Month: July 2021

อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรทานมากเกินไป

บรรดาอาหารสารพัดชนิดที่มีให้หาซื้อกันได้อย่างเสรีนั้น มีคุณประโยชน์แตกต่างกัน อีกทั้งปริมาณที่กินเข้าไปด้วย นั่นคือ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน แต่ควรกินอยู่ด้วยความพอดี ยึดทางสายกลางเป็นหลัก เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีน ว่าด้วยเรื่องอาหารการกิน 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกิน มีดังนี้ 1. ไข่เยี่ยวม้า ไข่เยี่ยวม้ามีส่วนประกอบของตะกั่วการกินไข่เยี่ยวม้าปริมาณมากๆ และบ่อยๆ อาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว นอกจากนั้นยังทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดน้อยลง เกิดภาวะขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกผุได้ 2. ปาท่องโก๋  กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้มเป็นส่วน ประกอบ และในสารส้มมีส่วนประกอบของตะกั่วการกินปาท่องโก๋ทุกวันจะทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อสมองและเซลล์ประสาท ทำให้เสื่อมเร็ว เป็นโรคความจำเสื่อมนอกจากนี้ย้งทำให้คอแห้ง เจ็บคอโดยเฉพาะคนที่ร้อนในง่าย 3. เนื้อย่าง  ประเภทต่างๆเนื้อที่ถูกรม ย่างไฟ จะเกิดสารเบนโซไพริน  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง 4. ผักดอง การกินผักดอง หรือของหมักเกลือนานๆ จะเกิดการสะสมของเกลือโซเดียม ทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดโรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจได้ง่ายนอกจากของหมักดองยังมีสารก่อมะเร็ง แอมโมเนียมไนไตรต์ 5. ตับหมู  ตับหมู 1 กิโลกรัม มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 400 มิลลิกรัม การกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงมากๆ นานๆ …

อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรทานมากเกินไป Read More »

เหงื่อบอกโรค

เรื่องโดย : ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล “คุณหมอครับ ทำไมผมเหงื่อออกมากจังเลย บางครั้งอยู่ในห้องปรับอากาศเหงื่อก็ยังออกเลย ผมเป็นโรคอะไรครับ”“คุณหมอคะ ทำไมลูกดิฉันนอนหลับกลางคืน เหงื่อออกเต็มตัวเลย”“คุณหมอคะ ทำไมดิฉันเหงื่อออกง่ายจัง ทำอะไรนิดหน่อยเหงื่อก็จะออก ดิฉันรู้สึกเหนื่อยง่ายจังเลย” แพทย์แผนจีนถือเอาเหงื่อเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในการถามเกี่ยวกับภาวะสมดุลของร่างกาย ความผิดปกติของเหงื่อเป็นภาพสะท้อนองค์รวมของร่างกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยและสืบค้นเพื่อวางแผนการรักษา (ซึ่งได้แก่ การมอง การฟัง การดม การถาม การสัมผัสจับชีพจร) จำเป็นต้องเข้าใจภาวะเหงื่อของผู้ป่วย เหงื่อในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อมีอากาศรอบตัวมีอุณหภูมิสูงมากขึ้นระดับ 32 องศาเซลเซียสขึ้นไป การระบายความร้อนของร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายให้คงที่โดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแพร่รังสีจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้การระบายความร้อนออกทางเหงื่อ ให้เหงื่อนำความร้อนออกจากร่างกายสู่ภายนอก ต่อมเหงื่อมีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคน ส่วนมากอยู่ในชั้นหนังแท้ ลึกจากผิวหนังไม่มากนัก อาจมีบางตำแหน่งที่อยู่ลึกหน่อยและตอมขนาดใหญ่ ทำให้เหงื่อออกมากกว่าตำแหน่งอื่นและเป็นที่หมักหมมของเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย เช่น ต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ ต่อมเหงื่อควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้น เวลาอารมณ์แปรปรวน ซึ่งจะกระทบประสาทอัตโนมัติ จะทำให้มีเหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือสภาพอากาศที่และมีไอน้ำมาก เหงื่อจะระบายออกยาก ทำให้รู้สึกอึดอัด ลมช่วยทำให้เหงื่อระบายออกได้ดี ต่อมเหงื่อทั้งร่างกายในผู้ใหญ่มีประมาณ 2.5 ล้านต่อม ถ้าอากาศร้อนมากๆ สามารถทำให้เสียเหงื่อได้มากถึง 4 ลิตรต่อชั่วโมง …

เหงื่อบอกโรค Read More »

ริดสีดวงทวาร กับเส้นลมปราณ

ริดสีดวงทวารก็เหมือนเส้นเลือดขอด แต่เป็นเส้นเลือดขอดที่บริเวณทวารหนัก ถ้าบริเวณปากทวารคลำได้เป็นก้อนนุ่มใต้ผิวหนัง เรียกว่า ริดสีดวงทวารภายนอก ถ้าเป็นริดสีดวงทวารที่อยู่ลึกเข้าไป มักมีก้อนยื่นผ่านหูรูดทวารหนักออกมาตอนถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นน้อยก้อนจะหดกลับไปได้เอง ถ้าเป็นมากต้องใช้มือ ดันจึงจะกลับเข้าไป ถ้าเป็นมากกว่านั้นดันก็ไม่กลับจะทำให้รำคาญ มีการเสียดสีจนกลายเป็นแผลอักเสบติดเชื้อง่าย ริดสีดวงประเภทหลังนี้ เรียกว่าริดสีดวงทวารภายใน บางคนแบ่งง่ายๆ เป็น 3 แบบ คือ1. ริดสีดวงทวารภายนอก มีอาการสำคัญคือ เหมือนมีก้อนเกะกะ รำคาญ บริเวณทวารหนัก2. ริดสีดวงทวารภายใน มีอาการสำคัญคือ ถ่ายอุจจาระมีเลือดแดง3. ริดสีดวงทวารชนิดมีหัวหรือ ติ่งหัวยื่นออกมา ร่วมกับมีอาการติดเชื้อ มีการอักเสบเจ็บปวดที่ทวารหนัก สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดริดสีดวงทวารในทรรศนะแพทย์แผน ปัจจุบันไม่แน่ชัดแต่มักเกิดร่วมกับปัจจัยหลายอย่างที่เป็นผลให้เกิดภาวะกดดันต่อเส้นเลือดบริเวณทวารหนักนานๆ เช่น ภาวะท้องผูกเรื้อรัง ไอเรื้อรัง การตั้งครรภ์ โรคตับแข็ง ก้อนเนื้อในท้อง ต่อมลูกหมากโต มะเร็งของลำไส้ ฯลฯ แนวทางการรักษาโดยทั่วไปถ้าไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงก็มุ่งเน้นไปที่การป้องกันอาการท้องผูก โดยกินผักและผลไม้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ หรือ อาจต้องกินยาระบายเป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการปวดอาจใช้ยาเหน็บริดสีดวง เพื่อป้องกันการอักเสบ การปวด หรือใช้วิธีแช่น้ำอุ่นผสมด่างทับทิม ส่วนรายที่เป็นมากอาจต้องใช้การฉีดหัวริดสีดวง ผูกหัวริดสีดวง หรือผ่าตัด ตามความเหมาะสม แล้วริดสีดวงทวารไปเกี่ยวอะไร กับเส้นลมปราณผู้ป่วยมาด้วยปัญหาว่าปวดหลังปวดเอว ท้องผูก ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ บริเวณขาด้านหลังและปวดน่อง เป็น …

ริดสีดวงทวาร กับเส้นลมปราณ Read More »

ขอบตาดำคล้ำ (อาจ)ไม่ใช่เรื่องเล็ก..แต่เป็นเรื่องโรค

คนทั่วไปมักจะมองเห็นว่าขอบตาดำคล้ำเป็นเรื่องความสวยความงาม ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะของโรค หรือภาวะสมดุลของร่างกาย แต่ในทัศนะการแพทย์แผนจีน มองภาวะขอบตาดำอย่างเป็นปัญหาองค์รวม ไม่แยกส่วน กล่าวคือ ไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะเรื่องของเม็ดสีหรือภาวการณ์ไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยบริเวณเบ้าตาไม่คล่องตัว มีการอุดกั้นเท่านั้น แต่มันอาจจะเป็นสิ่งที่สะท้อนภาวะของร่างกายทั้งระบบที่มีปัญหาบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ขอบตาดำคล้ำเกิดจากอะไรนอกจากสาเหตุที่เกิดจากการกระทบกระแทก ทำให้เกิดการฉีกขาดหรือทำลายหลอดเลือดฝอย มีการไหลของเลือดออกนอกหลอดเลือด ทำให้มีการคั่งค้างของเลือดบริเวณรอบขอบตา ซึ่งมักเกิดทันทีทันใดภายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้วการเกิดอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปของสีดำคล้ำบริเวณขอบตาก็เช่นเดียวกัน เป็นการสะท้อนถึงการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยของตา มีการคั่งค้าง อุดกั้น ไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อเวลาผ่านไปการไหลเวียนยิ่งน้อยลง อาการดำคล้ำก็จะสังเกตได้มากขึ้น การตรวจพบจะสังเกตได้ง่ายหรือยากขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น1. คนสูงอายุจะสังเกตได้ง่ายกว่าคนอายุน้อยหรือวันรุ่น เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังมีการสะสมตัวน้อย หนังตาจะหย่อน ขณะเดียวกัน การทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือดจะลดลง ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติจากการอุดกั้นหรือภาวะไหลเวียนของเลือดบริเวณเบ้าตาได้ง่ายขึ้น 2. คนที่มีเม็ดสีบริเวณเบ้าตา ใบหน้า มากกว่าปกติ ทำให้สังเกตเห็นความคล้ำของสีมากผิดปกติ 3. คนที่ร่างกาย ใบหน้า ซูบผอม มีไขมันใต้ผิวหนังน้อย จะสังเกตได้ง่ายกว่าคนอ้วน4. คนที่ผิวกายสีขาว ทำให้เห็นความดำคล้ำได้ชัดกว่า คนที่สีผิวเหลือง น้ำตาล หรือดำ ขอบตาดำคล้ำกับความสมดุลของร่างกายภาวะขอบตาดำ อาจเป็นภาวะของสรีรภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองของร่างกายขณะที่ยังไม่เป็นโรค หรือเป็นพยาธิสภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีราภาพนานๆเข้าและไม่ได้รับการเยียวยา แพทย์แผนจีนพูดถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะภายในกับดวงตาไว้ว่า“ตับมีทวารเปิดที่ตา” และ …

ขอบตาดำคล้ำ (อาจ)ไม่ใช่เรื่องเล็ก..แต่เป็นเรื่องโรค Read More »

อาหารและสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด ตามศาสตร์แพทย์จีน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) เสนอแนะให้ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่เป็นหลักในระยะ 6 เดือนแรก ด้วยเหตุผลที่สำคัญทั้งต่อสุขภาพ การพัฒนาการร่างกาย ระบบประสาท ทางจิตใจของเด็ก และความผูกพันทางสายเลือดของอารมณ์ความรู้สึกระหว่างแม่กับลูก หลังคลอด นมที่สร้างช่วงแรกจะเป็นน้ำนมเหลือง (Colostrums) ซึ่งจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นน้ำนมขาวในที่สุด สารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในนมแม่ ได้แก่ ไขมัน (ไขมันจำเป็น เช่น ไลโนเลอิกและไลโนเลนิก) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้างสารไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็ก ทำให้การส่งกระแสประสาทในสมองเด็กทำได้ดีและรวดเร็วขึ้น มีพัฒนาการในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆ ตัว  นอกจากนั้นอิมมูโนโกลบูลินในนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ในเด็ก รวมทั้งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและไม่สบายของเด็ก ขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่ จะทำให้ระดับฮอร์โมน ออกซีโทซิน (Oxytocin) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้แม่มีจิตใจอ่อนโยน ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความอ่อนโยน อันจะส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ดีและเพิ่มสัญชาตญาณความเป็นแม่ทำให้มีความผูกพันทางสายเลือด ขณะที่ลูกดูดนมแม่ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน ทั้งการมองเห็น โดยการสบตากับแม่ขณะดูดนม การรับกลิ่น เนื่องจากการอยู่ใกล้ชิดกับการฝึกประสาทหูเนื่องจากลูกจะได้ยินเสียงแม่ที่พูดคุยกับตนเอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีข้อดีอีกอย่างก็คือลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมของแม่ เหตุผลหนึ่งเพราะด้วยระดับฮอร์โมน ออกซีโทซิน (Oxytocin) เพิ่มมากขึ้นจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำให้ไม่มีการกระตุ้นการเติบโตของไข่ เต้านมจะได้พักการถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจากออร์โมนเอสโตรเจน แต่ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ จะมีปริมาณและคุณภาพของน้ำนมที่ดีพอได้อย่างไร การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำนมให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอจึงเป็นหัวใจที่ต้องได้รับการพิจารณาเร่งด่วน ภาวะน้ำนมน้อย (缺乳)ในมุมมองแพทย์แผนจีน น้ำนมมีที่มาจากเลือด …

อาหารและสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด ตามศาสตร์แพทย์จีน Read More »

7 วิธี ปรับสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะที่มีมาแต่กำเนิดให้เข้มแข็ง เพราะเป็นด้านแรกและด่านสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค ความเชื่อของแพทย์จีนที่ว่า “หมอที่เก่งที่สุดคือตัวเรา” การจะทำให้กลไกร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือการมีสุขภาพที่ดีต้องสร้างด้วยตัวเองเท่านั้น โดยการเข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและดำเนินวิถีชีวิตให้สอดคล้องและเป็นจังหวะกับธรรมชาติเท่านั้น สุขภาพที่ดีบ่งบอกถึงภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ จิตใจร่าเริง มีความสุข อายุยืนยาว 1.การปรับสมดุลด้วยอาหารและยา “ ยามปกติปรับสมดุลด้วยอาหาร  ยามเจ็บป่วยปรับสมดุลด้วยยา” ดังนั้นในการป้องกันโรคจึงเน้นที่อาหาร หรือสมุนไพรที่เป็นอาหารมากกว่าใช้ยา เพราะยาเป็นการปรับสภาพไปด้านใดด้านหนึ่งที่รุนแรง ถ้าร่างกายไม่เสียสมดุลมากจึงเน้นการใช้อาหารสมุนไพรเป็นหลัก คุณลักษณะสมุนไพร มีฤทธิ์ ร้อน-อุ่น หรือเย็น มีรสชาติบอกสรรพคุณ นำยาเข้าสู่อวัยวะใด มีกลไกพลังกำหนดทิศทางของยา ขึ้นบน ลงล่าง เข้าใน กระจายออกภายนอก การใช้สมุนไพรจึงต้องคำนึงให้สอดคล้องกับลักษณะโรคหรือความเสียสมดุล แพทย์จีนไม่ได้ใช้ยาด้วยการเริ่มต้นจากการดูสารออกฤทธิ์ การแพทย์แผนจีนใช้หลักคิดทฤษฎีแพทย์จีนในการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรค ส่วนมากเป็นเชิงตำรับ จุดมุ่งหมายเพื่อปรับสมดุลร่างกายโดยรวม ปัจจุบันสมุนไพรต่างๆได้ถูกนำมาวิเคราะห์แยกแยะสารออกฤทธิ์สำคัญ ทำให้รู้ถึงกลไกการออกฤทธิ์ของยาสมุนไพรจนเกิดความโน้มเอียงไปที่การเน้นสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ไปรักษาอาการของโรคเป็นหลัก กลายเป็นการใช้สมุนไพรรักษาโรคมากกว่ารักษาคน มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพร เกิดปัญหาและผลข้างเคียงจากการใช้สมุนไพร  ตัวอย่างเช่น สมุนไพรฟ้าทะลายโจร (穿心莲) มีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ –  สารแอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) –  สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide) – …

7 วิธี ปรับสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน Read More »

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (2)

ภูมิคุ้มกัน – พลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรค(เจิ้งชี่ 正气) ในมุมมองแพทย์แผนจีน พลังเจิ้งชี่กระกายอยู่ทุกอวัยวะภายในและทางเดินเส้นลมปราณ มีบทบาทในการผลักดันกระตุ้นให้ระบบการทำงานทางสรีระของร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับการสร้าง สารจำเป็น เลือด สารน้ำ รวมถึง การลำเลียง การขับถ่ายของเสีย เพื่อทำให้เลือดและพลังไหลเวียนไม่ติดขัด  ไม่ก่อเกิดของเสียในร่างกาย  เช่น เสมหะ ความชื้น เลือดคั่ง แพทย์แผนจีนใช้ตรวจสภาพสมดุลร่างกายด้วยวิธีการสื่อเจิ่น(四诊) โดยใช้อวัยวะสัมผัสของแพทย์ในการรวบรวมข้อมูลมาสังเคราะห์และวิเคราะห์ประเภทของร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาในการปรับสมดุล ระบบภูมิคัมกันหรือเจิ้งชี่ในความหมายแพทย์แผนจีนจึงไม่ได้มองไปเฉพาะรบบภูมิคุ้มกัน หรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ แต่เกี่ยวข้องกับการปรับระบบการทำงานของอวัยวะภายในทุกอวัยวะ การไหลเวียนของเลือดและพลัง การป้องกันการติดขัดของเลือด พลัง สารน้ำและการขับสิ่งก่อโรคภายในที่เกิดขึ้นจากการทำงานของร่างกาย                                                                                                                                การสร้างพลังและเก็บพลังของร่างกายเกี่ยวข้องกับอวัยวะม้ามและไต  ม้ามจึงเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตหลังกำเนิด ถ้าทำงานของม้ามดี ทำให้มีการสร้างเลือดและพลังลมปราณได้ดี สุขภาพแข็งแรง ถ้าม้ามอ่อนแอ ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเดิน อ่อนแอ ไม่มีพลัง เลือดและพลังพร่อง ส่วนไตคืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับสารจิง การปรับสมดุลยินหยาง  ระบบฮอร์โมน ไขกระดูกเป็นต้นทุนที่มาแต่กำเนิด  การสร้างเม็ดเลือดขาว สร้างเลือด เกล็ดเลือด เกี่ยวข้องกับไขกระดูก ทั้งม้ามและไตมีการทำงานที่เสริมกันและเป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างเจิ้งชี่หรือระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างภูมิคุ้มกันสู้โควิด คือการปรับสมดุลสร้างเสริมสุขภาพ หลักการปรับสมดุลเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3 ประการ 1.ความสมดุลระหว่าง ยินและหยาง …

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (2) Read More »

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (1)

สถานการณ์โควิด 19 ของประเทศในการระบาดรอบ 3 มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น มีการกระจายตัวตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ช่วงเทศกาลสงกรานต์และหลังสงกรานต์ จนกระทั่งต้นเดือนพฤษภาคม ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมากกว่า 2000 ราย ยอดเสียชีวิตรายวัน 20 กว่ารายต่อวัน จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ถึงกลางเดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทยยังน้อยมากไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากร แผนการของภาครัฐคือ ให้ได้ 63 ล้านโดสในสิ้นปี 2564  โดยเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียน “หมอพร้อม” ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง 7 โรคเรื้อรังและคนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป (จำนวนประชากรไทยปี 2564มีประมาณ กว่า 66 ล้านคน ถ้าได้ฉีดคนละ 2 เข็ม จะครอบคลุมประมาณ 50%ของประชากร) การเกิดภูมิค้มกันหมู่จะต้องมีภูมิคุ้มกันมากกว่า 70% คือประมาณการฉีด 100 ล้านโดส  เพราะฉะนั้นจึงต้องหาวิธีการหาวัคซีนและระดมการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วและมากที่สุดโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากกว่า …

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (1) Read More »

“จมูก” บอกโรคได้อย่างไร

ในวิชาดูโหงวเฮ้งได้ให้ความสำคัญของจมูก เพราะมีความอุดมสมบูรณ์และเป็นพลังแห่งสรรพสิ่ง เป็นทางผ่านของลมหายใจเพื่อให้การการมีชีวิตอยู่ทำให้เกิดพลัง และเป็นทางผ่านของลมหายใจเมื่อร่างกายกำลังจะดับ คือ เป็นทางออกของลมเฮือกสุดท้ายมีคำกล่าวมากมายเกี่ยวกับจมูก เช่น – จมูกสามารถสะท้อนถึงอำนาจ วาสนา วาระสุขภาพ ครอบครัว ทรัพย์สิน บริวาร บุตรหลาน อุดมการณ์ ความรวดเร็วในการตัดสินใจ – จมูกที่มีโชคลาภ ทรัพย์สิน ปลายจมูกต้องมีเนื้อมาก กลมมนใหญ่ สีสันออกเหลืองอมชมพู มองตรงแทบไม่เห็นรูจมูก – สตรีใดที่มีจมูกเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนอวัยวะอื่นบนใบหน้า มักจะเป็นคนใจแคบ ขี้หึง แต่อดทน – ถ้าจมูกแดงตลอดเวลา บ่งบอกว่าเป็นคนชอบเล่นการพนัน ชอบเสี่ยงโชค จะทำสิ่งใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ – ถ้าจมูกเป็นสีเทา บ่งบอกว่า จะมีความยุ่งยากในเรื่องการเงิน – ถ้าจมูกสีดำคล้ำหรือสีเขียว บ่งบอกว่า ให้ระวังเรื่องสุขภาพและจะมีเคราะห์ – ถ้าหน้าตาสดใสแต่จมูกสีคล้ำกว่าหน้ามาก บ่งบอกว่า เป็นคนทำงานหนักแต่ได้ผลตอบแทนน้อย ที่กล่าวมานี้เป็นการลักษณะอวัยวะสำคัญใหญ่ ๆ บนใบหน้า ( ตา จมูก หู ปาก คิ้ว ) ซึ่งเป็นศาสตร์การดูโหวงเฮ้ง เพื่อทำนายลักษณะและดวงชะตาของคนจากการสังเกตบนใบหน้า ในแง่ศาสตร์แพทย์จีน ปัจจุบันมีการศึกษาและค้นคว้าวิจัยในรายละเอียด ทำให้เราสามารถนำเอาแนวคิดแพทย์มาช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น การพิจารณาลักษณะจมูก …

“จมูก” บอกโรคได้อย่างไร Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2)

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจของแผนปัจจุบัน ถ้าไม่มีอาการหรือการตีบตันของหลอดเลือดน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การตรวจทั่วไปบอกได้ยาก  แต่ถ้ามีอาการ จากการซักถาม และ การตรวจร่างกาย ด้วยตาดู หูฟัง สัมผัสจับชีพจร วัดความดัน สามารถบอกตัวโรคได้ถึง 80%-90%  แต่ก็มีวิธีการหลายอย่างที่จะสามารถช่วยการวินิจฉัยได้ชัดเจนขึ้น •    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)  เพื่อดูการนำไฟฟ้าของหัวใจ และ จังหวะการเต้นของหัวใจ การเดินสายพาน (Exercise Stress Test ) เพื่อดูสมรรถภาพของหัวใจ   •    การเอกซ์เรย์ทรวงอก(Chest X-ray) เพื่อดูขนาดของหัวใจ และเส้นเลือด จากเงารังสี •    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram  เรียกสั้นๆว่า “Echo” เพื่อดูการทำงานของหัวใจแบบเป็นภาพเคลื่อนไหว ดูการวิ่งของกระแสเลือด ดูขนาดห้องหัวใจ และ การทำงานของลิ้นหัวใจ •    การฉีดสี (Coronary Angiogram ) เพื่อดูลักษณะของหลอดเลือดหัวใจที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เพื่อบอกหลอดเลือดตีบกี่เส้น ตีบที่ตำแหน่งไหน •    ตรวจเลือดเพื่อดูสารสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Enzyme ) …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2) Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1)

ข่าวท่าน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ทีมสู้โควิดประเทศไทยเสียชีวิตกระทันหัน ขณะร่วมวิ่งมินิฮาร์ฟมาราธอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ในวันเดียวกันที่จังหวัดระยอง มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ในงานวิ่ง อาสาพาวิ่ง 2020 เส้นทางวิ่งรอบอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง มีนักวิ่งเข้าร่วมแข่งนับพัน ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายเป็นเพศชายอายุ 54 ปี และ 30 ปี ทั้ง 3 คนเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นข่าวสะเทือนขวัญทั้งๆที่ทุกคนเป็นคนรักสุขภาพ ออกกำลังกาย สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease  ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองมาจากมะเร็งและอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหัวใจที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ปีพ.ศ. 2557 มีรายงาน โรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน  แนวโน้มของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1) Read More »

คุณรู้จัก”หอมใหญ่”ดีรึยัง?

“หอมหัวใหญ่” ภาษาจีนมีหลายชื่อ ชงโถว  หูชง    ยวี่ชง  รูปร่างลักษณะคล้ายกระเทียม จึงมีคนเรียกว่า ซ่วนชง เป็นหอมที่มาจากนอกประเทศ ไม่ใช่หอมพื้นบ้านในประเทศจีน แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นพืชที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 5,000 ปี ในยุโรป อเมริกา ยกย่องเป็น “ราชินีของพืชผัก” คัมภีร์สมุนไพร “เปิ่นเฉ่ากังมู่” ได้พูดถึงหอมหัวใหญ่  ไว้ดังนี้ ฤทธิ์และรส   ฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ไม่มีพิษ  เข้าเส้นลมปราณ ปอดและกระเพาะอาหารหอมหัวใหญ่ดิบ ฤทธิ์สุขุม รสเผ็ดหอมหัวใหญ่สุก ฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด สรรพคุณ    1. อุ่นจงเจียว (ส่วนกลางร่างกายบริเวณกระเพาะอาหาร)2. ทำให้พลังลงสู่ด้านล่าง3. สลายการตกค้างของอาหาร ทำให้เจริญอาหาร4. ฆ่าพยาธิ5. ทำให้พลังการไหลเวียนในอวัยวะภายในคล่องตัว 6. รักษาบวมจากพิษ ด้วยการใช้ภายนอก7. ทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาต้มกับกระดูกสัตว์ ข้อควรระวังที่บันทึกไว้1. การกินนานๆ หรือมากเกินไป จะทำลายจิตประสาท ทำลายสมรรถภาพทางเพศ2. ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม ตามัว เส้นเลือดไหลเวียนไม่ดี (พลังและเลือดถูกทำลาย) ทำให้โรคหายช้า เรื้อรัง3. คนที่มีกลิ่นตัวเหม็น คนที่ถูกสัตว์มีเคี้ยวมีพิษกัด กินหอมหัวใหญ่จะมีอาการรุนแรงขึ้น4. เดือน …

คุณรู้จัก”หอมใหญ่”ดีรึยัง? Read More »

5 สมุนไพรบำรุงตับ

สมุนไพรมีทั้งที่บำรุงตับและไต ปรับสมดุลอวัยวะต่างๆ  ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับน้ำดี ช่วยดึงรั้งเลือดไม่ให้ระบายมากไป หลิงจือ (灵芝) ฤทธิ์กลางๆ เข้าเส้นลมปราณสู่อวัยวะภายในทั้ง 5 คือ หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต (归心、肺、肝、肾经) ทำให้ขอบเขตการใช้ทางคลินิกค่อนข้างที่กว้างขวางครอบคลุม ระบบไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบย่อยและดูดซึม ระบบประสาทและระบบฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งโรคทางอายุรกรรม โรคสตรี โรคเด็ก โรคทางหูคอ ตา จมูก ฯลฯ เนื่องจากรสหวาน ฤทธิ์กลางๆ ไม่มีพิษ (甘平无毒) ไม่ร้อนหรือเย็น ทำให้ใช้ได้ทั้งคนที่มีพื้นฐานร่างกายร้อน(หยาง)และร่างกายเย็น(ยิน) ใช้เป็นทั้งอาหารและเป็นทั้งยา (药食两用) ใช้ในการปรับสมดุลองค์รวมทั้ง 2  ทิศทาง คือทั้งบำรุงและขับระบาย(整体上双向调节人体机能平衡) สรรพคุณ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ต้านมะเร็ง เป็นสมุนไพรที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่มีพิษหรือผลข้างเคียง จึงมีความปลอดภัย โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ซึ่งทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง กระตุ้นการสร้าง interleukin-2 (白细胞介素-2)ในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง กระตุ้นปริมาณเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ลดการใช้ …

5 สมุนไพรบำรุงตับ Read More »

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (2)

การประยุกต์นำมาใช้ทางคลินิก 1. ตับเป็นเสมือนคลังเลือด หรือธนาคารกลาง ขณะที่เราเคลื่อนไหว เลือดจากตับจะถูกส่งไปหล่อเลี้ยง ดวงตา แขน ขา เอ็น ข้อต่อต่างๆ ที่อยู่ส่วนปลายของร่างกาย ถ้ามีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะอารมณ์โกธร โมโหฉุนเฉียว เลือดจะถูกผลักไปสู่ส่วนบน ทำให้หน้าแดง หัวใจเต้นแรง หายใจเร็ว หลอดเลือดหดตัว หลอดลมตีบ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองแตกได้ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ตับทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนแองจิโอเท็นซินโนเจน(Angiotensinogen) ทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนจากไตควบคุมเกี่ยวกับความดันโลหิต ทางการแพททย์แผนจีน ภาวะหยางของตับแกร่งทำให้ภาวะความดันโลหิตสูง 2. การนอนหลับ  การปิดตา การปล่อยวาง นั่งสมาธิ จะลดการกระตุ้นจากการมองเห็น เกี่ยวข้องกับลดการนำเลือดออกจากตับไปยังแขนขา ศีรษะ สมอง แต่จะนำเลือดกลับมาสู่ที่ตับแทน ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน  ตับเปิดทวารที่ตา(肝开窍于目) “เวลาร่างกายเคลื่อนไหว เลือดอยู่ที่เส้นลมปราณภายนอก เวลาคนจิตใจสงบ ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหว เลือดจะกลับเข้าตับ” ขณะที่เรานอนหลับ เลือดจะถูกลำเลียงกลับมาที่ช่องท้อง ผ่านตับ เพื่อเก็บสะสมและหล่อเลี้ยงอวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในได้รับอาหารหล่อเลี้ยง ขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านตับก็จะได้รับการทำลายพิษต่างๆ 3. ตับทำหน้าที่ทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากอาหารที่รับประทานเข้าไป …

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (2) Read More »

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (1)

สถานการณ์ของโรคมะเร็งในภาพรวมของประเทศไทย จากสถิติ พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 16 ของต้นเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สูงกว่าอันตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และโรคหัวใจเฉลี่ย 2 ถึง 3 เท่า หรือมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ย 8 รายต่อชั่วโมงในปี พ.ศ.2561 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยประมาณอยู่ที่ 170,495 ราย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 114,199 รายสำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูง หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง   1 ใน …

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (1) Read More »