังกาย เพื่ออาศัยพลังหยางในฤดูกาลนี้หย่อนคลายกล้ามเนื้อและผ่อนคลายจิตใจ (เมื่อถึงฤดูร้อนก็จะมีพลังไปสอดรับกับภาวะความร้อนอบอ้าว)นอกจากนี้ ฤดูใบไม้ผลิ คนมักเป็นหวัดบ่อย ต้องระวังเรื่องเสื้อผ้า การเปลี่ยนแปลงของอากาศและการกินอาหาร มีข้อแนะนำคือ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดบริเวณ 2 ข้างของปีกจมูก จุดอิ๋งเซียง (วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ …

ฤดูกาลกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดสมดุล Read More »

โรคแพ้อากาศ

เป็นโรคแพ้อากาศมา 40 ปี นานขนาดนี้จะมีวิธีรักษาให้หายขาดหรือไม่?ไปหาคำตอบกันครับ คนไข้ : ผมอายุ 65 ปี ผมออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่งเบาๆ ปั่นจักรยานวันละ 30 นาที ทุกวัน สภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่มีปัญหาที่จะเรียนปรึกษาคุณหมอคือ ผมเป็นโรคแพ้อากาศตั้งแต่ตอนอายุ 23 ปี ครั้วแรกที่เป็นก็เหมือนเป็นหวัดธรรมดา คัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกหรือบางครั้งก็ข้นนิดๆเท่านั้น จะเป็นไม่เลือกเวลาเช้า กลางวัน เย็น กลางคืน ตี 1 ตี 2 บางครั้งก็นานเป็น 5-6 ชั่วโมง บางครั้งครึ่งวัน บางครั้งเป็นพักเดียวก็หาย ตอนใกล้หายจะมีอาการง่วงนิดหน่อยแล้วก็หาย น้ำมูกที่ออกมาเป็นน้ำใสๆ ทุกวันนี้รักษาด้วยยาจากโรงพยาบาล มันก็เพียงบรรเทาเท่านั้น ไม่หายขาด ไม่เคยปวดหัว ไม่เคยเจ็บที่ดั้งจมูก ไม่ทราบว่ามีวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนจีนให้หายขาดหรือไม่ขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบด้วยนะครับ ตอบ : อาการที่เล่ามาเป็นโรคแพ้อากาศ ยาทางแพทย์ปัจจุบันส่วนมากที่ได้รับเข้าใจว่า เป็นยาแก้แพ้ บรรเทาอาการเท่านั้น ในเรื่องแพ้อากาศแพทย์แผนจีนมองว่า นอกจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เช่น ความเย็น …

โรคแพ้อากาศ Read More »