ความผิดปกติของร่างกายในมุมมองของแพทย์แผนจีน

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา

สรรพสิ่งในโลกนั้นในยินก็มีหยางแฝงอยู่และในหยางก็มียินแฝงเร้นอยู่เช่นกัน อาหารและสมุนไพรแต่ละชนิดทางการแพทย์แผนจีนถือว่ามีทั้งส่วนที่เป็นยินและหยางผสมกันอยู่ อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมหรือปรับร่างกายให้สมดุล เพื่อป้องกันและรักษาโรค  “แตงโม” ราชาผลไม้ในฤดูร้อน เนื้อแตงโม : คุณสมบัติเย็น รสหวาน จัดเป็นพวกยิน ช่วยดับร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาย แก้พิษสุรา และขับปัสสาวะ เมล็ด : คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสจืด ตำผสม น้ำผึ้งตุ๋นกิน แก้ท้องผูก เปลือก : ผิงไฟบดเป็นผงทาแก้แผลในปาก “ส้ม” ผู้อาวุโสของผลไม้ คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย รสเปรี้ยวหวาน จัดเป็นยิน เนื้อส้ม : ทำให้ชุ่มคอ แก้ไข แก้ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำแก้ฤทธิ์สุรา ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก เปลือก : เคี้ยวเฉพาะเปลือกกินหรือบดเป็นผง กินแก้จุดแน่น บริเวณท้องและหน้าอก เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ชง ดื่มต่างน้ำชาแก้เจ็บคอ เปลือกตากแห้งจุดไล่ยุง เมล็ด : ทุบให้แหลกต้มน้ำเติมน้ำส้มสายชู กินบำรุงน้ำนม …

ผลไม้ ก็มีสรรพคุณทางยา Read More »

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

ความสนใจในคุณค่าการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอายุยืนยาว มักจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดจากการเจ็บป่วย หรือเมื่ออยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตถูกคุกคามด้วยโรคร้าย เรียกว่า ต้องเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา คนเราเมื่อยามสุขภาพไม่ดี ก็จะเห็นว่าสุขภาพมีความสำคัญ เมื่อยามที่จะต้องสูญเสียชีวิต ก็จะเห็นว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง การปล่อยปละละเลยต่อการดำเนินชีวิต ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ แห่งธรรมชาติ ละเมิดวิถีแห่งธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยไข้เจ็บคุกคามเมื่อย่างเข้าสู่ ภาวะเสื่อมถอย คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้กล่าวถึง แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพไว้อย่างน่าสนใจ ควรแก่การศึกษา แก่นแท้หรือหลักการดูแลสุขภาพ เมื่อพลังเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ ปัจจัยก่อโรคก็มิอาจกระทำต่อร่างกายได้(正气存在,邪不可干)ธรรมชาติได้ให้เทียบเท่ากันของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทำไมคนเราจึงไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นโรคทั้งๆที่มีเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ อยู่ในสิ่งแวดล้อม รายล้อมร่างกายเล่า? แพทย์แผนจีนมองว่าในภาวะปกติ พลังเจิ่งชี่(正气)ของร่างกายยังอยู่ในภาวะที่ดำรงอยู่ร่วมกันได้กับแบคทีเรีย และไวรัสหรือสิ่งก่อโรคอื่นๆ แต่เมื่อใดตามร่างกายอ่อนแอลง พลังเจิ้งชี่ไม่อาจต้านทานการบุกรุกของเชื้อโรค ก็จะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บตามมาทันที ร่างกายมนุษย์เปรียบเสมือนกับประเทศชาติ ภาวะสมดุลของร่างกาย คือ ภาวะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาที่สมดุล มั่งคง …

แก่นแท้ของการดูแลสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ

ซุนซือเหมี่ยว (คศ.541 – 682) แพทย์จีนนามอุโมษแห่งราชวงศ์ถัง  เป็นแพทย์จีนและนักพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ยิ่งใหญ่ของจีนและระดับโลก  มีฉายาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร”  (药王)  และ “หมอเทวดา” (神医) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคเรื้อน (麻风病), เป็นผู้กำหนดวิธีการหาจุดฝังเข็ม, การใช้รกของเด็กทารกบดเป็นผงรักษาโรค, การใช้ตับรักษาโรคตา, การใช้ต่อมไทรอยด์ของแพะรักษาโรคไทรอยด์โต (รากฐานความคิดใช้เซลล์รักษาเซลล์ในปัจจุบัน) ซุนซือเหมี่ยว (孙思邈) กับแนวคิดการ “ถนอมรักพลัง” (爱气)  ถ้าองค์รวมของมนุษย์เสมือนกับประเทศชาติแล้วไซร์ ความคิดและจิตวิญญาณ (神) ก็เปรียบเสมือนหนึ่งพระราชา  ประชาชนของประเทศจะเปรียบเสมือนชี่ (气พลัง) นั่นเอง การปกครองประเทศให้สงบสุข จะต้องถนอมรักประชาชน (爱民) การดูแลสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ต้องถนอมรักชี่(พลัง爱气) เพราะพลัง คือ สิ่งขับเคลื่อนชีวิต พลังของร่างกายจะเสื่อมถอยลดน้อยลงตามกระบวนการวิถีธรรมชาติของชีวิต ดังนั้นการเสื่อมชราภาพเป็นผลจากการเสื่อมถอยของพลังของร่างกายนั่นเอง คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (黄帝内经) ได้บรรยายสภาพการเสื่อมถอยของร่างกายไว้ว่า                 “อายุ 40 ปี พลังชีวิตลดเหลือครึ่ง เริ่มต้นความเสื่อม…อายุ 50 ปี ตัวจะหนัก ร่างกายและสายตาจะไม่ค่อยฉับไว…อายุ 60 …

ซุนซือเหมี่ยว กับเคล็ดลับสุขภาพ Read More »

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะตัน มีเยื่อหุ้มหัวใจปกคลุมห่อหุ้มอยู่ภายนอก หัวใจเปรียบเสมือน จ้าวแห่งชีวิต (生命之主宰) เป็นแกนหลักของอวัยวะภายในทั้งหมด(五脏六腑之大主) 1. อวัยวะหัวใจ สัมพันธ์กับจิตใจ ความนึกคิด การรับรู้และการตอบสนอง จึงสามารถมองการทำงานของหัวใจจากแววตา สีหน้า ราษี ความมีชีวิตชีวา การรับรู้ตอบสนองต่อสื่งกระตุ้น อวัยวะรับความรู้สึก หู ตา จมูก ลิ้น – หัวใจที่เป็นเลือดเนื้อ(血肉之心) ความหมายใกล้เคียงกับอวัยวะหัวใจทางกายวิภาค อยู่ในช่องอกระหว่างปอดและตับ แนวระดับกระดูกสันหลังที่ 5 – หัวใจที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจ (神明之心) ทำหน้าที่ในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ความรู้สึกตัว การรับรู้ การคิด อารมณ์ ฯลฯ 2. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร (心主血脉) การทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของหัวใจอาศัย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ พลังหยางของหัวใจที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยม เป็นตัวกำหนด แรงบีบตัว อัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ เลือดที่เพียงพอและคุณภาพเลือดที่ดี กำหนดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด ทางเดินเลือดไม่ติดขัด กำหนดการไหลเวียนที่คล่องตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย 3. หัวใจกำกับหลอดเลือดชีพจร ความอุดมสมบูรณ์แสดงออกบนใบหน้า เปิดทวารที่ลิ้น   …

ความสำคัญของหัวใจ ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน

ความต้องการทางเพศและการสืบพันธุ์เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับอวัยวะภายใน คือ ไตเป็นสำคัญ ถ้ามีการดูแลและเข้าใจกฎเกณฑ์ของการทำงานของไต (ในทรรศนะการแพทย์แผนจีน) และจัดการกับปัญหาทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พลังไตเสื่อมช้า มีสมรรถภาพทางเพศที่ดีอยู่ได้นาน ถ้าจัดการไม่ถูกต้องก็จะมีการเสื่อมสมรรถภาพเร็วก็โรคมะเขือเผาทั้งๆ ที่ไม่ถึงเวลาอันควร 5 ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในทรรศนะแพทย์จีน 1. เพศสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตที่ยืนยาว ตามหลักทฤษฎียิน-หยาง ชายเป็นหยาง หญิงเป็นยิน  การมีเพศสัมพันธ์คือการปรับสมดุลยิน-หยาง การเสริมยิน บำรุงหยาง ทำให้อายุยืน นาน “หญิงบำรุงชาย ชายบำรุงหญิง” 2. “เพศสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ แต่มากเกินก็ไม่ได้ “อาหาร และความต้องการทางเพศ เป็นสิ่งพื้นฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” แพทย์จีนชื่อ เก๋อหง สมัยจิ้น ประมาณ ๑,๕๐๐ ปีก่อน กล่าวไว้ว่า “คนเรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากการแลก- เปลี่ยนยิน-หยาง จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เก็บกด จะทำให้เกิดโรค ชีวิตจะสั้น”  การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการควบคุม เหมือนใบมีดที่จะเฉือนถึงกระดูก จะทำลายชีวิต เป็นข้อความบันทึกไว้ในตำราพิชัยสงคราม “ยิน-ฝู่จิง” เมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปี …

5 เรื่องเพศ ในทัศนะแพทย์จีน Read More »

สมุนไพร “ใบบัว”

ใบบัว (荷叶) เป็นสมุนไพรที่น่าสนใจ หาง่าย ประหยัด และเหมาะสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการความงามและมีสุขภาพดี ข้อควรรู้เกี่ยวกับใบบัว ใบบัวที่ดีต้องใบใหญ่ สีเขียวหมดจด ไม่มีรอยตำหนิ หรือไม่เป็นใบที่เหลือง ขนาดเล็ก เหี่ยวแห้ง ต้องกินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ช่วยลดความอยากอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใบบัวสด ฤทธิ์การลดน้ำหนัก ด้อยกว่าใบแห้งหรือใบเกรียม แต่ฤทธิ์ในการขับความร้อนออกจากร่างกายดีกว่า ปริมาณที่ใช้ แบบสด 30-60 กรัมต่อวัน แบบแห้ง ต้มเป็นชาดื่ม 15-30 กรัมต่อวัน แบบเผาเกรียม 10-20 กรัมต่อวัน ควรงดกินก่อนมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เลือดประจำเดือนมีน้อยลง คนที่บวมน้ำ กินแล้วปัสสาวะจะมากขึ้น สามารถขับน้ำลดบวมได้ เป็นสมุนไพรสุขภาพ สำหรับคนอ้วน ไขมันในเลือดสูงมาก หลอดเลือดแข็งตัว ไขมันพอกตับ รวมทั้งผู้สูงอายุ สรรพคุณของใบบัว (荷叶) ลดน้ำหนักทำให้ผอม ปรับลดไขมันในเลือด ช่วยเสริมการลดภาวะความดันโลหิตสูง ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ป้องกันรักษาภาวะไขมันพอกตับ ขับความร้อนจากร่างกาย ทำให้สดชื่น ขับน้ำลดบวม, หยุดเลือด ทำไมใบบัวจึงลดน้ำหนักได้? คนอ้วนหรือคนที่มีไขมันสะสม แพทย์แผนจีนมองว่า …

สมุนไพร “ใบบัว” Read More »

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง

พลังไตเป็นรากฐานของอวัยวะภายใน ทั้ง 5 (肾是五脏之根)  ไตเป็นที่เก็บของพลังสำรอง  เมื่ออวัยวะภายในอื่นๆขาดแคลนพลังจะเรียกใช้บริการของไต คนที่ไตแข็งแรง แสดงออกถึงอย่างไร? 1. ไตดี : การเจริญเติบโตดี (เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน) ผู้หญิงใช้เลข 7 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้ชายใช้เลข 8 มาแบ่งช่วงอายุ ผู้หญิงอายุ 4×7 = 28ปี  เป็นช่วงที่พลังไต ถึงขีดสุด เอ็นกระดูกแข็งแรง                   5×7 = 35ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้หญิง ผู้ชายอายุ   4×8 = 32ปี เป็นช่วงที่พลังสูงสุดของเพศชาย                    5×8 = 40 ปี เป็นช่วงที่พลังไตเริ่มเสื่อมถอยในผู้ชาย 2. ไตดี : ระบบสืบพันธุ์ดี จิงของไต (มีความหมายคล้ายกับระบบฮอร์โมน) เป็นตัวกระตุ้นระบบการสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีเชื้ออสุจิ ผู้หญิงมีประจำเดือน คนที่ไตอ่อนแอ ในผู้หญิงจะมีอาการประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเย็น …

รู้ได้อย่างไรว่า “ไต” เราแข็งแรง Read More »

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

ในมุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน1. ปัญหาการนอนไม่หลับผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้2. ปัญหาระบบย่อยอาหารแพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง 3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ …

เปรียบเทียบการรักษา แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน Read More »

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นที่มีมากว่า 5,000 ปี สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่า องค์ประกอบหลักของการแพทย์แผนจีนคือ การวินิจฉัยหรือการบอกโรค การรักษาด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยหนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา โดยหลักพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนจะเกี่ยวข้องกับหยินหยาง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆ ตลอดจนโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่าเกิดจากการเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงอาจมาจากการยกของหนักผิดท่า ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย ทำให้เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว  โดยปกติแล้วกระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน และปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่องและเท้า ทางร่วม…รักษาโรค  ในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องดูการตรวจเอกซเรย์กระดูกว่ามีลักษณะ อย่างไร มีการกดทับของกระดูกมากน้อยแค่ไหน ถ้ากดทับไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และเสี่ยงว่าผลที่ได้รับอาจไม่ดีอย่างที่คาดคิด  สำหรับแพทย์แผนจีน สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคือ การทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล สำหรับผู้ที่ถูกกดทับมาก และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือเคยผ่านการผ่าตัดมาแล้ว สามารถใช้การแพทย์แผนจีนร่วมกับการรักษาแผนตะวันตกเพื่อฟื้นฟูความสมดุลของร่างกายได้ด้วย “อาการปวดของผู้ป่วย เกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณติดขัด ดังนั้นในการบรรเทาอาการปวด เราจะเน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ซึ่งสาเหตุการติดขัดต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือดหรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล” …

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท Read More »

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางสรีระและลักษณะธรรมชาติ ส่งผลให้แนวโน้มการเกิดโรคก็ต่างกัน  จุดอ่อนก็ต่างกัน  ทำให้การดูแลสุขภาพแตกต่างกันด้วย 1. ป้องกัน “มดลูกเย็น” 防子宫寒 มดลูก เป็นบริเวณที่พลังยิน (ความเย็น) มากที่สุดของร่างกาย บริเวณนี้เกลียดกลัวความเย็น  โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน  ยิ่งต้องระมัดระวังป้องกันการกระทบความเย็นเป็นพิเศษ  ต้องรักษาความอบอุ่น   การดื่มน้ำเย็น  น้ำชา  น้ำมะพร้าว  จะทำให้พลังความเย็นลงสู่ด้านล่าง ทำให้ภาวะความเป็นยินมากขึ้น ทำให้มดลูกเย็น มีตกขาว  ปวดประจำเดือน  เกิดภาวะมีบุตรยาก  เกิดก้อนเนื้องอกได้ง่าย 2. ป้องกัน “กระเพาะอาหารและม้ามเย็น” 防脾胃寒 กระเพาะอาหารและม้าม เป็นเสมือนทุนที่ 2 เป็นเหมือนแหล่งเติมพลัง เช่นเดียวกับการชาร์ตไฟ เติมเต็มพลังหยวนชี่ (元气) ซึ่งเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของร่างกาย   เป็นแหล่งสร้างเลือดและพลังของร่างกาย    การถนอมกระเพาะและม้ามที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงอาหาร,  เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น  รวมทั้งน้ำเย็น  น้ำแข็ง 3. ป้องกัน “การติดขัดของเส้นลมปราณต้าย” 防带脉不通 เส้นลมปราณต้าย (带脉) เป็นเส้นลมปราณพิเศษ ที่มีทิศทางตามแนวนอนที่เชื่อมเส้นลมปราณอื่นๆ  ซึ่งส่วนมากเป็นเส้นลมปราณแนวตั้ง  ถ้าเส้นลมปราณเส้นนี้ติดขัด  ก็จะทำให้เกิดการกดทับ การไหลเวียนเส้นลมปราณอื่นๆทั้งหมด …

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ความอ้วน  ในมุมของแพทย์แผนจีน  ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานร่างกาย เสียสมดุล  คือ ภาวะพลังพร่อง  หรือภาวะหยางพร่อง (ร่างกายเย็น พลังความร้อนที่ให้ความอบอุ่นและการเผาผลาญร่างกายน้อยลง)  ทำให้มีการตกค้างของน้ำและอาหาร เกิดการสะสมเป็นเสมหะน้ำและความชื้น  นานๆเข้าตามมาด้วยภาวะเลือดอุดกั้นและเกิดความร้อนไปรบกวนระบบการไหลเวียนของพลังลมปราณ กระทบถึงอวัยวะภายใน ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย การแบ่งประเภท ความอ้วนที่พบบ่อยแบบแพทย์แผนจีน คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะม้ามหรือระบบการย่อยดูดซึมมีปัญหา  สาเหตุมาจาก ความอ่อนแอของอวัยวะม้าม  หรือการกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็น  ปริมาณอาหารที่มากเกินไป  กินอาหารไม่เหมาะสม  นานๆเข้าการย่อยดูดซึมอาหารไม่สมบูรณ์ จะมีภาวะอ้วนแบบ ท้องโต  ตัวหนัก  หัวตื้อ  แน่นหน้าอก  มีเสมหะ คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะไตอ่อนแอ  จะมีลักษณะ แขนขาเย็น  หนักหรือบวมช่วงล่าง  ปัสสาวะบ่อยกลางคืน  เมื่อยเข่า  ขาอ่อนแรง โรคมักพัฒนาต่อเนื่องจากอวัยวะม้ามอ่อนแอ คนอ้วนบางคน  กินเก่ง  หิวง่าย  ตัวแน่น  ขี้ร้อน  หงุดหงิด  แสบท้องเวลาหิว  ปากแห้งคอขม  คนอ้วนกลุ่มนี้  กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยมากผิดปกติ  เนื่องจากไฟของกระเพาะอาหารมากเกินไป หลักการรักษาหรือเลือกอาหารสมุนไพร  ต้องแยกแยะ  ว่าเป็นโรคอ้วนประเภทไหน  ทุกรายไม่ใช่เน้นหนักที่การใช้ยาขับน้ำ  หรือยาระบาย  ต้องพิจารณาการเสริมบำรุงม้ามหรือไต  ร่วมกับวิธีการขับน้ำ  …

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันเลือดสูง คือ ภาวะที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งไขมันในร่างกายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ  2 ประเภท 1. ไขมันชนิดอันตราย ได้แก่ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ชนิดที่เป็นไขมันเลว คือ  แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL)   ถ้ามีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก (ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป  มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ  การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl) 2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไขมันชนิดดี คือ เอชดีแอล ((High density lipoprotein-HDL)   ยิ่งมีระดับสูงเท่าจะยิ่งเป็นผลดี  …

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง Read More »

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย

1. ควบคุมความต้องการทางกามารมณ์ (寡欲) เมื่ออารมณ์ถูกกระตุ้น  ไตจะถูกกระตุ้น สารจิงก็ถูกกระตุ้น การควบคุมถนอมสารจิง เพื่อรักษาสารจิงให้เพียงพอ  จึงต้องควบคุมที่อารมณ์ 2. ควบคุมความอ่อนล้า (节劳) การทำงานของร่างกายไม่ควรหักโหมมากเกินไป  สารจิงในร่างกายจะแปรเปลี่ยนเป็นเลือด  การใช้พลังงานต่างๆ ต้องใช้เลือดไปหล่อเลี้ยง  และกระทบอวัยวะภายในที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ใช้ตามากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงตับ, ใช้หูมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงไต, ใช้ความคิดมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ…การพักผ่อนและการควบคุมการใช้งานไม่ให้มากเกินไป เป็นการถนอมสารจิงอีกทางหนึ่ง 3. ควบคุมอารมณ์โกรธ (息怒) โกรธทำลายตับ  ตับเก็บกักเลือด  คนที่โมโหเลือดจะเคลื่อนไหวออกจากตับ เกิดการเคลื่อนไหว เลือดออกจากอวัยวะภายใน เป็นการทำลายเลือด  ทำลายสารจิง  การควบคุมอารมณ์จึงมีความสำคัญในการควบคุมสารจิง 4. ละเว้นการดื่มเหล้า (戒酒) เหล้ากระตุ้นการไหลเวียนเลือดและพลัง การดื่มเหล้าในปริมาณเล็กน้อยในบางกรณีจะมีประโยชน์ แต่การดื่มเหล้าปริมาณมากจะทำให้การไหลเวียนเลือดแปรปรวน ทำลายเลือด ทำลายสารจิง 5. ควบคุมการกิน (慎味) – ไม่ควรดื่มกินอาหารอย่างไร้การควบคุม ตามความอยากหรือตามปาก – ควรเน้นการรับประทานธัญพืช เพราะธัญพืช  คือ เมล็ดพันธุ์ที่เก็บสะสมพลังของการเติบโตเป็นต้นอ่อนของพืช     เช่นเดียวกับสารจิง  (精) – …

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย Read More »

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด

ถ้าเปรียบหลอดเลือดของร่างกายเหมือนกับแม่น้ำสายหนึ่ง มีโคลนตมหรือขยะตกค้างเมื่อมีการสะสมมากขึ้นมากขึ้น  การไหลเวียนของน้ำในแม่น้ำจะช้าลงช้าลง  หรือในที่สุดก็จะเอ่อล้นท่วมออกนอกแม่น้ำ  เช่นเดียวกับหลอดเลือดของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดมาก จะทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด ช้าลง  ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาหัวใจขาดเลือด  หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะไขมันในเลือดสูง ในทัศนะแพทย์จีนเกี่ยวข้องกับการสะสมของตัวเสมหะความชื้น (痰湿 ) และภาวะเลือดคั่งค้างไหลเวียนไม่คล่อง (血瘀 ) เสมหะและความชื้นที่สะสมตัว มีพื้นฐานจากการทำงานของระบบย่อย (กระเพาะอาหารและม้าม)  ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมอาหารได้หมด   เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะร้อนชื้นมากเกินไป หรือเกิดจากระบบย่อยอาหารอ่อนแอ ไม่มีพลังในการย่อยสลายอาหารได้อย่างเต็มที่ ภาวะเลือดคั่งค้างไม่ไหวเวียน  มักเกิดจากพลังหยาง (阳气) ของร่างกายอ่อนแอ   ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด  ทำให้เลือดคั่งค้างไหลเวียนช้า  ทั้งสองภาวะก่อตัวให้เลือดหนืด เคลื่อนตัวช้า  ยิ่งทำให้มีการสะสมของขยะ (เสมหะความชื้นและเลือด)  มากยิ่งขึ้น จนเกิดการตีบตันหรือแตกในที่สุด แนวทางในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ต้องคำนึงถึง อย่างน้อย 2 ด้าน เน้นที่การขับเสมหะความชื้นและกระจายเลือดคั่งค้าง   เป็นการรักษาอาการหรือปรากฏการณ์ เน้นการเสริมสร้างที่การปรับการทำงานของระบบกระเพาะอาหารและม้าม  รวมทั้งพลังหยาง (阳气) ตำรับที่ 1  อาหารสมุนไพรสำหรับลดไขมันในเลือด เต้าหู้  เห็ดหูหนูดำ  สาหร่ายทะเล (จี๋ฉ่าย) เนื้อหมูแดง ขิงสด สรรพคุณ                     เต้าหู้   ทำมาจากถั่วเหลือง  …

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด Read More »