แพทย์แผนจีน

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางสรีระและลักษณะธรรมชาติ ส่งผลให้แนวโน้มการเกิดโรคก็ต่างกัน  จุดอ่อนก็ต่างกัน  ทำให้การดูแลสุขภาพแตกต่างกันด้วย 1. ป้องกัน “มดลูกเย็น” 防子宫寒 มดลูก เป็นบริเวณที่พลังยิน (ความเย็น) มากที่สุดของร่างกาย บริเวณนี้เกลียดกลัวความเย็น  โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน  ยิ่งต้องระมัดระวังป้องกันการกระทบความเย็นเป็นพิเศษ  ต้องรักษาความอบอุ่น   การดื่มน้ำเย็น  น้ำชา  น้ำมะพร้าว  จะทำให้พลังความเย็นลงสู่ด้านล่าง ทำให้ภาวะความเป็นยินมากขึ้น ทำให้มดลูกเย็น มีตกขาว  ปวดประจำเดือน  เกิดภาวะมีบุตรยาก  เกิดก้อนเนื้องอกได้ง่าย 2. ป้องกัน “กระเพาะอาหารและม้ามเย็น” 防脾胃寒 กระเพาะอาหารและม้าม เป็นเสมือนทุนที่ 2 เป็นเหมือนแหล่งเติมพลัง เช่นเดียวกับการชาร์ตไฟ เติมเต็มพลังหยวนชี่ (元气) ซึ่งเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของร่างกาย   เป็นแหล่งสร้างเลือดและพลังของร่างกาย    การถนอมกระเพาะและม้ามที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงอาหาร,  เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น  รวมทั้งน้ำเย็น  น้ำแข็ง 3. ป้องกัน “การติดขัดของเส้นลมปราณต้าย” 防带脉不通 เส้นลมปราณต้าย (带脉) เป็นเส้นลมปราณพิเศษ ที่มีทิศทางตามแนวนอนที่เชื่อมเส้นลมปราณอื่นๆ  ซึ่งส่วนมากเป็นเส้นลมปราณแนวตั้ง  ถ้าเส้นลมปราณเส้นนี้ติดขัด  ก็จะทำให้เกิดการกดทับ การไหลเวียนเส้นลมปราณอื่นๆทั้งหมด …

5 วิธีดูแลตัวเองของผู้หญิง ในแบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน

ความอ้วน  ในมุมของแพทย์แผนจีน  ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานร่างกาย เสียสมดุล  คือ ภาวะพลังพร่อง  หรือภาวะหยางพร่อง (ร่างกายเย็น พลังความร้อนที่ให้ความอบอุ่นและการเผาผลาญร่างกายน้อยลง)  ทำให้มีการตกค้างของน้ำและอาหาร เกิดการสะสมเป็นเสมหะน้ำและความชื้น  นานๆเข้าตามมาด้วยภาวะเลือดอุดกั้นและเกิดความร้อนไปรบกวนระบบการไหลเวียนของพลังลมปราณ กระทบถึงอวัยวะภายใน ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย การแบ่งประเภท ความอ้วนที่พบบ่อยแบบแพทย์แผนจีน คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะม้ามหรือระบบการย่อยดูดซึมมีปัญหา  สาเหตุมาจาก ความอ่อนแอของอวัยวะม้าม  หรือการกินอาหารที่มีฤทธิ์เย็น  ปริมาณอาหารที่มากเกินไป  กินอาหารไม่เหมาะสม  นานๆเข้าการย่อยดูดซึมอาหารไม่สมบูรณ์ จะมีภาวะอ้วนแบบ ท้องโต  ตัวหนัก  หัวตื้อ  แน่นหน้าอก  มีเสมหะ คนอ้วนที่เกิดจากอวัยวะไตอ่อนแอ  จะมีลักษณะ แขนขาเย็น  หนักหรือบวมช่วงล่าง  ปัสสาวะบ่อยกลางคืน  เมื่อยเข่า  ขาอ่อนแรง โรคมักพัฒนาต่อเนื่องจากอวัยวะม้ามอ่อนแอ คนอ้วนบางคน  กินเก่ง  หิวง่าย  ตัวแน่น  ขี้ร้อน  หงุดหงิด  แสบท้องเวลาหิว  ปากแห้งคอขม  คนอ้วนกลุ่มนี้  กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยมากผิดปกติ  เนื่องจากไฟของกระเพาะอาหารมากเกินไป หลักการรักษาหรือเลือกอาหารสมุนไพร  ต้องแยกแยะ  ว่าเป็นโรคอ้วนประเภทไหน  ทุกรายไม่ใช่เน้นหนักที่การใช้ยาขับน้ำ  หรือยาระบาย  ต้องพิจารณาการเสริมบำรุงม้ามหรือไต  ร่วมกับวิธีการขับน้ำ  …

อาหารลดความอ้วน ในทัศนะแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันเลือดสูง คือ ภาวะที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งไขมันในร่างกายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ  2 ประเภท 1. ไขมันชนิดอันตราย ได้แก่ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ชนิดที่เป็นไขมันเลว คือ  แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL)   ถ้ามีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูง ก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก (ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม /ต่อเดซิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาล และแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป  มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ  การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl) 2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไขมันชนิดดี คือ เอชดีแอล ((High density lipoprotein-HDL)   ยิ่งมีระดับสูงเท่าจะยิ่งเป็นผลดี  …

อาหารสมุนไพรจีน กับภาวะ ไขมันในเลือดสูง Read More »

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย

1. ควบคุมความต้องการทางกามารมณ์ (寡欲) เมื่ออารมณ์ถูกกระตุ้น  ไตจะถูกกระตุ้น สารจิงก็ถูกกระตุ้น การควบคุมถนอมสารจิง เพื่อรักษาสารจิงให้เพียงพอ  จึงต้องควบคุมที่อารมณ์ 2. ควบคุมความอ่อนล้า (节劳) การทำงานของร่างกายไม่ควรหักโหมมากเกินไป  สารจิงในร่างกายจะแปรเปลี่ยนเป็นเลือด  การใช้พลังงานต่างๆ ต้องใช้เลือดไปหล่อเลี้ยง  และกระทบอวัยวะภายในที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ใช้ตามากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงตับ, ใช้หูมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงไต, ใช้ความคิดมากเกินไปกระทบเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ…การพักผ่อนและการควบคุมการใช้งานไม่ให้มากเกินไป เป็นการถนอมสารจิงอีกทางหนึ่ง 3. ควบคุมอารมณ์โกรธ (息怒) โกรธทำลายตับ  ตับเก็บกักเลือด  คนที่โมโหเลือดจะเคลื่อนไหวออกจากตับ เกิดการเคลื่อนไหว เลือดออกจากอวัยวะภายใน เป็นการทำลายเลือด  ทำลายสารจิง  การควบคุมอารมณ์จึงมีความสำคัญในการควบคุมสารจิง 4. ละเว้นการดื่มเหล้า (戒酒) เหล้ากระตุ้นการไหลเวียนเลือดและพลัง การดื่มเหล้าในปริมาณเล็กน้อยในบางกรณีจะมีประโยชน์ แต่การดื่มเหล้าปริมาณมากจะทำให้การไหลเวียนเลือดแปรปรวน ทำลายเลือด ทำลายสารจิง 5. ควบคุมการกิน (慎味) – ไม่ควรดื่มกินอาหารอย่างไร้การควบคุม ตามความอยากหรือตามปาก – ควรเน้นการรับประทานธัญพืช เพราะธัญพืช  คือ เมล็ดพันธุ์ที่เก็บสะสมพลังของการเติบโตเป็นต้นอ่อนของพืช     เช่นเดียวกับสารจิง  (精) – …

5 วิธี ดูแลควบคุมสารจิงของผู้ชาย Read More »

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน

“ธรรมชาติของเพศชายเป็นหยาง มีลักษณะเคลื่อนไหว กระจายตัวออกนอก ขึ้นสู่บน ธรรมชาติของเพศหญิงเป็นยิน มีลักษณะหยุดนิ่ง สงบ เก็บเข้าด้านใน ลงสู่ด้านล่าง” สรีระพื้นฐานได้กำหนดลักษณะภายนอก บุคคลิก อารมณ์ จุดอ่อนของร่างกาย  รวมทั้งวิถีการดูแลสุขภาพของทั้งสองเพศให้แตกต่างกัน ผู้ชายต้องเข้มแข็งไม่หยุดนิ่ง (男子要自强不息) : ผู้หญิงต้องเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม อดทน แบกรับอุปสรรค (女子要厚德载物 )   ผู้ชายเปรียบเสมือนม้า ต้องเข้มแข็ง แข็งแรง ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เกียจคร้าน เช่นเดียวกับม้าที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้หญิง ต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม สงบ เฝ้าดูแล คอยถ่วงดุล จิตใจต้องเมตตา ค่อยดูดซับอุปสรรค เสมือนกับพื้นดินที่แผ่กว้างไพศาล รองรับสรรพสิ่ง ผู้ชายมีอวัยวะเพศที่พุ่งออกสู่ภายนอก มีลักษณะระบายออกไป ในขณะที่อวัยวะเพศหญิงมีลักษณะเก็บลับ เข้าสู่ด้านใน เพศชายผลิตเชื้ออสุจิจำนวนมากเป็นล้านๆ ตัวอสุจิของเพศชาย มีลักษณะเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง มุ่งไปด้านหน้า แต่จะมีตัวที่แข็งแรงที่สุดที่สามารถคว้าชัยชนะไปรวมตัวกับไข่ของเพศหญิงได้ ผู้ชายที่เข้มแข็งและขยันเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ในสังคม เพศหญิงผลิตไข่ได้เดือนละ 1 ฟอง แต่ในบางช่วงเช่นระยะตั้งครรภ์ก็ไม่มีการตกไข่ การฟูมฟักลูกน้อยตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนคลอด …

ความแตกต่างของหญิงและชาย ในมุมมองแพทย์แผนจีน Read More »

ยาจีน ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ถ้าเป็นยา มีพิษ 3 ส่วน”

ความเชื่อว่า  ยิ่งบำรุงมาก  ยิ่งมีสุขภาพดี  เป็นแนวคิดสุดโต่งด้านเดียว  ตามทัศนะแพทย์แผนจีน การดูแลสุขภาพที่แท้จริง  ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน  คือ  การเน้นเรื่องอาหารและการดำเนินชีวิต การนอน การพักผ่อน   อารมณ์ความนึกคิด (การมองโลกและการเข้าใจชีวิต) การมีเพศสัมพันธ์ที่พอเหมาะ การปฏิบัติตัวตามวิถีธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงยินหยาง (กลางวัน  กลางคืน  และฤดูกาล) การใช้ยาสมุนไพร อาหารสมุนไพร ถือเป็นตัวประกอบเสริมสำหรับคนทั่วไปที่สุขภาพดีหรือมีความเจ็บป่วยเล็กน้อย ส่วนคนที่สุขภาพไม่ดี หรือมีความเสื่อมของร่างกายมาก ซึ่งปัจจุบันมีผลจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม อาหาร ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทำให้ร่างกายทรุดโทรม จิตใจแปรปรวน เกิดภาวะที่เสียสมดุลและเป็นรากฐานของการเกิดโรคในเวลาต่อมา หรือบางรายเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ตรวจพบว่าเป็นโรค คนประเภทนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การกิน การนอน ภาวะทางจิตใจที่เหมาะสม และการบำรุงดูแลด้วยอาหารสมุนไพร หรือยาสมุนไพร แต่เนื่องจากยาสมุนไพร ใช้ฤทธิ์ที่มีความโน้มเอียงไปทางการปรับสมดุลที่รุนแรงมากกว่าอาหาร การใช้ยาสมุนไพรปรับสมดุลที่ผิดจะนำมาซึ่งการเสียสมดุลมากขึ้น หรือถ้าใช้ไปนานๆ โดยไม่เข้าใจสภาพร่างกายและตัวยาสมุนไพรที่ใช้ จะทำให้สุขภาพเสียหายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น  ถั่งเช่า (冬虫夏草) เป็นสมุนไพรรสหวาน ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณค่อนไปทางบำรุงหยาง (ทำให้ร่างกายอุ่นร้อนขึ้น) …

ยาจีน ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ถ้าเป็นยา มีพิษ 3 ส่วน” Read More »

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน

ช่วงเวลานอนหลับสมองใหญ่ของคนเราอยู่ระหว่างผ่อนคลาย การไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกายน้อย ปริมาณเลือดก็น้อย (เนื่องจากตอนหลับ 6 – 8 ชั่วโมง ไม่ได้มีการรับประทานอาหารและน้ำเข้าสู่ร่างกาย มีแต่การเสียน้ำเสียเหงื่อ รวมทั้งกรองเป็นปัสสาวะ) ถ้าร่างกายเปลี่ยนสภาพจากนอนหลับเป็นตื่นทันที จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูงขึ้นทันที ความต้องการเลือดของสมองและหัวใจมีมากขึ้น แต่ระบบประสาทอัตโนมัติของคนสูงอายุจะปรับตัวไม่ดีเหมือนตอนหนุ่มสาว(โดยเฉพาะถ้ามีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง หรือร่างกายมีโรคเรื้อรังอยู่แล้ว) จึงเกิดอุบัติเหตุ เช่น เวียนศีรษะ เป็นลม หกล้ม จนกระทั่งการเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบแตก หรือหัวใจขาดเลือดได้ง่าย เทคนิคปฏิบัติ 9 ข้อ 1 นาที จะเป็นการเตรียมตัว ก่อนลุกจากที่นอนโดยเฉพาะคนสูงอายุ ใช้นิ้วมือหวีผม1 นาที (手指梳头一分钟) จากหน้าผากถึงท้ายทอย เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณสมอง ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง และทำให้ผมดกเงางาม นวดหูเบาๆ 1 นาที (轻揉耳轮一分钟) นวดขอบหูเบาๆซ้ายขวาทั้งสองข้าง จากขอบหูบนสู่ขอบหูล่างจนเกิดความรู้สึกร้อนผ่าว แล้วนวดในแอ่งหูทุกแอ่งรวมทั้งใช้นิ้วแหย่เข้าในรูหูและกระตุ้นเบาๆ เนื่องจากใบหูมีจุดสะท้อนร่างกายทั่วร่างกาย การกระตุ้นใบหูจึงเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งร่างกาย เคลื่อนไหวดวงตา 1 นาที (转动眼睛一分钟) ปิดเปลือกตา แล้วกลอกตาตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อตา …

9 ข้อ 1 นาที สุขภาพดีก่อนลุกตื่นจากที่นอน Read More »

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม

คนจำนวนมากพอเรียนรู้ว่าอวัยวะไต (ในความหมายแพทย์แผนจีน) ได้ชื่อว่า เป็นอวัยวะรากฐานของชีวิต จึงคิดแต่จะบำรุงไตอย่างเดียว คิดเพียงง่ายๆว่าถ้าไตดีทุกอย่างก็ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกว่าไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับไต เช่น หัวใจ, ตับ, ม้าม, ปอด ซึ่งถ้าอวัยวะเหล่านั้นมีปัญหา เช่น เสื่อมหรือทำงานผิดปกติ ก็มีผลกระทบต่ออวัยวะไตด้วย การดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน จึงต้องเข้าใจความเชื่อมสัมพันธ์ของอวัยวะภายในต่างๆ ต้องดูแลอวัยวะอื่นปรับสมดุลควบคู่กับการดูแลไตไปด้วยกัน จึงจะทำให้ต้นไม้แห่งชีวิตเติบใหญ่มีพลังอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่าง อวัยวะตับ กับ ไต ตับกับไต เป็นอวัยวะที่มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน (肝肾同源) หน้าที่ของตับ คือ การเก็บเลือด, ทำให้เลือดไหลเวียนคล่องตัวไม่ติดขัด ส่วนหน้าที่ของไต คือ การเก็บสารจิง ไตสร้างไขกระดูก, ไขกระดูกสร้างตับ สร้างเลือด แม้ว่าหน้าที่ของตับและไตจะต่างกัน แต่จะเห็นว่ารากฐานของมันเกี่ยวข้องกัน  เป็นแหล่งของสารจิงและเลือด สารจิงมาจากไตซึ่งมีมาตั้งแต่เกิด สารจิงสร้างไขกระดูกและไขกระดูกสร้างเลือด “สารจิงกับเลือดมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน”(精血同源)ร่างกายทุกอวัยวะล้วนได้รับเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง ต้องอาศัยการทำงานของตับและสารจิงของไตที่ดีในการสร้างเลือด  เก็บเลือด  ขับเคลื่อนเลือด ดังนั้นการบำรุงไตจึงต้องดูแลการทำงานของตับควบคู่กันไปด้วย คนที่มียินของตับและไตพร่อง นอกจากจะมีอาการปวดเมื่อยเอว แก้มแดง ไข้หลังเที่ยง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้ากลางอก มีเหงื่อลักออก …

“ไต” ต้องดูแลแบบองค์รวม Read More »

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว

คนอายุมาก มักจะมีปัญหาเรื่องของหลอดเลือดแข็งตัว  จากสาเหตุความเสื่อมตามอายุขัยหรือจากโรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง  เบาหวานที่เป็นมาหลายปี แม้ว่าจะได้รับการบำบัดดูแลรักษาอย่างดีด้วยยามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม                          หลอดเลือดแข็งตัว   ทำให้อวัยวะสำคัญๆ เกิดปัญหาได้ง่าย  เช่น  สมอง  หัวใจ  ไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแข็งตัว  มีโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก  เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต  อีกทั้งทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่าย  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย,  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ทำให้หัวใจขาดเลือด   หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมแข็งตัว  ทำให้ไตฝ่อ  ไตทำหน้าที่น้อยลง เกิดภาวะไตวาย หลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัว  อวัยวะต่างๆทุกส่วนของร่างกายขาดเลือดหล่อเลี้ยง   เกิดอาการไม่สบายทั้งตัว  ปลายมือปลายเท้าชา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  ร่างกายอ่อนเพลีย การดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง  ยืดหยุ่น  ควบคุมภาวะความดันสูง จึงเป็นการดูแลสมอง , หัวใจ และสุขภาพโดยรวม ปรมาจารย์แพทย์จีน หลี่สือเจิน ( 李时珍 )  กับ เคล็ดลับอาหาร ป้องกันรักษาโรคสมอง ด้วยอาหารและสมุนไพรหลายตัว เช่น 1.เก๋อเกิน  (葛根) บางคนเรียกว่า โสมภูเขา  ( 山人参 ) …

อาหารสมุนไพรป้องกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว Read More »

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด

ถ้าเปรียบหลอดเลือดของร่างกายเหมือนกับแม่น้ำสายหนึ่ง มีโคลนตมหรือขยะตกค้างเมื่อมีการสะสมมากขึ้นมากขึ้น  การไหลเวียนของน้ำในแม่น้ำจะช้าลงช้าลง  หรือในที่สุดก็จะเอ่อล้นท่วมออกนอกแม่น้ำ  เช่นเดียวกับหลอดเลือดของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดมาก จะทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด ช้าลง  ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาหัวใจขาดเลือด  หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะไขมันในเลือดสูง ในทัศนะแพทย์จีนเกี่ยวข้องกับการสะสมของตัวเสมหะความชื้น (痰湿 ) และภาวะเลือดคั่งค้างไหลเวียนไม่คล่อง (血瘀 ) เสมหะและความชื้นที่สะสมตัว มีพื้นฐานจากการทำงานของระบบย่อย (กระเพาะอาหารและม้าม)  ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมอาหารได้หมด   เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะร้อนชื้นมากเกินไป หรือเกิดจากระบบย่อยอาหารอ่อนแอ ไม่มีพลังในการย่อยสลายอาหารได้อย่างเต็มที่ ภาวะเลือดคั่งค้างไม่ไหวเวียน  มักเกิดจากพลังหยาง (阳气) ของร่างกายอ่อนแอ   ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด  ทำให้เลือดคั่งค้างไหลเวียนช้า  ทั้งสองภาวะก่อตัวให้เลือดหนืด เคลื่อนตัวช้า  ยิ่งทำให้มีการสะสมของขยะ (เสมหะความชื้นและเลือด)  มากยิ่งขึ้น จนเกิดการตีบตันหรือแตกในที่สุด แนวทางในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ต้องคำนึงถึง อย่างน้อย 2 ด้าน เน้นที่การขับเสมหะความชื้นและกระจายเลือดคั่งค้าง   เป็นการรักษาอาการหรือปรากฏการณ์ เน้นการเสริมสร้างที่การปรับการทำงานของระบบกระเพาะอาหารและม้าม  รวมทั้งพลังหยาง (阳气) ตำรับที่ 1  อาหารสมุนไพรสำหรับลดไขมันในเลือด เต้าหู้  เห็ดหูหนูดำ  สาหร่ายทะเล (จี๋ฉ่าย) เนื้อหมูแดง ขิงสด สรรพคุณ                     เต้าหู้   ทำมาจากถั่วเหลือง  …

อาหารสมุนไพรจีน ลดไขมันในเลือด Read More »

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน

มีคำกล่าวของนักโภชนาบำบัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของแพทย์จีน กล่าวไว้ว่า “อาหารมื้อเช้าให้รับประทานเหมือนพระราชา”  (早餐吃得要像皇帝 ) “อาหารมื้อกลางวันให้รับประทานเหมือนสามัญชน” (午餐吃得要像平民) “อาหารมื้อค่ำให้รับประทานเหมือนยาจก” (晚餐吃得要像乞丐 ) รับประทานเหมือนพระราชา  บ่งบอกว่า อาหารต้องมีคุณค่าสูง ต้องรับประทานให้อิ่ม มื้อเช้าต้องมีความสำคัญมาก ยังมีการกล่าวเสริมเติมอีกว่า อาหารต้องมีลักษณะฤทธิ์ร้อนด้วย แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บรับอาหารมาเพื่อทำการย่อยให้ละเอียดเป็นเบื้องต้น    ก่อนจะส่งไปย่อยให้ละเอียดและดูดซึมต่อไป     การย่อยอาหารของกระเพาะอาหารต้องการ ความร้อนในการบีบตัวหรือกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย    กระเพาะอาหารชอบความอุ่นเกลียดกลัวความเย็น (胃喜温恶寒 ) อันตรายจากการไม่รับประทานอาหารเช้า เพิ่มอัตราภาวะท้องผูก  เพราะกระเพาะอาหารลำไส้ไม่ถูกกระตุ้นให้บีบตัว โอกาสเกิดโลหิตจาง ขาดอาหารมื้อสำคัญที่จะไปสร้างเลือด โอกาสอ้วนง่าย (มื้อเช้าอาหารเผาผลาญดี) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จะใช้งานตลอดวัน  ต้องใช้พลังงานสำรอง   ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ , แก่เร็ว , ระบบย่อยอาหารอ่อนแอในระยะยาว โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี   ถุงน้ำดีเก็บสะสมน้ำดีไว้ช่วงกลางคืน  ถ้าช่วงเช้าไม่ได้รับการกระตุ้น จะทำให้มีการตกตะกอนสะสมตัวเป็นนิ่วได้ เกิดแผลของกระเพาะอาหารและลำไส้ นอนมาตลอดคืน ท้องว่าง มีกรดออกมาแต่ไม่มีอาหาร กระทบการเรียนและการทำงาน เนื่องจากขาดอาหารไปเลี้ยงสมอง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ขาดพลัง  จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย   ถ้าเป็นคนที่พื้นฐานไม่แข็งแรง  มีโรคเรื้อรัง อาการจะรุนแรงขึ้น …

อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ แบบแพทย์แผนจีน Read More »

อาหารกับการป้องกันและรักษาสิว แบบแพทย์แผนจีน

สิวเกิดจากต่อมไขมันผลิตไขมันมาก และมีการอุดกลั้นทางเดินของไขมัน หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะทำให้เกิดสิวอักเสบหรือเป็นหนอง โดยส่วนใหญ่แล้วสิวจะขึ้นตามบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ได้แก่ บริเวณใบหน้า หลัง หรือ หน้าอก ฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดสิวในเด็กวัยรุ่น การเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเริ่มสร้างเมื่ออายุ 11-14 ปี จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันสร้างไขมันเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ  ไขมันที่มากขึ้นและร่วมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการอุดตันจนและเกิดสิวมากในวัยนี้และอาจจะเป็นอยู่นานหลายปี ปัจจัยหลายอย่างสามารถกระตุ้นทำให้อาการของสิวเป็นมากและรุนแรงขึ้น เช่น การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ น้ำตาล แป้ง อาหารมัน หรือนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป  การสูบบุหรี่  การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน  รวมถึงภาวะความเครียด การพักผ่อนนอนหลับที่ไม่เพียงพอและนอนดึก  จะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และทำให้มีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น สิวในมุมมองแพทย์แผนจีน ปอดกำกับผิวหนัง สาเหตุสำคัญของการเกิดสิวมีหลายประการ เช่น  สาเหตุจากความร้อนของเส้นลมปราณปอด ภาวะร้อนชื้นของกระเพาะอาหารและม้าม  เลือดติดขัดเสมหะเกาะตัว  เส้นลมปราณชงและเริ่นเสียสมดุล(ระบบฮอร์โมนแปรปรวน) แพทย์จีนมองว่าสิวบนใบหน้าเป็นภาพสะท้อนความเสียสมดุลของอวัยวะภายใน ผิวหนังบนใบหน้า  นอกจากเกี่ยวข้องกับอวัยวะปอดแล้ว ยังเป็นทางเดินของเส้นลมปราณกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่  ลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับปอด กระเพาะอาหารที่ร้อน(จากการกินของเผ็ดร้อน หวานมัน เนื้อสัตว์มากๆ)หรือกระเพาะอาหารเย็นเกิน(จากการรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น น้ำแข็ง เครื่องดื่มเย็นมากเกินไป) ทำให้การไหลเวียนของเส้นลมปราณบริเวณใบหน้าติดขัด มีการเกาะตัวของเลือดและเสมหะ การสะสมหมักหมมทำให้เกิดไฟ …

อาหารกับการป้องกันและรักษาสิว แบบแพทย์แผนจีน Read More »

มะเร็งรังไข่ กับอาหารสมุนไพรจีน

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในผู้หญิงไทย (เป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งพบบ่อย) โดยทั่วไปพบได้ทั้งในเด็กโตและในผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ความผิดปกติทางพันธุกรรม โอกาสพบโรคได้สูงขึ้นในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่  โรคมะเร็งเต้านม และ/หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  มักพบโรคในอายุ 50 ปีขึ้นไป พบโรคในคนอ้วนสูงกว่าในคนผอม  โอกาสพบโรคนี้ได้สูงในคนมีประจำเดือนเร็วคือ อายุต่ำกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้าคือช้ากว่าอายุ 55 ปี หรือมีประวัติจากใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือจากใช้ยาฮอร์โมนเพศชดเชยในช่วงวัยหมดประจำเดือน จากสถิติพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่มักเป็นระยะที่ 3มากที่สุด นั่นหมายถึง การตรวจพบหรือจะได้รับการรักษามักอยู่ในระยะลุกลาม  เพราะเริ่มต้นจะ มีอาการอาจมีแค่ท้องอืดเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ทำให้รักษาผิดทางมาตลอด การวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ ต้องทำการตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซึ่งมักคลำพบก้อนที่ปีกมดลูกส่วนใหญ่  ตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasound )  บางกรณีที่ต้องการประเมินมีการลุกลามไปอวัยวะส่วนอื่นในช่องท้องว่ามากน้อยเพียงใด อาจมีการส่งตรวจที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT หรือ MRI  รวมถึงการเจาะเลือดหาค่าบ่งมะเร็ง ( tumor marker)เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและตรวจติดตามผลการรักษา …

มะเร็งรังไข่ กับอาหารสมุนไพรจีน Read More »

“น้ำ ยินหยาง” กับแพทย์แผนจีน

“น้ำ เป็นยินแต่ซ่อนเร้นความเป็นหยางอยู่ภายใน” มีคำกล่าวว่าน้ำนิ่งไหลลึก แม้ว่าน้ำเป็นภาวะยิน ดูภายนอกหยุดนิ่ง แต่น้ำก็มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนอยู่ภายใน  คือ การซ่อนเร้นของพลังหยางที่ขับเคลื่อนอยู่ภายใน  การไหลของน้ำ การระเหยของไอน้ำ การเกิดฟ้าผ่าท่ามกลางฝนที่ตกลงมา คือสิ่งแสดงออกของพลังหยางในปริมาณต่างๆ ที่อยู่ในยิน เช่นเดียวกับเหล้า, น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นของเหลวที่มีพลังหยางสะสมอยู่ภายใน ในเงื่อนไขหนึ่ง  มันสามารถปลดปล่อยพลังออกมาให้เห็นในรูปแบบต่างๆ น้ำ แม้จะอ่อนนุ่ม สงบจากภายนอกแต่ก็มีพลังที่เคลื่อนไหวภายใน  เช่นเดียวกับคนที่อ่อนน้อม ลุ่มลึก สุขุม แต่ครุ่นคิด  จึงเป็นคนที่รอบคอบ และน่าเกรงขามกว่าคนที่ดูภายนอกเป็นหยาง  บุ่มบ่าม มุทะลุ เพราะแสดงอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจความรู้สึกง่าย “น้ำ “มีความสำคัญต่อชีวิต เป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง 水为万物之源 ปรมจารย์แพทย์จีน  หลี่สือเจิน ได้กล่าวไว้ใน คัมภีร์ “เปิ่นเฉ่ากังมู่” 本草纲目ถึงบทบาทของน้ำต่อชีวิต ไว้ว่า “น้ำเป็นแหล่งแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่ง ดินเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง”  水为万物之源,土为万物之母 หมายความว่า  การเคลื่อนไหว ลำเลียงอาหาร เลือด ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวนำพา  ส่วนการเจริญเติบโตของร่างกายก็ต้องอาศัย แร่ธาตุและอาหารจากดินเป็นส่วนที่มาบำรุงเลี้ยง แพทย์แผนจีนเชื่อว่า สุขภาพและอุปนิสัยของคน มีส่วนสำคัญจากสภาพแหล่งน้ำที่บริโภคและอาหารในแต่ละท้องถิ่น …

“น้ำ ยินหยาง” กับแพทย์แผนจีน Read More »

อายุยืนยาวของเต่า ในมุมมองแพทย์จีน

มีภาษิตพื้นบ้านที่กล่าวถึงการมีอายุยืนยาว โดยเปรียบเทียบกับตะพาบน้ำและเต่าว่า “ตะพาบน้ำพันปี เต่าหมื่นปี” ความจริงสัตว์ทั้ง 2 เป็นประเภทเดียวกัน แต่เต่าดูมีท่าทีที่เยือกเย็น สุขุมกว่าตะพาบน้ำมาก ในยามที่อันตรายมาเยือนตะพาบน้ำจะมีความดุดันเกรี้ยวกราด แต่เต่ายังคงความนิ่งสงบไว้ตลอดเวลา แพทย์จีนมองว่าพลังในร่างกายคนที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่เรียกว่า หยางชี่ (阳气) การมีชีวิตที่ยาวนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการใช้และการเผาผลาญหยางชี่ของร่างกายว่ามากน้อยเพียงใด หยางชี่จึงเป็นเสมือนพลังที่สะสมและถูกนำมาขับเคลื่อนการดำรงชีวิต เคล็ดลับการมีอายุยืนนานของเต่าจึงขึ้นกับการควบคุมและประหยัดการใช้พลังงานหยางชี่ของมันนั่นเอง วิธีการควบคุมการใช้พลังงานของเต่า สามารถนำมาประยุกต์กับการดูแลสุขภาพ สรุปได้เป็น 3 วิธี ดังนี้ 1.ใช้ความนิ่งสงบดูแลสุขภาพ ( 静养生) ความสงบสามารถลดการใช้พลังหยาง และเป็นการถนอมสารจิงและยินของร่างกาย ในสภาวะนิ่ง จิตใจจะสงบ ชีวิตจะมีความสงบ  และเมื่อจิตสงบแล้ว การหายใจ – การเต้นของหัวใจจะช้าลง, ความดันโลหิตก็จะลดลง, กระบวนการเผาผลาญของร่างกายจะลดลง การเก็บสะสมพลังและสารจำเป็นของร่างกายจึงจะเกิดได้มากขึ้น 2.ใช้ความช้าในการดูแลสุขภาพ (慢养生) ความสงบมีผลต่อการหายใจเข้า – ออกที่ช้าและใช้เวลานาน คนปกติจะหายใจเข้า – ออก 1 ครั้ง ใช้เวลา 6.4 วินาที แต่ในภาวะเร่งรีบหรือเครียด จะพบการหายใจเข้า – ออก …

อายุยืนยาวของเต่า ในมุมมองแพทย์จีน Read More »