ความผิดปกติของร่างกายในมุมมองของแพทย์แผนจีน

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (2)

ภูมิคุ้มกัน – พลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรค(เจิ้งชี่ 正气) ในมุมมองแพทย์แผนจีน พลังเจิ้งชี่กระกายอยู่ทุกอวัยวะภายในและทางเดินเส้นลมปราณ มีบทบาทในการผลักดันกระตุ้นให้ระบบการทำงานทางสรีระของร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับการสร้าง สารจำเป็น เลือด สารน้ำ รวมถึง การลำเลียง การขับถ่ายของเสีย เพื่อทำให้เลือดและพลังไหลเวียนไม่ติดขัด  ไม่ก่อเกิดของเสียในร่างกาย  เช่น เสมหะ ความชื้น เลือดคั่ง แพทย์แผนจีนใช้ตรวจสภาพสมดุลร่างกายด้วยวิธีการสื่อเจิ่น(四诊) โดยใช้อวัยวะสัมผัสของแพทย์ในการรวบรวมข้อมูลมาสังเคราะห์และวิเคราะห์ประเภทของร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาในการปรับสมดุล ระบบภูมิคัมกันหรือเจิ้งชี่ในความหมายแพทย์แผนจีนจึงไม่ได้มองไปเฉพาะรบบภูมิคุ้มกัน หรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ แต่เกี่ยวข้องกับการปรับระบบการทำงานของอวัยวะภายในทุกอวัยวะ การไหลเวียนของเลือดและพลัง การป้องกันการติดขัดของเลือด พลัง สารน้ำและการขับสิ่งก่อโรคภายในที่เกิดขึ้นจากการทำงานของร่างกาย                                                                                                                                การสร้างพลังและเก็บพลังของร่างกายเกี่ยวข้องกับอวัยวะม้ามและไต  ม้ามจึงเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตหลังกำเนิด ถ้าทำงานของม้ามดี ทำให้มีการสร้างเลือดและพลังลมปราณได้ดี สุขภาพแข็งแรง ถ้าม้ามอ่อนแอ ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเดิน อ่อนแอ ไม่มีพลัง เลือดและพลังพร่อง ส่วนไตคืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับสารจิง การปรับสมดุลยินหยาง  ระบบฮอร์โมน ไขกระดูกเป็นต้นทุนที่มาแต่กำเนิด  การสร้างเม็ดเลือดขาว สร้างเลือด เกล็ดเลือด เกี่ยวข้องกับไขกระดูก ทั้งม้ามและไตมีการทำงานที่เสริมกันและเป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างเจิ้งชี่หรือระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างภูมิคุ้มกันสู้โควิด คือการปรับสมดุลสร้างเสริมสุขภาพ หลักการปรับสมดุลเพิ่มภูมิคุ้มกัน 3 ประการ 1.ความสมดุลระหว่าง ยินและหยาง …

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (2) Read More »

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (1)

สถานการณ์โควิด 19 ของประเทศในการระบาดรอบ 3 มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น มีการกระจายตัวตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ช่วงเทศกาลสงกรานต์และหลังสงกรานต์ จนกระทั่งต้นเดือนพฤษภาคม ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมากกว่า 2000 ราย ยอดเสียชีวิตรายวัน 20 กว่ารายต่อวัน จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ถึงกลางเดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทยยังน้อยมากไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากร แผนการของภาครัฐคือ ให้ได้ 63 ล้านโดสในสิ้นปี 2564  โดยเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียน “หมอพร้อม” ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง 7 โรคเรื้อรังและคนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป (จำนวนประชากรไทยปี 2564มีประมาณ กว่า 66 ล้านคน ถ้าได้ฉีดคนละ 2 เข็ม จะครอบคลุมประมาณ 50%ของประชากร) การเกิดภูมิค้มกันหมู่จะต้องมีภูมิคุ้มกันมากกว่า 70% คือประมาณการฉีด 100 ล้านโดส  เพราะฉะนั้นจึงต้องหาวิธีการหาวัคซีนและระดมการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วและมากที่สุดโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากกว่า …

ปรับสมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด ด้วยแพทย์แผนจีน (1) Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2)

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจของแผนปัจจุบัน ถ้าไม่มีอาการหรือการตีบตันของหลอดเลือดน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การตรวจทั่วไปบอกได้ยาก  แต่ถ้ามีอาการ จากการซักถาม และ การตรวจร่างกาย ด้วยตาดู หูฟัง สัมผัสจับชีพจร วัดความดัน สามารถบอกตัวโรคได้ถึง 80%-90%  แต่ก็มีวิธีการหลายอย่างที่จะสามารถช่วยการวินิจฉัยได้ชัดเจนขึ้น •    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)  เพื่อดูการนำไฟฟ้าของหัวใจ และ จังหวะการเต้นของหัวใจ การเดินสายพาน (Exercise Stress Test ) เพื่อดูสมรรถภาพของหัวใจ   •    การเอกซ์เรย์ทรวงอก(Chest X-ray) เพื่อดูขนาดของหัวใจ และเส้นเลือด จากเงารังสี •    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง(Echocardiogram  เรียกสั้นๆว่า “Echo” เพื่อดูการทำงานของหัวใจแบบเป็นภาพเคลื่อนไหว ดูการวิ่งของกระแสเลือด ดูขนาดห้องหัวใจ และ การทำงานของลิ้นหัวใจ •    การฉีดสี (Coronary Angiogram ) เพื่อดูลักษณะของหลอดเลือดหัวใจที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เพื่อบอกหลอดเลือดตีบกี่เส้น ตีบที่ตำแหน่งไหน •    ตรวจเลือดเพื่อดูสารสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac Enzyme ) …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(2) Read More »

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1)

ข่าวท่าน รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ทีมสู้โควิดประเทศไทยเสียชีวิตกระทันหัน ขณะร่วมวิ่งมินิฮาร์ฟมาราธอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ในวันเดียวกันที่จังหวัดระยอง มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ในงานวิ่ง อาสาพาวิ่ง 2020 เส้นทางวิ่งรอบอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ.ปลวกแดง มีนักวิ่งเข้าร่วมแข่งนับพัน ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายเป็นเพศชายอายุ 54 ปี และ 30 ปี ทั้ง 3 คนเสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นข่าวสะเทือนขวัญทั้งๆที่ทุกคนเป็นคนรักสุขภาพ ออกกำลังกาย สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease  ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย รองมาจากมะเร็งและอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหัวใจที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ปีพ.ศ. 2557 มีรายงาน โรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน  แนวโน้มของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ …

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ(1) Read More »

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (2)

การประยุกต์นำมาใช้ทางคลินิก 1. ตับเป็นเสมือนคลังเลือด หรือธนาคารกลาง ขณะที่เราเคลื่อนไหว เลือดจากตับจะถูกส่งไปหล่อเลี้ยง ดวงตา แขน ขา เอ็น ข้อต่อต่างๆ ที่อยู่ส่วนปลายของร่างกาย ถ้ามีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะอารมณ์โกธร โมโหฉุนเฉียว เลือดจะถูกผลักไปสู่ส่วนบน ทำให้หน้าแดง หัวใจเต้นแรง หายใจเร็ว หลอดเลือดหดตัว หลอดลมตีบ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองแตกได้ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ตับทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนแองจิโอเท็นซินโนเจน(Angiotensinogen) ทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนจากไตควบคุมเกี่ยวกับความดันโลหิต ทางการแพททย์แผนจีน ภาวะหยางของตับแกร่งทำให้ภาวะความดันโลหิตสูง 2. การนอนหลับ  การปิดตา การปล่อยวาง นั่งสมาธิ จะลดการกระตุ้นจากการมองเห็น เกี่ยวข้องกับลดการนำเลือดออกจากตับไปยังแขนขา ศีรษะ สมอง แต่จะนำเลือดกลับมาสู่ที่ตับแทน ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน  ตับเปิดทวารที่ตา(肝开窍于目) “เวลาร่างกายเคลื่อนไหว เลือดอยู่ที่เส้นลมปราณภายนอก เวลาคนจิตใจสงบ ร่างกายหยุดการเคลื่อนไหว เลือดจะกลับเข้าตับ” ขณะที่เรานอนหลับ เลือดจะถูกลำเลียงกลับมาที่ช่องท้อง ผ่านตับ เพื่อเก็บสะสมและหล่อเลี้ยงอวัยวะภายใน ทำให้อวัยวะภายในได้รับอาหารหล่อเลี้ยง ขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านตับก็จะได้รับการทำลายพิษต่างๆ 3. ตับทำหน้าที่ทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากอาหารที่รับประทานเข้าไป …

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (2) Read More »

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (1)

สถานการณ์ของโรคมะเร็งในภาพรวมของประเทศไทย จากสถิติ พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 16 ของต้นเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สูงกว่าอันตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และโรคหัวใจเฉลี่ย 2 ถึง 3 เท่า หรือมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ย 8 รายต่อชั่วโมงในปี พ.ศ.2561 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยประมาณอยู่ที่ 170,495 ราย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 114,199 รายสำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูง หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง   1 ใน …

การฟื้นฟู ดูแลตับด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน (1) Read More »

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ

เรามักจะเจอคนบางคนมีอาการ นั่งที่ไหนก็ง่วงหลับที่นั่น ทั้งๆที่ไม่ได้อดหลับอดนอนมา หลับแล้ว ตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ ยังอยากจะหลับต่อ คนที่มีลักษณะเช่นนี้มักไม่ค่อยจะสดชื่น มีแต่ความรู้สึกอยากจะนอนทั้งวัน แต่มักจะตื่นง่าย หลังจากตื่นก็ขอนอนหลับต่อ ทางการแพทย์แผนปัจจุบันถือว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาท (การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ) ลักษณะแบบนี้ อาจพบได้ในคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ตัวร้อนเรื้อรัง ทำให้อ่อนเพลีย ต้องการพักผ่อน หรือระยะที่โรคกำลังรุนแรง ในที่นี้จะกล่าวถึงคนปกติที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ชอบง่วงเหงา หาวนอนเป็นประจำ แพทย์แผนจีนมองว่า การนอนหลับเป็นภาวะยิน การตื่นนอนเป็นภาวะหยาง คนที่ง่วงนอนแสดงว่ายินแกร่ง (ยินเกิน) เพราะภาวะของหยางพร่อง (หยางขาด) ภาวะของหยางพร่อง มาจากการทำงานของม้ามน้อยลง ทำให้มีการอุดกั้นของเสมหะ และความชื้น หรือภาวะอุดกั้นของเสมหะและความชื้นทำให้พลังม้ามพร่อง มักจะพบในคนที่อ้วนได้บ่อยกว่าคนผอม เพราะในคนอ้วนถือว่ามีการสะสมไขมัน (เสมหะหรือความชื้น) ในร่างกายมาก ยิ่งถ้ากินอาหารอิ่มใหม่ๆ ระบบย่อยอาหาร หรือกระเพาะอาหารมักต้องทำงานหนัก พลังของม้ามจะอ่อนเปลี้ย ความอยากนอนจึงมัก เกิดได้ง่าย (ทางแพทย์แผนปัจจุบัน มองว่าขณะย่อยอาหาร เลือดจะไปเลี้ยงสมองน้อยลง ทำให้หนังท้องตึง หนังตาหย่อน) และสำหรับคนผอมก็มีสิทธิ์จะง่วงนอนผิดปกติได้หมือนกัน ถ้าอยู่ในภาวะที่เจ็บไข้เรื้อรังหรือร่างกาย อ่อนเพลีย ที่ทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมไม่ดี เป็นภาวะที่พลัง ทั่วร่างกายพร่องเลือดก็จะไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ง่วงนอนได้ง่าย …

นอนเท่าไหร่…ก็ไม่รู้จักพอ Read More »

การตรวจโรคและพยากรณ์โรคจากดวงตา

ตำราแพทย์แผนจีนกล่าวถึงดวงตาไว้หลายประการ ดังนี้“ดวงตาเป็นประตูของตับ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในจั้งฝู่”“จิงซี่ พลังของสารจิงของอวัยวะภายใน ล้วนไหลมาบรรจบกันที่ดวงตา”“นัยน์ตาเป็นเครื่องวัดความฉลาด ไหวพริบ และประสาทแห่งความรู้สึกของคนได้อย่างแท้จริง เพราะสามารถอ่านอุปนิสัย อารมณ์ และความรู้สึกของคนได้จากนัยน์ตาเป็นจุดแรก” การตรวจโรคและพยากรณ์โรคจากดวงตา1. ดูประกายราศี ความมีชีวิตชีวาของดวงตาการมองเห็นชัดเจน ขอบตาดำตาขาวแบ่งกันชัดเจน มีประกายแสงซ่อนอยู่ภายใน มีน้ำตาหรือน้ำหล่อเลี้ยงตาคลอเบ้าเล็กน้อย (ตาไม่แห้งผาก) เรียกว่าตามีชีวิตชีวา มีราศี ถ้ากำลังป่วยเป็นโรค โรคก็สามารถรักษาให้หายได้ เพราะพลังชีวิตยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าการมองเห็นพร่ามัว ตาขาวไม่ขาวสะอาด ขอบตาดำตาขาวสีแบ่งไม่ชัดเจน ดวงตาขุ่นมัวไม่มีประกาย ไม่มีน้ำตาหรือน้ำหล่อเลี้ยงตา (ดวงตาแห้งผาก) เรียกว่าตาที่ไร้ชีวิตชีวา ขาดราศี ถ้ากำลังป่วยเป็นโรค ก็จะรักษาให้หายยาก เพราะพลังชีวิตอ่อนแอ2. ดูสีของดวงตาถ้าตาแดงก่ำและบวมทั้งดวงตา แสดงว่า เป็นลมร้อนของเส้นตับหรือไฟตับขึ้นสู่เบื้องบน ซึ่งมีอาการปวดหนักศีรษะ เวียนศีรษะ หงุดหงิดโกรธง่าย หูไม่ได้ยิน หน้าแดง ตาแดง ปากขม คอแห้ง ปวดแน่นชายโครง ถ้าเปลือกตาแดงและอักเสบ แสดงว่า มีความร้อนสะสมที่ม้าม กระเพาะอาหาร ซึ่งมักมีพื้นฐานจากการบริโภคอาหารผิดหลัก เช่น กินอาหารมัน นม เนย …

การตรวจโรคและพยากรณ์โรคจากดวงตา Read More »

ยาอายุวัฒนะที่ต้องปรุงเอง : การทำงานกับการพักผ่อน

อาชีพการงานของผู้คนในทุกวันนี้มีหลากหลาย หลายอิริยาบถ บางคนต้องยืนเกือบตลอดเวลา เช่น พนักงานห้างสรรพสินค้า บางคนต้องนั่งกับเก้าอี้ เช่น พนักงาน คอมพิวเตอร์ นักบริหาร บางคนใช้สมอง บางคนใช้แรงงานกาย บางคนใช้สายตา บางคนเดินมาก ทำให้อิริยาบถต่างๆ หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง เกิดการเสียสมดุล ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง (มีอายุกว่า 2,400 ปี) ได้กล่าวถึงอิริยาบถและท่าทางพื้นฐานในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ไว้ว่า “การเพ่งดูนานๆ ทำลายเลือด การนอนนานทำลาย พลัง การนั่งนานทำลายกล้ามเนื้อ การยืนนานทำลายกระดูก การเดินนานทำลายเอ็น” การอยู่ในอิริยาบถใดๆ ที่นาน เกินไป คำว่า “นาน” คือ “มากเกินไป” รวมถึงการใช้แรงงานกาย หรือแรงงานสมองที่มากเกินไป การใช้แรงงานกายมากเกิน ไปหรือออกกำลังกายเกินควรแทนที่จะเป็นการเสริมสร้างร่างกาย กระตุ้นการทำงานระบบต่างๆ ช่วยให้การกินอาหารดีขึ้น ตรงข้ามกับทำให้ระบบม้าม-กระเพาะอาหาร อ่อนแอ อาการเริ่มแรก คือ การปวดเมื่อยทั้งร่างกาย แขนขาอ่อนแรง เมื่อยล้า อุจจาระเหลว อาหารไม่ย่อย มีอาหารและของเหลวตกค้าง ไม่ดูดซึม ร่างกายซูบผอม …

ยาอายุวัฒนะที่ต้องปรุงเอง : การทำงานกับการพักผ่อน Read More »

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

5 วิธีการดูแลกระเพาะอาหารและม้าม

“ม้ามและกระเพาะอาหารเป็นรากฐานของชีวิตหลังกำเนิด”

การดูแลม้ามและกระเพาะอาหารจัดเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

กายต้องเคลื่อนไหว – ใจต้องสงบนิ่ง เทคนิคสุขภาพดี แบบแพทย์แผนจีน

แพทย์จีน ให้ความสำคัญกับ “การเคลื่อนไหว” คือ ท่านปรมาจารย์ ฮั้วถอ (หมอฮูโต๋) ท่านกล่าวว่า “การเคลื่อนไหวทำให้พลังเคลื่อน หลอดเลือดไม่ติด ขัด ทำให้ไม่เกิดโรค เหมือนดังแกนประตูที่ไม่ผุกร่อน”

ปัญหาเส้นผม กับมุมมองแพทย์แผนจีน

คนส่วนใหญ่เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม เช่น ผมขาว ผมเหลืองกรอบ ผมร่วง ผมมัน ก็มักเน้นไปที่การจัดการกับตัวเส้นผมเป็นหลัก การโดยการกินอาหาร อาหารเสริมบำรุงหรือแสวงหายาสระผม ยาบำรุงเส้นผมหรือหายาสำหรับทาบริเวณศีรษะ เส้นผมเป็นสำคัญ

อาการไอ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจและเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ รวมทั้งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้บ่อยที่สุด

แพทย์แผนจีน กับการป้องกันและรักษาอาการปวด (ปี้เจิ้ง)

อาการปวด (ปี้เจิ้ง) เกิดจากลมชื้นความเย็นหรือร้อน ทำให้เกิดการปิดกั้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณดังต่อไปนี้ จะสามารถช่วยขับลมชื้นที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เส้นลมปราณ เอ็นกระดูกและข้อต่อกระดูก

ความดันโลหิตสูง ในมุมมองแพทย์แผนจีน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงมีพื้นฐานความพร่องของพลังตับและไต คนปกติสุขภาพดีสามารถกระตุ้นพลังไตโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารรสจืดหรือปรุงรสแต่พอควรได้ แต่คนที่อวัยวะภายในเสื่อมลง (ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคเรื้อรัง คนสูงอายุ) จะเบื่ออาหาร การรับรสชาติลดน้อยลง จึงต้องการอาหารรสจัด – รสเข้มข้นมากระตุ้นร่างกาย